Bangkok Design Week 2022 : กิจกรรมพัฒนาผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดสากล

Bangkok Design Week 2022 หรือ เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2565 ในปีนี้มีจุดแสดงที่น่าสนใจมากหมาย หนึ่งในจุดแสดงงานที่น่าสนใจของปีนี้คือ  DESIGN FROM WASTE OF AGRICULTURE AND INDUSTRY โดย DEWA & DEWI “กิจกรรมพัฒนาผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดสากล” ที่จัดขึ้นที่ Charoenkrung - Talad Noi | TCDC กรุงเทพฯ, Function Room ชั้น 4 (อาคารส่วนหน้า) ในวันที่ 5 - 13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานี้

โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์เข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือใช้ที่ไร้ค่า และอาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จนเกิดเป็นผลงานออกแบบที่มีความโดดเด่น ใช้งานได้จริงโดยผ่านมา 8 ปี DEWA ได้สร้างสรรค์ผลงานกว่า 170 ชิ้นงาน

ในปี 2564 DEWA เติบโตขึ้นและเป็นปีแรกที่ได้ขยายขอบเขตของวัสดุต้นทางไปรวมถึงเศษขยะจากภาคอุตสาหกรรมด้วย เนื่องจากประเทศไทยเรานอกจากจะเป็นประเทศเกษตรกรรมแล้วยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกเช่นกัน จึงผลิตขยะอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่ยังคงสภาพดีและสามารถกลายไปเป็นวัสดุต้นทางรอการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ ต่อได้

วันนี้ Wazzadu ได้ทำการเก็บภาพวัสดุที่ได้ไปเยี่ยมชมจากงาน และรวบรวมข้อมูลแนวคิดวัสดุที่น่าสนใจบางส่วน มาฝากผู้อ่านทุกท่าน ติดตามในบทความนี้ได้เลยครับ...

 

ROUSE - TERRAZZO SCRAPS

ชุดโต๊ะจากเศษหินขัด

TRC เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์หินชัด (Terrazzo) จากบริษัท ธำรงค์ชัย จำกัด ทำธุรกิจงานหินขัดและทรายล้างมานานกว่า 50 ปี

ROUSE ถูกออกแบบเพื่อต่อยอดจากฐานกลุ่มลูกค้าเติมคือ สถาปนิก และนักออกแบบที่ใช้หินขัดในการก่อสร้างตกแต่งในโปรเจกต์ต่าง ๆ ทีมออกแบบจึงลองพัฒนาสินค้าแรกของแบรนด์ไปในหมวดเฟอร์นิเจอร์ คือท็อปโต๊ะ ที่มีรูปแบบเฉพาะตัวอันเกิดจากลักษณะการทำงานและเศษวัสดุที่เกิดขึ้นจากทางโรงงานโดยเน้นที่กระบวนการผลิตไม่ชับซ้อน แต่ได้ชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/114726904418366

TRC - TERRAZZO SCRAPS

หินขัดนับว่าเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีวิธีการผลิตแบบ Circular ในตัวเอง เกิดจากการนำเศษหินที่มีขนาดต่างกัน ผ่านกระบวนการผสมและหล่อให้เป็นแผ่นวัสดุใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่แบรนด์ TRC มีความเชี่ยวชาญแต่ในกระบวนการผลิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเศษเหลือระหว่างทางได้ จึงมีแนวคิดที่จะนำเศษที่เกิดขึ้นในทุกๆ วันของแต่ละกระบวนการนำกลับมาใช้ เข้าสู่กระบวนการเดิมของโรงงานเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง 

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/123261193564937

HARV - particle board scraps

เศษไม้ปาร์ติเกิลบอร์ด เป็นวัสดุทดแทนไม้จริงที่ยั่งยืน จากเศษกิ่งก้านชิ้นเล็กของไม้ยางที่ถูกกรีดยางไปใช้จนหมดแล้ว บดย่อย และอัดเป็นแผ่นด้วยกาวมาตรฐาน E1 ที่มีฟอร์มัลดีไฮด์ต่ำไม่ก่ออันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว เศษไม้ปาร์ติเกิลบอร์ดนั้นยังมีความสมบูรณ์ เพียงแต่ยังไม่ได้ปิดขอบ และมีขนาดเล็กส่วนเนื้อไม้ที่มีรูพรุนทำให้น้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังมีขี้เลื่อย ทั้งแบบหยาบ และละเอียดซึ่งหลงเหลือจากการทำงานที่แตกต่างกัน โดยมีจำนวนเศษไม้ปาร์ติเกิลเหลือจากการผลิตเฉลี่ย 15% ต่อ 1 แผ่น นอกจากนั้นยังมีฝุ่นขี้เลื่อยจากการผลิต 125-250 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งโดยปกติจะมีโรงงานรับซื้อไปทำธูป หรือนำไปทำความสะอาดคราบน้ำมันในโรงงาน ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของวัสดุ หากมีจำนวนมากไม่ทันใช้ จำเป็นจะต้องทิ้งจะทำให้เกิดปัญหาต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม การนำเศษวัสดุเหล่านี้มาใช้จึงช่วยลดขยะ ลดปริมาณคาร์บอนในการผลิตวัสดุใหม่มาใช้เพิ่ม หากพัฒนา และต่อยอดจนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้จำนวนที่มากขึ้น จะสามารถไปรับซื้อจากโรงงานใหญ่อื่นๆ ได้อีกมากในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/123261366898253

Nuaynard Sandstone Remnants

Mountain Sandstone Diffuser 

เกิดจากการพัฒนาวัสดุหินทราย ที่เหลือทิ้งจากการแกะสลักองค์พระ เหตุใดหินจากก้อนเดียวกัน เมื่อรูปลักษณ์เปลี่ยนคุณค่าและศรัทธาจึงเปลี่ยนตาม เราเก็บเศษหินมาเป็นทุนออกแบบหินกระจายกลิ่น ด้วยรูปทรงที่ลดทอนมาจากภูเขาเควสตา สัญลักษณ์ของอำเภอสีคิ้ว จ.นครราชสีมา

>>https://www.facebook.com/nuaynardhandcraft/posts/2366585340147243

 

LAMUNLAMAI - FOOD WASTE EGG SHELL / GROUND COFFEE / CARROT PULP

จากความชำนาญ การทดลองผสมผสานวัสดุหลากหลายในการผลิตเซรามิกของละมุนละไม. ทำให้ทราบว่าเศษอาหารบางประเภทสามารถนำมาประกอบการบวนการขึ้นรูปเซรามิกได้ จึงเกิดความสนใจและได้คัดเลือก waste จากกลุ่มเศษอาหาร ที่เหมาะกับกระบวนการผลิตและสามารถทดแทนการใช้เนื้อดิน ได้แก่ เปลือกไข่ กากกาแฟ และกากแคร์รอต มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อรับกับนโยบาย BCG Economy ในประเทศไทย

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/123262196898170

Lewa - Pineappie Leaf

เบาะยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งจากใบสับปะรด

ไทยนำโชค เป็นบริษัททอผ้าในประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 นำเสนอผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอผสมเส้นใยอุตสาหกรรมและธรรมชาติ มีความสนใจในเศษวัสดุทางการเกษตรอย่างใบสับปะรดและเปลือกกัญชง

ผู้ประกอบการมีความพร้อมและความถนัดในเรื่องสิ่งทอทั้งเส้นใยอุตสาหกรรมและธรรมชาติ จึงลองพัฒนาวัสดุเพื่อขยายตลาดไปสู่ Vegan Leather จากเส้นใยสับปะรด ที่นำเสนอรูปแบบที่แตกต่างเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เป็นหนังเทียมที่เป็นมิตรต่อทั้งสัตว์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กับหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น เบาะยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่ง เป็นต้น เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ชอบความสะดวก ในการดูแลทำความสะอาดวัสดุ และในขณะเดียวกันยังใส่ใจต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/118092830748440

Turn - single-use plastic

ผลิตภัณฑ์ปากแจกันจากพลาสติกรีไซเคิล

Qualy แบรนด์ของใช้และของแต่งบ้านจากพลาสติกที่เริ่มต้นจากการรับช่วงต่อโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ปัจจุบัน ส่งออกสินค้าไปยังกว่า 50 ประเทศทั่วโลกและยังได้รับการยอมรับได้รางวัลการออกแบบมากมายทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ

ผลิตภัณฑ์ปากแจกันจากพลาสติกรีไซเคิล ที่จะช่วยชุบชีวิตขวดแก้วฝาเกลียวที่ดูไร้ค่า ราคาถูก ให้กลายเป็นแจกันของตกแต่งบ้านที่สวยงาม มีราคา และที่สำคัญยังเป็นการเชิญชวนผู้บริโภคได้ริเริ่มหมุนเวียนขยะเหลือใช้ในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ 

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/117282917496098

THEPTEX - latex scraps / understandard latex

เศษวัสดุที่เทพเทกซ์ ได้เลือกมาพัฒนาต่อนั้น เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานตั้งแต่ต้นจนจบ ประกอบด้วยน้ำยางที่ยังไม่ผ่านคุณสมบัติ รวมถึงเศษที่เหลือจากขั้นตอนการตัดแต่งผลิตภัณฑ์ เศษดังกล่าวยังมีคุณสมบัติที่ดีของยางพาราอยู่ นั่นคือความยืดหยุ่นและการรองรับแรงกระแทก

เทพเทกซ์เห็นว่าคุณสมบัติของยางพาราทำได้มากกว่าการเป็นเศษวัสดุที่ขายไปในราคาต่ำ และไม่เกิดมูลค่าเพิ่ม จึงคิดค้นหาวิธีการในการนำเศษวัสดุมาเพิ่มมูลค่าเป็นวัสดุใหม่ โดยใช้คุณสมบัติโครงสร้างของยางพาราที่มีโครงข่ายเรียงซ้อนกันเป็นรูพรุนภายในกับคุณสมบัติในการรองรับแรงกระแทก มาพัฒนาต่อ ยอดด้วยนวัตกรรมของทางบริษัท เกิดเป็นวัสดุใหม่ที่สามารถพลิกแพลงต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้เช่นกัน

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/123262593564797

Rubber Idea - Rubber Gloves Waste

เศษวัสดุจากถุงมือยางตกเกรดในอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยางภายในประเทศ หรือชื่อทางเคมี คือ Rubber Latex เป็นเศษวัสดุที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติคุณภาพดีที่สุดตามความต้องการใช้งานของถุงมือยางที่ต้องการคุณสมบัติชั้นเลิศของยาง คือ มีความยืดหยุ่นสูงแต่เหนียวแม้จะมีความบาง 0.1 มิลลิเมตร มีสีขุ่นใส หรือสีน้ำเงิน ด้วยขบวนการผลิตถุงมือยางใช้วิธีจุ่มแล้วผ่านความร้อน ไม่ได้กดทับในแม่พิมพ์จนหลอมละลายและสุกจนคงรูป เศษวัสดุชนิดนี้จึงยังคงเป็นยางที่มีความคล้ายยางดิบ เมื่อนำมาบดแล้วผสมกับสีที่ต้องการแล้วให้ความร้อนในระดับหนึ่งก็จะกลายเป็นยางผสมที่พร้อมใช้งานสำหรับการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

Rubber Idea ได้พัฒนากระบวนการรีไซเคิลไปพร้อมๆ กับการทดลองพัฒนายางผสมของตนเองเพื่อลดปัญหาของตำหนิที่อาจเกิดขึ้นในชิ้นงาน รวมทั้งความคลาดเคลื่อนของสีที่อาจเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องมือทางอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยาง ผสานกับการทดลองและทดสอบจนมีความชำนาญ

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/123372170220506

RUBBER IDEA PET COLLECTION - RUBBER GLOVES WASTE

กระดูกของเล่นสุนัข

RUBBER IDEA มีพื้นฐานจากการเป็นโรงงานรับจ้างผลิตชิ้นงานยางอุตสาหกรรม จากนั้นได้รวมกลุ่มกับนักออกแบบเพื่อต่อยอดการผลิตเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น หมวดของเล่น อุปกรณ์ฝึกสำหรับสุนัขและแมว ได้แก่ กระดูกสุนัข ใช้ความเหนียว ยืดหยุ่นของยาง มีที่ใส่ขนมเปียก 4 ช่อง ซึ่งยังสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกสุนัข นกล้มลุกใส่ขนมสำหรับแมวเป็นทั้งของเล่นและที่เก็บขนมเม็ดไปในตัว ลูกหมุนใส่ขนม เป็นอีกหนึ่งของเล่นใส่ขนมที่ให้แมว โดยที่ชิ้นงานจะมีขาตั้งเป็นโลหะหุ้มยางเพื่อความมั่นคง ที่สามารถถอดประกอบและแพ็กร่วมกับลูกหมุนยางที่แพ็กให้แบนในกล่องได้ โดยมีการพัฒนาเพิ่มเติมในการผสมกลิ่นต่างๆ ที่สัตว์เลี้ยงชอบเข้าไปในผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/117619004129156

RENIM

ภายใน 1 ปีกางเกงยีนส์ใหม่ถูกผลิตใหม่มาประมาณ 450 ล้านตัวต่อปี ลองคิดดูว่าจะมีเศษผ้ายีนส์จำนวนมากแค่ไหนที่จะถูกทิ้งกลายเป็นขยะ RENIM PROJECT จึงใช้ยีนส์เก่าที่ถูกทิ้งเป็นจุดเด่นของแบรนด์ในการผลิตสินค้าต่างๆ

เนื่องจากแบรนด์ RENIM PROJECT ใช้กางเกงยีนส์เก่าในการผลิตสินค้า ทำให้ยังมีเศษจากการตัดเย็บชิ้นเล็กๆ ทั้งเศษที่เป็นเส้น เป็นชิ้นขนาดเล็ก หมุด กระดุม ซิป รวมถึงป้ายหนังที่ยังเหลืออยู่ โดยแบรนด์มีเป้าหมาย ที่จะผลิตสินค้าที่เป็น Zero Waste ให้ได้ จึงต้องหาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อทำให้เศษเหล่านี้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สร้างมูลค่าและส่งเสริมความเป็นแบรนด์

>> https://www.facebook.com/dewaanddewi2021/posts/123262540231469

Photographer : Wazzadu.com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Fb : DEsign from Waste of Agriculture and Industry 2021

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ