Bio-Concrete คอนกรีตชีวภาพที่ทำมาจากวัชพืช และเปลือกกุ้ง

ภาพประกอบโดย

www.dezeen.com

ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการนำเข้าพืช และสัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่นเป็นจำนวนมาก บางสายพันธุ์ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม อาคาร สถาปัตยกรรมประเภทต่างๆ และสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทำให้พืช และสัตว์พื้นถิ่นเสียหายและตายเป็นจำนวนมาก จึงเกิดโครงการทำลายและลดจำการนำเข้าพืช และสัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่นขึ้น 

แต่การกำจัดศัตรูต่อระบบนิเวศเหล่านี้ทำได้ยาก และสิ้นเปลืองงบประมาณมาก เนื่องจากมีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และกำจัดเท่าไหร่ก็ไม่หมดสักที

จึงเกิดโครงการที่จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ เพิ่มมูลค่าเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการกำจัดต่อประชาชน และใช้ศัตรูต่อระบบนิเวศให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ขึ้นมา

Bio-Concrete สามารถเคลือบพื้นผิวต่างๆ ได้หลายรูปแบบ

ภาพประกอบโดย

www.dezeen.com

Brigitte Kock และ Irene Roca Moracia ผู้สำเร็จการศึกษาจาก Central Saint Martins ได้ร่วมมือกันคิดค้นและวิจัย กระเบื้องที่เหมือนคอนกรีตโดยพวกเขาเรียกมันว่า “Bio-Concrete” โดยกระเบื้อง Bio-Concrete ทำมาจากวัชพืช Japanese knotweed และเปลือกกุ้งเครย์ฟิช

ทั้งสองสิ่งนี้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ไม่ใช่พันธุ์พื้นเมือง ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ และเศรษฐกิจเป็นอย่างมากในสหราชอาณาจักร Kock และ Moracia คิดว่าการเพิ่มมูลค่าให้กับพวกมัน จะช่วยสร้างแรงจูงใจในการกำจัด และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น

ภาพประกอบโดย

www.dezeen.com

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบัณฑิตศึกษา Maison/0 โดยกลุ่ม LVMH ซึ่งรวม Dior และ Louis Vuitton ไว้ในแบรนด์ต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับวัสดุก่อสร้างในปัจจุบันที่สามารถนำมาใช้ภายในร้านที่หรูหราได้

โดย Kock และ Moracia กำหนดเป้าหมายของโครงการนี้เพื่อแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของวัชพืชและสัตว์ที่ไม่ใช่สายพันธุ์พื้นเมือง

วัสดุสามารถเลียนแบบพื้นผิวธรรมชาติของหิน

ภาพประกอบโดย

www.dezeen.com

นักวิจัยทั้งสองมองหาเป้าหมายที่เป็นสิ่งมีชีวิตรุกรานระบบนิเวศ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก จึงเลือกใช้นอตวีดญี่ปุ่น และกุ้งเครย์ฟิช

นอตวีดญี่ปุ่นเปิดตัวในสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1800 และไม่มีศัตรูตามธรรมชาติในประเทศ เมื่อปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการตรวจสอบ จึงสามารถเติบโตได้ผ่านคอนกรีต เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคารและถนน และสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศรวมถึงพืชพันธุ์อื่น ๆ

เช่นเดียวกันนับตั้งแต่เริ่มนำเข้าสหราชอาณาจักรในปี 1970 กุ้งเครย์ฟิชได้ทำลายประชากรกุ้งและกั้งพื้นเมือง และมีแนวโน้มที่จะขุดลงไปในแม่น้ำและตลิ่งของคลอง ส่งผลต่อคุณภาพน้ำในท้องถิ่น และอาจนำไปสู่น้ำท่วม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานพังทลาย

วัสดุมีรูพรุนคล้ายผิวคอนกรีต

ภาพประกอบโดย

www.dezeen.com

โดยกระบวนการแปรรูปเป็น Bio-Concrete นั้นคือ การนำนอตวีทที่ถูกเผาทำหน้าที่เป็นสารยึดเกาะ ผสมกับเปลือกกุ้งเครย์ฟิชบด ที่มีลักษณะเหมือนทรายผสมเข้ากับน้ำ และสารยึดเกาะอื่นๆ นำไปบ่ม ซึ่งจะทำให้วัสดุมีความแข็งแรง และลวดลาย สี ที่แตกต่างกัน

การเพิ่มชิ้นส่วนของรากนอตวีดสร้างพื้นผิวลายหินอ่อน

ภาพประกอบโดย

www.dezeen.com

กระเบื้องคล้ายหินอ่อนสีขาว

ภาพประกอบโดย

www.dezeen.com

Dark oxblood นี้เป็นสีที่เข้มที่สุดในคอลเลกชั่น

ภาพประกอบโดย

www.dezeen.com

สรุปประเด็นที่น่าสนใจของ Bio-Concrete คอนกรีตชีวภาพที่ทำมาจากวัชพืช และเปลือกกุ้ง

  1. Brigitte Kock และ Irene Roca Moracia ได้คิดค้นวัสดุชีวภาพที่ทำมาจากวัชพืช Japanese knotweed และเปลือกกุ้งเครย์ฟิช ซึ่งเป็นศัตรูต่อระบบนิเวศในสหราชอาณาจักร ออกมาเป็น Bio-Concrete โดยนำไปใช้ในงานสถาปัตยกรรม
  2. โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับวัสดุก่อสร้างในปัจจุบันที่สามารถนำมาใช้ภายในร้านที่หรูหราได้ โดยได้รับความร่วมมือจาก Dior และ Louis Vuitton
  3. โครงการนี้ทำให้เราเห็นว่าการปรับเปลี่ยนแนวคิด นำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแทนที่จะทำลาย สามารถช่วยลดงบประมาณ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ยังสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนอีกด้วย

อ้างอิงจาก 

www.dezeen.com

 

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาสตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

อ่านเนื้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Wazzadu Material and Design Innovation ได้ที่

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ