อินเดียโชว์นวัตกรรม เปลี่ยนมลพิษในเมืองเป็นกระเบื้องคาร์บอน
อินเดีย ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีมลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก โดยในแต่ละปีอากาศที่เป็นพิษได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่าหนึ่งล้านคนเลยทีเดียว สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจากอินเดียเป็นผู้ผลิตอิฐรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก เตาเผาอิฐ ซึ่งคิดเป็น 20% ของการปล่อยคาร์บอนสีดำทั่วโลก มีส่วนสำคัญอย่างมากต่ออากาศที่เลวร้ายในทุกวันนี้
สถาปนิกในประเทศอินเดียที่ชื่อ เตจัส ซิดนาล (Tejas Sidnal) มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้การก่อสร้างมีความยั่งยืนมากขึ้นและจัดการกับมลพิษทางอากาศของอินเดีย ซิดนาลได้เปิดตัว “Carbon Craft Design” ในปี 2019 โดยใช้ “แบล็กคาร์บอน (Black Carbon)” ที่สกัดจากอากาศเสีย และนำมารีไซเคิลเพื่อทำเป็นกระเบื้องสร้างอาคาร
ในการสร้างกระเบื้องคาร์บอนได้ร่วมมือกับ Graviky Labs ที่ใช้อุปกรณ์กรองเพื่อดักจับเขม่าคาร์บอนจากท่อไอเสียรถยนต์และเครื่องกำเนิดเชื้อเพลิงฟอสซิลต่างๆ เพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อน เช่น โลหะหนัก และฝุ่น ออกจากเขม่า จนได้คาร์บอนบริสุทธิ์ และส่งมอบให้กับ Carbon Craft Design ในรูปแบบผง
ปัจจุบันกระเบื้องจากนวัตกรรมนี้มีราคาสูงถึง 29 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 875 บาท) ต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นราคาที่สูงเมื่อเทียบกับกระเบื้องเซรามิกทั่วไป แต่การพัฒนายังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้กระเบื้องคาร์บอนมีราคาถูกลง และในปี 2020 ที่ผ่านมาได้ปูผนังและพื้นด้วยกระเบื้องคาร์บอนให้กับร้าน Adidas ในเมืองมุมไบอีกด้วย เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมวัสดุที่เข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ครับ
อ้างอิงจาก
- https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/139896
- https://www.ilcommercioedile.it/carbon-craft-design-le-piastrelle-fatte-di-carbonio/
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่ www.facebook.com/Wazzadu
ผู้เขียนบทความ
ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่
Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ
หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ... อ่านเพิ่มเติม