หลักการออกแบบราวกันตกสำหรับที่พักอาศัย เพื่อป้องกันการปีนป่ายและพลัดตกของเด็กเล็ก

ราวกันตกสำหรับที่พักอาศัยที่มีเด็กในช่วงวัยกำลังซนหรือชอบปีนป่าย ถือเป็นหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของอาคาร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งบริเวณที่มักจะมีราวกันตก คือพื้นที่ซึ่งอยู่บริเวณที่มีความสูง และอาจจะเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น บริเวณระเบียงที่พักอาศัย ระเบียงตรงส่วนของบันได ส่วนเทคนิคการทำราวกันตกสำหรับป้องกันอุบัติเหตุในที่พักอาศัยซึ่งมีเด็กเล็ก จะทำอย่างไรได้บ้าง ติดตามที่บทความนี้ได้เลยครับ

ราวกันตกที่เหมาะสมสำหรับเด็กควรเป็นอย่างไร?

  • ราวกันตกแบบโปร่ง ควรใช้ลูกกรงแนวตั้ง
  • กรณีลูกกรงแนวตั้ง ช่องห่างระหว่างซี่กรงของราวกันตกต้องไม่กว้างเกินไป
  • เพิ่มตาข่ายกันเด็กให้ราวกันตก
  • บริเวณราวกันตกต้องไม่มีขอบที่จะทำให้เด็กปีนได้
  • ขนาดความสูงของราวกันตกต้องสูงกว่าเด็กในช่วงวัยที่ชอบปีนป่าย
  • จุดที่ควรมีราวกันตก เช่น บันได ระเบียงบันไดในอาคาร บริเวณระเบียง
  • หลีกเลี่ยงราวกันตกแบบลูกกรงแนวนอน เพราะมีความเสี่ยงทีเด็กเล็กจะรอดตัวผ่านไปได้

ขนาดของราวกันตกที่เหมาะสม

ช่วงอายุของเด็กที่กำลังซนและชอบปีนป่าย จะอยู่ที่ช่วงอายุ 1-7 ปี ซึ่งจะมีความสูงประมาณ 60-125 ซม. ขนาดของราวกันตกที่เหมาะสม จึงควรมีความสูงระยะ 110-150 ซม. ซึ่งความสูงระดับนี้จะเป็นระยะที่เด็กวัยซนปีนป่ายได้ยาก และความลูกกรงแบบแนวตั้ง เหมาะกว่าลูกกรงราวกันตกแนวนอน เพราะลูกกรงแนวนอนมีความเสี่ยงที่เด็กจะปีนป่ายได้ง่าย โดยระยะความถี่ของเหล็กดัดของราวกันตกแบบแนวตั้งที่เหมาะสม คือมีระยะห่างไม่เกิน 10 ซม. ในกรณีที่มีราวจับ ควรทำราวจับยื่นเข้าไปด้านใน 20-25 ซม. จะเหมาะสมกว่าทำราวจับในลักษณะตรง

รูปแบบวัสดุ สำหรับใช้ทำราวกันตก 

วัสดุสำหรับทำราวกันตก สามารถเลือกใช้ได้หลากหลาย ทั้งงานไม้ เหล็ก กระจก ในกรณีที่อาคารหรือที่พักอาศัยมีราวกันตกอยู่แล้ว สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น ตาข่ายที่สามารถติดตั้งและถอดออกได้เมื่อไม่ต้องการใช้งาน สีของตาข่ายควรเป็นสีขาวหรือสีดำ ที่สามารถมองเห็นได้ง่ายแม้ในระยะไกล

รูปแบบราวกันตกที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ราวกันตกที่มีลักษณะลูกกรงแนวนอนที่มีช่องว่างเยอะๆ เพราะเด็กจะปีนได้ง่าย ป้องกันได้ด้วยการติดตาข่ายเสริมกันตก
  • บริเวณขอบราวกันตกมีขอบให้ยืนได้ เพราะเด็กจะปีนได้ง่าย
  • ราวกันตกที่ลูกกรงเป็นแนวตั้ง แต่ระยะห่างของซี่ลูกกรงเกินกว่า 15 ซม. มีโอกาสเด็กจะเอาหัวรอดผ่านช่องได้

ข้อมูลวัสดุศาสตร์ และหลักการออกแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก

  • บ้านและสวน
  • baania. com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ