สหรัฐฯ แปรรูปไม้ให้แข็งแรงกว่าเดิม 23 เท่า และคมกว่าสแตนเลส 3 เท่า

แม้ว่าในความเป็นจริงวัสดุตามธรรมชาติอย่างไม้จะเป็นสิ่งที่แข็งแรงน้อยกว่าเหล็ก รวมไปถึงของที่ใช้ตัดสิ่งอื่นๆ ให้ขาดอย่างดาบหรือมีดเราก็คงจะไม่มีใครคิดว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำขึ้นมาจากไม้ได้ ทำให้วัสดุประเภทไม้ถูกนำไปใช้ในงานเชิงโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมหรือตกแต่งพื้นที่ซะมากกว่า

ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ของสหรัฐอเมริกา ก็ประสบความสำเร็จในการทำให้ไม้มีความแข็งแรงทนทานกว่าที่เคยเป็นมาถึง 23 เท่า

ซึ่งมากพอที่จะนำมันไปทำเป็นมีดที่คมกว่ามีมีดสเตนเลสที่ขายกันตามท้องตลาด 3 เท่าได้เลยทีเดียว

โดยวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ ใช้ในการสร้างไม้ที่มีความแข็งแกร่ง คือการกำจัดส่วนประกอบของไม้ที่ชื่อ "เฮมิเซลลูโลส" และ "ลิกนิน" ซึ่งมีความทนทานต่ำออกไป เหลือไว้เพียง "เซลลูโลส" ที่มีความแข็งทนทานสูงนั่นเอง เริ่มจากแยกไม้ออกเป็นสัดส่วนเพื่อกำจัดส่วนประกอบที่ไม่ต้องการออก ก่อนที่จะนำมันไปกดในความร้อนเพื่อให้มีความหนาแน่นและขจัดน้ำออก

ภาพจาก

https-//els-jbs-prod-cdn.jbs.elsevierhealth.com/cms/attachment/5b0f24bd-6bbc-43f3-93d7-ca75eed9c20a/fx1_lrg

ซึ่งผลที่ออกมาจากกระบวนการนี้จะทำให้เกิดเป็นไม้ที่ไร้ซึ่งข้อบกพร่องตามธรรมชาติ ทำให้มันแข็งแรงมากๆ และยังสามารถขึ้นรูปเป็นรูปทรงใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งทำให้สิ่งที่เคยทำจากไม้ได้ยากอย่างของมีคม จะสามารถคงความคม ใช้ซ้ำได้นานอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย

ความสำเร็จนี้ทำให้ในปัจจุบันทีมนักวิจัยจึงกำลังตรวจสอบอยู่ว่าสารเคมีที่ใช้ในการแปรรูปไม้ในรูปแบบนี้จะสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้บ่อยแค่ไหน หรือการแปรรูปต้องใช้พลังงานมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับการแปรรูปอื่นๆ และหากว่าเราโชคดีมันก็อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในอนาคตสิ่งของอีกหลายๆ ชิ้นที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน จะสามารถถูกสร้างขึ้นมาได้ โดยวัสดุที่มีราคาถูกแต่ทนทาน แบบไม้แปรรูปแบบใหม่เหล่านี้ และคงทำให้งานออกแบบต่างๆ รวมไปถึงงานโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมมีวัสดุแปลกๆ ใหม่ๆ มาให้ได้ใช้งานในอนาคตอย่างแน่นอน

อ้างอิงจาก

  • https://www.iflscience.com/technology/hardened-wood-steak-knife-is-three-times-as-sharp-as-a-steel-one/?fbclid=IwAR3DIHnmRJ-tW-OeIBOlii-gLMoyiBewLJ3DAum432AWhOPVy-RDcXuEPdQ
  • https://www.odditycentral.com/news/new-procesing-technique-makes-wood-as-tough-as-steel-scientists-claim.html?fbclid=IwAR3K0eNSleqUnJnEBw9MpNGZl8CXne7V4Nqcp7mF_m0oxLOi_XIS8h2cD-Q

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่


Material and Design Innovation

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ