ในอดีต ยอดตึก Empire State เคยถูกออกแบบให้สามารถจอดเรือเหาะได้

Empire State Building อดีตตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมระดับ Art Deco Masterpiece ขนาดใหญ่ที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ตัวแทนของวัฒนธรรมอเมริกันสมัยใหม่ (Soft Power) โดยถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์และนวนิยายระดับโลกที่มักจะกล่าวถึงตึก Empire State อยู่เสมอ

Empire State ตั้งอยู่บนเกาะแมนฮัตตัน ในนครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา บริเวณจุดตัดของถนน Fifth Avenue และ West 34 Street นับเป็นตึกหลังแรกของโลกที่มีความสูงมากกว่า 100 ชั้น ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอเมริกัน วิลเลียม เฟรเดอริก แลมบ์ (William Frederick Lamb) เป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกนานกว่า 40 ปีนับแต่สร้างเสร็จในปี 1931

The famous photo of the dirigible Los Angeles docking at the Empire State Building is a fake, although there were vague plans for an airship station. Keith de Lellis Gallery

รูปภาพประกอบจาก www.nytimes.com

จุดเด่นของตึก Empire State ที่สามารถสังเกตเห็นได้ในระยะไกลทั้งเวลากลางวัน และกลางคืนก็คือยอดอาคารและเสาอากาศที่มีการออกแบบ Lighting Design ด้วยการประดับหลอดไฟ LED กว่า 15,000 ดวง ซึ่งจะสามารถกระพริบไฟตามจังหวะเพลงที่ถูกเปิดจากสถานีวิทยุท้องถิ่นได้ รวมถึงการเปลี่ยนสีไฟตามวันสำคัญของโลกหรือเหตุการณ์สำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น 

  • วันคริสต์มาส
  • วันชาติอเมริกา 
  • วันครบรอบวันเกิดของสมเด็จพระราชินีอังกฤษ
  • วันฉลองครบรอบ 60 ปี สาธาณรัฐประชาชนจีน
  • วันรำลึกการจากไปของแฟรงค์ ซินาตร้า
  • โปรโมทภาพยนตร์ที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวอเมริกา

และในวาระสำคัญอื่นๆอีกมากมายหลายเหตุการณ์

The dirigible “Columbia,” flying over the the mast of the Empire State Building.

รูปภาพประกอบจาก www.nytimes.com

แต่กว่าจะมาเป็นยอดอาคารและเสาอากาศที่ประดับไฟสวยงามอย่างในปัจจุบัน รู้หรือไม่ว่าในอดีตยอดอาคารของตึก Empire State เคยถูกออกแบบให้สามารถจอดเรือเหาะได้มาก่อน

เรื่องนี้ต้องย้อนเวลากลับไปในช่วงปี 1930 ซึ่งในยุคนั้นเมืองนิวยอร์กนับว่าเป็นเมืองยุคใหม่ ที่เปรียบได้กับโลกแห่งอนาคตในสมัยนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองนี้ดูทันสมัยดูอวกาศไปหมด รวมทั้งมีแนวคิดสุดล้ำสมัยดังที่สะท้อนผ่านสิ่งปลูกสร้าง และสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆมากมาย รวมถึงแนวคิดในการออกแบบยอดตึก Empire State ให้สามารถจอดเรือเหาะ (Airship) ได้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเหล่าบรรดามหาเศรษฐี 

The R-101 moored here was the largest craft in the world (until the Hindenburg) and crashed on her maiden voyage, killing 48 out of 54 onboard. The crash effectively ended the nascent British airship program.

รูปภาพประกอบจาก www.rarehistoricalphotos.com

แต่ก่อนที่จะได้เปิดใช้งานจริง กลับมีเรื่องที่ต้องทำให้แนวคิดนี้ถูกพับเก็บไปก่อนอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากได้เกิดเหตุการณ์หายนะกับเรือเหาะ Hindenburg จนกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ของการเดินทางด้วยเรือเหาะที่คร่าชีวิตผู้โดยสารมากถึง 48 คน จากผู้โดยสารบนเรือเหาะทั้งหมด 54 คน

ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเกิดประกายไฟ ที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้าสถิตในขณะที่เจ้าหน้าที่นำเชือกไปผูกตรึงเรือเหาะไว้กับหลักบนพื้นดินเพื่อเทียบท่า แล้วบังเอิญมีรอยรั่วของผ้าใบที่มีก๊าซไฮโดรเจนรั่วซึมออกมาพอดี เมื่อเชื้อเพลิง (ก๊าซไฮโดรเจน) ก๊าซออกซิเจน และความร้อนจากประกายไฟมาเจอกัน จึงทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้อย่างรุนแรงและลามไปอย่างรวดเร็ว

The German dirigible Hindenburg crashed in Lakehurst, N.J., on May 6, 1937.

Murray Becker/Associated Press

รูปภาพประกอบจาก www.nytimes.com

และจากเหตุการณ์หายนะเรือเหาะ Hindenburg นี้เอง จึงทำให้ผู้คนหวาดกลัวการโดยสารเรือเหาะ และได้มีการยกเครื่องปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยสำหรับการเดินทางด้วยเรือเหาะขึ้นใหม่ จนเป็นผลทำให้แนวคิดการจอดเรือเหาะบนยอดตึก Empire State ต้องพับแผนเข้าลิ้นชักไปจวบจนถึงปัจจุบัน

ยอดอาคารและเสาอากาศของตึก Empire State ในปัจจุบัน ที่มีการจัด Lighting Design อย่างงดงาม โดยจะเปลี่ยนสีไฟไปตามเหตุการณ์วาระสำคัญต่างๆของโลก

รูปภาพประกอบจาก www.edition.cnn.com

อ้างอิงโดย

https://www.nytimes.com/2010/09/26/realestate/26scapes.html

https://www.airspacemag.com/daily-planet/docking-on-the-empire-state-building-12525534/

https://www.boweryboyshistory.com/2008/06/dinosaurs-of-new-york-skyline.html

https://www.nytimes.com/2019/11/16/us/werner-doehner-dead-hindenburg-disaster.html

องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ