หลักการออกแบบก่อสร้างรั้วอาคาร ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (Fence design for Architecture)

รั้ว ถือเป็นส่วนหนึ่งกับตัวบ้าน และอาคาร ในประเทศไทยบ้าน และอาคารทุกหลังมักมีรั้ว เพื่อความปลอดภัย แสดงขอบเขตกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และเพื่อความสวยงามของอาคาร การออกแบบรั้วให้ถูกต้องตามข้อกฎหมายนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน เพื่อลดข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง และก่อสร้างให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย 

วันนี้ Wazzadu Encyclopedia ได้รวบรวมข้อมูล หลักการออกแบบก่อสร้างรั้วอาคาร ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (Fence design for Architecture) เพื่อให้นักออกแบบ สถาปนิก ช่าง และผู้ที่สนใจ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และมีความเข้าใจในการก่อสร้างรั้วได้อย่างถูกกฏหมาย โดยจะมีหลักการออกแบบ และข้อกฏหมายที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ติดตามชมได้เลยครับ

หลักการออกแบบก่อสร้างรั้วอาคาร ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (Fence design for Architecture)

หลักพิจารณาในการออกแบบก่อสร้างรั้ว

  • ลักษณะของอาคาร  การจะสร้างรั้วล้อมอาคาร หรือบ้านนั้น จำเป็นจะต้องดูลักษณะของอาคารก่อนว่าเป็นสไตล์แบบไหน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไร เพื่อการออกแบบรั้วบ้านให้เข้ากับลักษณะบ้านอย่างลงตัว เช่น การเลือกใช้วัสดุ หรือโทนสีของรั้ว เป็นต้น
  • พื้นที่รอบอาคาร และระยะห่างจากตัวอาคาร  ไม่ว่าจะเป็นอาคารขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ถ้าระยะห่างจากตัวอาคารไปถึงรั้วไม่เกิน 6 ฟุต ควรออกแบบรั้วอาคารให้ดูเรียบง่าย  ดูเป็นสัดส่วนกับตัวบ้าน ไม่ควรใช้ลวดลายที่ซับซ้อนหรือมีสีสันมากจนเกินไป
  • สี และรูปแบบ  สำหรับสี และรูปแบบรั้ว ไม่ว่าจะเป็นอาคารขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก วิธีการออกแบบรั้วบ้านจะคล้าย ๆ กัน แต่อาคารขนาดใหญ่จะเหมาะกับหลากหลายตัวเลือกมากกว่า และสามารถใช้วัสดุได้หลากหลายว่า เช่น แบบรั้วลูกกรง แบบรั้วเหล็กดัดทั้งแนวตั้งและแนวนอน แบบทึบ แบบโปร่ง แบบไล่ระดับสูงต่ำตามลักษณะภูมิประเทศ เป็นต้น สำหรับสีของรั้วบ้านนั้น ควรเลือกตามความชอบ และสไตล์ของอาคาร
  • เลือกวัสดุและส่วนประกอบ เหล็กเป็นวัสดุที่นิยมใช้ทำรั้วอาคารมากที่สุด เนื่องจากราคาค่อนข้างถูกกว่า และง่ายต่อการดูแลรักษา  แต่หากมีงบประมาณเพิ่มเติม รั้วบ้านแบบผสมระหว่างไม้กับเหล็ก หรือ รั้วบ้านแบบผสมระหว่างเหล็กกับอิฐหรือคอนกรีต ก็จะทำให้รั้วบ้านดูแน่นหนา คงทนมากขึ้น

ข้อควรคำนึงในการสร้างรั้วอาคาร

  • ความปลอดภัย ส่วนที่สำคัญที่สุดที่ต้อคำนึง เพราะรั้วกำแพงอาคาร โดยเฉพาะที่เป็นอิฐบล็อคที่สร้างสามารถปีนเข้ามาได้ง่าย ควรสร้างให้มีความสูงมากพอที่จะทำให้คนปืนเข้ามาไม่ได้ อาจเสริมด้วยเหล็กดัดด้านบนเพื่อป้องกันขโมยปีนเข้ามา
  • คำนึงถึงจุดประสงค์สำคัญ จุดประสงค์ในการสร้างรั้วถือเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการออกแบบ เพื่อให้ตรงตามความต้องการ เช่นต้องการสร้างรั้วเพื่อบดบังสายตาจากภายนอก ก็จะเหมาะกับรั้วคอนกรีตสูง หากไม่กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวมากนักก็อาจจะเลือกใช้รั้วแบบระแนงได้
  • ข้อกฏหมาย ควรต้องศึกษา และทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรั้วเพื่อลดปัญหาข้อพิพาทในภายหลัง และเพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย

ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กำหนดให้ “อาคาร” หมายถึง “…ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนด...”

โดย กฎกระทรวงกำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 กำหนดให้สิ่งก่อสร้างใดก็ตามที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร เข้าข่ายเป็น “อาคาร” ด้วย 

 

รั้วอาคารระหว่างที่ดินเอกชน และที่ดินเอกชน

  • หากรั้วมีความสูงไม่เกิน 10 เมตร จะไม่นับว่าเป็นอาคาร และไม่ต้องทำการขออนุญาตก่อสร้าง
  • หากสูงเกิน 10 เมตรจะนับว่าเป็นอาคารต้องขออนุญาตก่อสร้าง
  • ถ้ามีกรณีพิพาทก็แล้วแต่สองฝ่ายจะตกลงกัน โดยจะใช้รั้วร่วมกัน โดยจะถือว่าเป็นสมบัติร่วม หรือแยกรั้วโดยสร้างในขอบเขตที่ดินตนเอง

รั้วอาคารระหว่างที่ดินเอกชน และที่ดินเอกชน

รั้วอาคารระหว่างที่ดินเอกชน และที่สาธารณะ

  • รั้วที่สร้างชิดเขตแนวที่ดินต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร
  • กรณีก่อสร้างรั้วในกรุงเทพมหานคร หากถนนกว้างน้อยกว่า 6 เมตร รั้วจะสูงได้เพียง 2 เมตร
  • หากรั้วสูงเกิน 10 เมตรจะนับว่าเป็นอาคารต้องขออนุญาตก่อสร้าง 

* กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2535) ข้อ 42, ข้อ 47 และใน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ข้อ 50 

รั้วอาคารระหว่างที่ดินเอกชน และที่สาธารณะ

รั้วอาคารกั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับเขตที่ดินสาธารณะ

  • รั้วที่กั้นระหว่างแนวที่ดินสาธารณะกับที่ดินเอกชน จะนับเป็นอาคารต้องมีการขออนุญาตก่อสร้าง
  • หากรั้วสูงเกิน 10 เมตรจะนับว่าเป็นอาคารต้องขออนุญาตก่อสร้าง 

* กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2535) ข้อ 42, ข้อ 47 และใน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ข้อ 50 

รั้วอาคารกั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับเขตที่ดินสาธารณะ

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักการออกแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  • กรมโยธาธิการและผังเมือง 
  • www.scgbuildingmaterials.com/th/
  • www.autodoorcenter.com/

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ