หลักการออกแบบ และวิธีการปูพื้นทางเดินในสวน (Garden floor design for Architecture)

การออกแบบสวนภายนอกบ้าน หรืออาคาร เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้บรรยากาศรอบ ๆ อาคารเกิดความผ่อนคลาย ทำให้อาคารสวยงาม และยังทำให้พื้นที่รอบ ๆ เกิดการใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย นั่งเล่นพักผ่อน หรือปาร์ตี้สังสรรค์กับครอบครัว  และเพื่อน ทางเดินภายในสวนเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้สวนสวยงามมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีวัสดุปูพื้นทางเดินในสวนมากมายให้เลือกใช้ตามความชอบ และสไตล์ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น

  • พื้นไม้ (Wood Flooring)
  • พื้นกรวดล้าง (Washed Gravel Flooring)
  • พื้นทรายล้าง (Washed Sand Flooring)
  • พื้นกรวดแม่น้ำ (Pebbles)
  • พื้นหินธรรมชาติ (Natural Stone flooring) หินที่นิยมนำมาใช้ คือ หินกาบ (Brown Slate)  หินชนวน (Black Slate) หินแกรนิต (granite) หินทราย (Sandstone) และหินอ่อน (Marble) 
  • พื้นคอบเบิ้ลสโตน (Cobblestone Flooring)
  • บล็อกคอนกรีตปูพื้น (Paving Block)
  • พื้นสแตมป์คอนกรีต (Stamp Concrete)
  • แผ่นปูทางเดินปูนเปลือย (Concrete Tile)
  • กระเบื้องดินเผา (Clay Tile)
  • อิฐมอญ (Brick Flooring)

เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นทางเดินในสวนเกิดการทรุดตัวลง วิธีการปูพื้นทางเดินในสวนอย่างถูกวิธีถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน วันนี้ Wazzadu Encyclopedia ได้รวบรวมข้อมูลหลักการออกแบบ และวิธีปูพื้นทางเดินในสวน โดยจะมีรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ติดตามชมได้เลยครับ

หลักการออกแบบ และวิธีการปูพื้นทางเดินในสวน

การออกแบบทางเดินภายในสวน มีขั้นตอนดังนี้ คือ

  1. กำหนดทางเดินภายในสวน ทางเดินควรอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมการใช้งานจากในบ้านสู่นอกบ้าน หรือนอกบ้านสู่ในบ้าน หรือจะเป็นพื้นที่รอบๆ สำหรับเดินวนทั่วโดยรอบอาคาร ควรเลือกวางแผ่นทางเดินขนาด 50-60 เซนติเมตรสำหรับเดินคนเดียว 80-100 เซนติเมตรในกรณีที่เดิน 2 คน และวางในระยะห่าง 30-50 เซนติเมตรโดยวัดจากศูนย์กลางของแผ่นทางเดิน 
  2. การเลือกแผ่นทางเดิน นิยมกันในท้องตลาดนั้นแบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่ๆ ด้วยกัน คือแผ่นทางเดินจากธรรมชาติและแผ่นทางเดินซีเมนต์ ดีไซน์หลากหลายให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน 
           - แผ่นทางเดินจากธรรมชาติ เช่น แผ่นศิลาแลง หินภูเขา หินทราย ไม้หมอน มักจะอยู่ในงานดีไซน์สวนแบบทรอปิคัล หรือสวนป่าดิบชื้น เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บความชื้นได้นาน ทำให้พื้นที่สวนมีความชุ่มชื่น และเย็นสบาย
            - แผ่นทางเดินสำเร็จรูป ได้แก่ แผ่นทางเดินซีเมนต์ และแผ่นหินสังเคราะห์ มีหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 20 x 20 และ 40x40 เซนติเมตรขึ้นไป ทำให้สามารถกำหนดการจัดวางได้ง่าย และมีความแข็งแรง
  3. ตกแต่งระหว่างแผ่นทางเดินเพื่อความสวยงาม สามารถโรยหินแกลบ ซึ่งดูแลได้ง่าย และยังระบายนำ้ฝนลงสู่ดินได้อย่างรวดเร็ว หรือปลูกหญ้าสลับ เช่น หญ้ามาเลเซีย เฟิร์นกนกนารี มอสส์ ถั่วบราซิล เป็นต้น ควรเลือกปลูกพืชชนิดที่ต้องดูแลรักษาง่าย ทนต่อการเหยียบย่ำ สามารถทนฝนได้ดี และสามารถระบายน้ำขังลงสู่ดินได้อย่างรวดเร็ว        

การปูพื้นทางเดินนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยมีขั้นตอนวิธีการปูพื้นทางเดินทั่วไป คือ

  1.  ปรับหน้าดินให้เรียบเป็นทางเดินตามแบบที่ต้องการ 
  2. ใช้ทรายรองหน้าดินอีกชั้นเพื่อให้ระบายน้ำลงสู่ดินได้อย่างรวดเร็ว หรือใช้ตาข่ายพลาสติก ซีเมนต์ เจาะรูระบายน้ำก็จะทำให้พื้นแข็งแรงมากขึ้น
  3. วางแผ่นทางเดินตามระยะที่กำหนดไว้จากนั้นก็ตกแต่งรอบๆ ทางเดินตามความต้องการ

แบบที่ 1 การปูพื้นทางเดินลงบนชั้นดินเดิม

วิธีการปูพื้นแบบนี้ สามารถใช้ได้กับสภาพดินที่มีความแข็งแรง ช่วยให้ระบายน้ำลงบนดินได้รวดเร็ว โดยการเสริมทรายหยาบบีบอัดแน่นจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของพื้นทางเดินมากยิ่งขึ้น

  • ปรับเกลี่ยนหน้าดินเดิมให้แน่น
  • กั้นขอบพื้นที่แนวทางเดินด้วยอิฐขอบปูน (Curb) หรือ ขอบสำเร็จรูป เพื่อช่วยให้ทางเดินคงทนแข็งแรงมากขึ้นและง่ายต่อการปูพื้น
  • ปูด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile เพื่อป้องกันทรายไหลรวมกับดิน
  • โรยทรายหยาบเพื่อช่วยปรับระดับดินให้มีความเรียบสม่ำเสมอ หนา ประมาณ 3-5 เซนติเมตร
  • ปูด้วยแผ่นตะแกรงพลาสติก และวางแผ่นปูพื้นทางเดินตามต้องการ

แบบที่ 2 การปูพื้นทางเดินลงบนคอนกรีต

เหมาะสำหรับพื้นที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ โดยสามารถใช้คอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ หรือแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป และเททรายหยาบบีบอัดแน่นอีกหนึ่งชั้นเพื่อปรับหน้าดิน

  • ปรับเกลี่ยนหน้าดินเดิมให้แน่น
  • กั้นขอบพื้นที่แนวทางเดินด้วยอิฐขอบปูน (Curb) หรือ ขอบสำเร็จรูป เพื่อช่วยให้ทางเดินคงทนแข็งแรงมากขึ้นและง่ายต่อการปูพื้น
  • เทคอนกรีต หรือใช้แผ่นพื้นคอนกรีตเพื่อเสริมความแข็งแรง
  • โรยทรายหยาบเพื่อช่วยปรับระดับให้มีความเรียบสม่ำเสมอ หนา ประมาณ 3-5 เซนติเมตร
  • วางแผ่นปูพื้นทางเดินตามต้องการ

แบบที่ 3 การปูพื้นทางเดินลงบนทรายหยาบ

วิธีการปูพื้นแบบนี้เหมาะสำหรับหน้าดินที่มีความแข็งแรง และเลือกใช้บล็อกพื้นทางเดินคอนกรีต ช่วยให้ระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับพื้นที่สวนขนาดเล็ก และประหยัดงบประมาณ

  • ปรับเกลี่ยนหน้าดินเดิมให้แน่น
  • กั้นขอบพื้นที่แนวทางเดินด้วยอิฐขอบปูน (Curb) หรือ ขอบสำเร็จรูป เพื่อช่วยให้ทางเดินคงทนแข็งแรงมากขึ้นและง่ายต่อการปูพื้น
  • โรยทรายหยาบเพื่อช่วยปรับระดับดินให้มีความเรียบสม่ำเสมอ หนา ประมาณ 3-5 เซนติเมตร
  • ปูด้วยแผ่นตะแกรงพลาสติก และวางแผ่นปูพื้นทางเดินตามต้องการ

แบบที่ 4 การปูพื้นทางเดินลงบนแผ่น Geotextile 2 ชั้น

วิธีการปูพื้นแบบนี้เหมาะสำหรับหน้าดินที่มีความแข็งแรง แผ่น Geotextile จะช่วยให้ทราย และวัสดุตกแต่งพื้นไม่ไหลรวมกัน ยังช่วยให้ระบายน้ำลงดินได้ดีไม่เกิดน้ำขังอีกด้วย

  • ปรับเกลี่ยนหน้าดินเดิมให้แน่น
  • กั้นขอบพื้นที่แนวทางเดินด้วยอิฐขอบปูน (Curb) หรือ ขอบสำเร็จรูป เพื่อช่วยให้ทางเดินคงทนแข็งแรงมากขึ้นและง่ายต่อการปูพื้น
  • ปูด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile เพื่อป้องกันทรายไหลรวมกับดิน
  • โรยทรายหยาบเพื่อช่วยปรับระดับดินให้มีความเรียบสม่ำเสมอ หนา ประมาณ 3-5 เซนติเมตร
  • ปูด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile เพื่อไม่ให้วัสดุตกแต่งพื้นรวมกับพื้นทราย
  • วางแผ่นปูพื้นทางเดินตามต้องการ

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักการออกแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

www.scgbuildingmaterials.com/th/

www.baanlaesuan.com/

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ