หลักการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุปูพื้นในงานสถาปัตยกรรม (Flooring design in Architectural)

พื้น และผนังถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ขาดไม่ได้ การออกแบบพื้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี และวัสดุ โดยมีการเลือกใช้งานที่แตกต่างกันตามขนาดของโครงการ และความต้องการของเจ้าของอาคาร 

โดยวันนี้ Wazzadu Encyclopedia ได้ทำการสรุปข้อมูล หลักการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุปูพื้นในงานสถาปัตยกรรม (Flooring design in Architectural) เพื่อให้นักออกแบบ สถาปนิก และผู้ที่สนใจ สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ และต่อยอดในการทำงานได้ โดยเนื้อหาจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ติดตามชมได้เลยครับ

หลักการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุปูพื้นในงานสถาปัตยกรรม (Flooring design in Architectural)

ระบบพื้นแบบแผ่รังสี (Radiant Floor Systems)

ในการติดตั้งพื้นสำหรับงานภายในอาคาร สถาปนิก และนักออกแบบควรนำระบบพื้นแบบแผ่รังสี (Radiant Floor Systems) เข้ามาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาความร้อนที่เกิดจากสภาพอากาศ และบริบทของอาคาร โดยพื้นระบบนี้มีข้อดีอยู่หลายอย่าง เช่น

  • ไม่มีเสียงรบกวนจากการทำงานของระบบพื้น
  • สามารถขจัดแหล่งความร้อนที่มองเห็นได้ดี
  • ช่วยให้ประหยัดการใช้พลังงาน

โดยทั่วไปแล้วจะนิยมใช้เป็นพื้นคอนกรีต และยังสามารถใช้เป็นพื้นไม้ กระเบื้อง หรือเป็นวัสดุอื่น ๆ

ระบบพื้นแบบแผ่รังสี (Radiant Floor Systems) วัสดุต่างๆ 

PNG File - ดีเทลระบบพื้นแบบแผ่รังสี (Radiant Floor Systems)

ระบบการเทพื้น (Poured Floor Systems)

ระบบการเทพื้นสามารถทำได้หลากหลายวัสดุ เช่น พื้นคอนกรีต พื้น Epoxy และResin เป็นต้นโดยสามารถเทได้ทั้งพื้น และบันไดของอาคาร ข้อดีของพื้นระบบนี้คือ

  • สร้างได้รวดเร็ว
  • บำรุงรักษาง่าย
  • มีความทนทานต่อแบคทีเรีย
  • ลดความเสียหายจากสารเคมี
  • ทนต่อการสึกหรอ

โดยระบบการเทพื้น (Poured Floor Systems) นี้สามารถทำได้หลายวิธี

  • พื้นคอนกรีต (Concrete Floors) เป็นพื้นที่สามารถรับแรงกระแทกได้สูง ทนทาน และประหยัดกว่าพื้นหลายชนิด อาจมีเสียง และแสงสะท้อนบ้างในบางครั้ง สามารถกรุผิวเพิ่มเติม หรือทำพื้นคอนกรีตขัดมันก็ได้
  • การทำสีพื้นด้วยการใช้กรด (Stains Floors) เกิดจากการทำปฏิริยาของสารเคมี และพื้นปูนคอนกรีต ทำให้เกิดสี และลวดลายบนพื้นรูปแบบต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้ความชำนาญในการทำเป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้สี และลวดลายที่สวยงาม
  • การทำสีบนผิวคอนกรีต (Integral Color) การทำสีบนผิวคอนกรีต (Integral Color) คือสีผสมออกไซด์ที่มีอยู่ในรูปแบบแห้ง และของเหลวที่รวมกับคอนกรีตในรถบรรทุกผสมเสร็จ และวางไว้บนไซต์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ทนทานต่อการซีดจาง ช่วยประหยัดเวลา และลดการใช้คนงานได้
  • พื้นอีพ็อกซี่ และเรซิน (Epoxy and Resin Floors) พื้นผิวนี้มีความบาง ทนทาน และทนต่อสารเคมี และวัสดุอันตรายอื่นๆ สามารถย้อมสีได้หลากหลาย ในส่วนผสมมีวัสดุที่ช่วยลดค่าสัมประสิทธิ์การลื่น เหมาะสำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถาบัน และห้องปฏิบัติการ

ระบบการเทพื้น (Poured Floor Systems)

PNG File - ดีเทลระบบการเทพื้น (Poured Floor Systems)

พื้นหิน (Stone Flooring)

พื้นหินถือเป็นพื้นที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ  การนำพื้นหินมาตกแต่งภายในอาคารจะให้ทั้งความสวยงาม และความทนทาน โดยพื้นหินนั้นมีหลากหลายสี ขนาด และลวดลาย เหมาะสำรับงานพื้น ผนัง และเคาน์เตอร์

โดยจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างตามรูปแบบของหินนั้น ๆ

  • พื้นหินผิวหยาบ (Flamed or Thermal) หินผิวหยาบชนิดนี้เกิดจากการให้ความร้อนไปยังแผ่นหิน และทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว เป็นผิวกันลื่น เหมาะสำหรับงานห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ หรือพื้นที่เปียกในอาคาร
  • พื้นหิวผิวเรียบ (Honed) ผิวคล้ายซาติน เรียบเนียนทำได้โดยการขัดเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้ผิวเงา เหมาะสำหรับงานที่ต้องการพื้นผิวเรียบไม่มันวาว
  • พื้นหินผิวเงา (Polished) พื้นลักษณะนี้จะเน้นความเงา และสะท้อนสูง เกิดจากการขัดเกลาอย่างต่อเนื่องด้วยวัสดุที่มีความละเอียดสูง ทำให้ผิวมีความมัน วาว เงา และลื่น

พื้นหิน (Stone Flooring)

PNG File - ดีเทลพื้นหิน (Stone Flooring)

พื้นไม้ (Wood Flooring)

พื้นไม้ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง มีคุณสมบัติกำจัดสิ่งสกปรก และรักษาพื้นผิวได้ง่าย แต่อาจจะต้องระวังความเสียหายจากน้ำ และความชื้น โดยมีหลากหลายรูปแบบ คือ

  • การเลื่อยไม้แบบทั่วไป (Plain sawn) โดยมีข้อดีที่สามารถได้เนื้อไม้และยังสามารถเลื่อยไม้ได้รวดเร็วมากกว่าการเลื่อยแบบอื่นๆ ดังนั้นการเลื่อยไม้แบบนี้จึงเป็นการเลื่อยเพื่อให้ได้ไม้ที่มีต้นทุนต่ำ
  • เลื่อยไม้แบบสี่ส่วน ( Quarter Sawn) ส่วนใหญ่จะนิยมเลื่อยเฉพาะไม้ที่มีราคาสูงเช่นไม้โอ๊ค สำหรับนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ราคาสูงที่ต้องการโชว์ลวดลายไม้นั้น จะต้องนำไม้ซุงมาผ่าเป็น4ส่วนก่อนแล้วจึงเลื่อยออกมาเป็นแผ่นตามรูป ผลที่ได้ก็คือจะได้ไม้ที่มีลายเป็นเส้นตรง สำหรับบ้านเราไม้ที่นิยมเลื่อยแบบ  Quarter Sawn คือไม้สัก
  • เลื่อยไม้แบบทำมุม 30 องศา (Rift sawn) ตัดเป็นมุม 30 ถึง 60 องศาถึงกึ่งกลางของไม้แปรรูป แต่จะได้ไม้แบบเดียวกับการเลื่อย  Quarter Sawn

นอกจากนี้ยังมีไม้แบบอื่นๆ อีก เช่น

  • พื้นไม้วิศวกรรม (Engineered Flooring) สร้างขึ้นโดยมีลายไม้วิ่งไปในทิศทางตรงกันข้าม สามารถติดตั้งได้โดยตรงบนพื้นคอนกรีต พื้นวิศวกรรมพบได้ในชั้นใต้ดิน ห้องครัว ห้องน้ำ และห้องเอนกประสงค์
  • พื้นไม้อะครีลิคเคลือบ (Acrylic-Impregnated Flooring) นำอะครีลิคฉีดเข้าไปในไม้สร้างพื้นผิวที่ทนทาน และแข็งเป็นพิเศษ ใช้ในร้านอาหารและห้างสรรพสินค้าและบางครั้งในโครงการที่อยู่อาศัย
  • พื้นไม้เอ็นด์เกรน (End Grain Flooring) ทำจากไม้ตัดในแนวตั้งฉาก มีความทนทานต่อความเสียหายอย่างมาก และสามารถใช้ได้ในสภาพที่มีแรงกระแทกสูง เหมาะสำหรับการใช้งานทุกประเภท ตั้งแต่ที่อยู่อาศัยไปจนถึงคลังสินค้า

พื้นไม้ (Wood Flooring)

PNG File - ดีเทลพื้นไม้ (Wood Flooring)

พื้นกระเบื้อง หรือพื้นที่มีความยืดหยุ่น (Resilient Flooring)

โดยทั่วไปทำจากวัสดุที่มีความหนาแน่นสูงซึ่งให้พื้นผิวมีความทนทาน และไม่ดูดซับ อีกทั้งยังรู้สึกเดินสบายกว่าพื้นผิวอื่น ๆ สามารถทำความสะอาด และดูแลรักษาได้ง่าย 

กระเบื้องไวนิลและยาง (Vinyl and Rubber Tiles) พื้นลักษณะนี้สามารถรับแรงกระแทกได้สูง ติดตั้งง่าย ทนต่อความชื้น และความเสียหายจากเหตุอื่นๆได้ดี ต้องมีการดูแลรักษาอย่างดี เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกสะสมตามร่อง

  • กระเบื้องไวนิลคอมโพสิต (Vinyl Composite Tile) กระเบื้องชนิดนี้ประกอบไปด้วยแผ่นรองหลัง ลายพิมพ์ ชั้นผิวบน และฟิล์มป้องกัน โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาด 12 ตารางนิ้ว (7 742 มม. 2) แต่มีทั้งขนาดใหญ่กว่า และเล็กกว่า กระเบื้องคอมโพสิตติดตั้งง่ายมากบนพื้นผิวที่เตรียมไว้ และหากเกิดความเสียหายก็สามารถซ่อมแซมได้ง่ายเช่นกัน
  • กระเบื้องไวนิลแบบแข็ง (Solid Vinyl Tiles) กระเบื้องชนิดนี้มีอัตราส่วนของเรซินไวนิลที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับคอมโพสิต ซึ่งทำให้ทนทานต่อความเสียหายจากการสึกหรอมากขึ้น มักมีความหนากว่าซึ่งจะช่วยเพิ่มความทนทานให้มากขึ้น
  • กระเบื้องยาง (Rubber Tiles) กระเบื้องยางมีความสามารถต้านทานการหก การรั่วไหลจากสารเคมี และวัสดุกัดกร่อนอื่นๆ เหมาะสำหรับกิจกรรมที่ต้องยืนเป็นเวลานาน ช่วยป้องกันการลื่น กระเบื้องยางมีให้เลือกสองแบบ คือ แบบเนื้อเดียวกัน โดยที่เม็ดสีถูกเติมลงในส่วนผสมของยางเพื่อสร้างสีสันให้ทั่วทั้งแผ่น และลามิเนตโดยที่ชั้นบนสุดจะมีลวดลายเป็นสีต่างๆ

พื้นกระเบื้อง หรือพื้นที่มีความยืดหยุ่น (Resilient Flooring)

PNG File - ดีเทลพื้นกระเบื้องหรือพื้นที่มีความยืดหยุ่น (Resilient Flooring)

องค์ความรู้ทฤษฏีการออกแบบสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

อ้างอิงข้อมูลจาก 

  • The Interior Design Reference and Specif book

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ