Shilda Winery Complex งานสถาปัตยกรรมที่นำพลังงานธรรมชาติจากดินมาช่วยระบายความร้อนภายในอาคาร

ภาพประกอบจาก

https://x-architecture.co.uk/project/shilda/

ในปัจจุบันการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม การลดการใช้พลังงานที่ทำให้เกิดมลภาวะ และหันมาใช้พลังงานจากธรรมชาตินอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อนยังทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น

ภาพประกอบจาก

https://www.archilovers.com/projects/215005/gallery?1988936

Shilda เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ทางตะวันออกของประเทศจอร์เจีย ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักการผลิตไวน์ของประเทศจอร์เจีย                             ​

Shilda winery complex คือไร่องุ่นสำหรับทำไวน์ ร้านอาหาร และศูนย์ให้ความรู้เกี่ยวกับไวน์ที่มีมายาวนานกว่า 8,000 ปี ออกแบบโดย X-architecture ตั้งอยู่ที่เมือง Kahketi อยู่ทางเหนือของภูมิภาคการผลิตไวน์ของประเทศจอร์เจียโดยอยู่ใกล้ และมองเห็นทิวทัศน์เทือกเขา Caucasus มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 2,000 ตารางเมตร

ภาพประกอบจาก

https://x-architecture.co.uk/project/shilda/

รูปทรงอาคารถูกยกสูงเพื่อรองรับ 3 ฟังก์ชั่นหลักที่ทำให้เกิดรูปทรงอาคารเป็น 3 เนินเขา แต่ละส่วนมีหน้าที่คือ พื้นที่ชิมไวน์ พื้นที่จัดเก็บไวน์ และพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับไวน์

โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  • ระดับ G โซนสำหรับจัดแสดง พื้นที่สำหรับชมวิวและเป็นส่วนที่รับแสงธรรมชาติ
  • ระดับ 00 เป็นส่วนต้อนรับ ร้านอาหารและห้องประชุม
  • ระดับ B1 เป็นห้องเก็บไวน์และศูนย์อาหาร

ด้านโครงสร้าง ทีมออกแบบได้นำระยะห่าง 2.5 เมตร ของไร่องุ่นแปลงมาเป็นแนวการวางผังโครงสร้างอาคาร และเชื่อมต่อผ่านชุดคานโค้งที่ทำจากโครงสร้างเหล็ก รูปทรงอาคารนี้ถือเป็นการตอบสนองต่อปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่รอบอาคาร และคุณภาพของไวน์ อาคารใช้พลังงานธรรมชาติจากมวลอุณหภูมิของดินเพื่อระบายความร้อนภายในอาคาร ซึ่งเป็นที่เก็บ เสิร์ฟ และชิมไวน์

ภาพประกอบจาก

https://x-architecture.co.uk/project/shilda/

ในด้านสิ่งแวดล้อม Shilda ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ต่อปีค่อนข้างสูง และสภาพแวดล้อมที่แห้งมากเพื่อแก้ไขปัญหานี้ทีมออกแบบได้ใช้พลังงานธรรมชาติจากมวลอุณหภูมิจากดินมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนของอาคาร นอกจากนี้อาคารได้หันหน้าไปทางทิศเหนือเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง เป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติให้คุ้มค่า

Shilda winery complex ถือเป็นตัวอย่างอาคารที่นำพลังงานธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบโดยการฝังตัวอาคารไปกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติโดย x-architecture มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

รุปประเด็นที่น่าสนใจของ Shilda Winery Complex

  1. เป็นอาคารสำหรับผลิตไวน์ ร้านอาหารและศูนย์ให้ความรู้เกี่ยวกับไวน์ ที่ออกแบบอาคารให้กลมกลืนกับบริบทสภาพแวดล้อม โดยตัวอาคารออกแบบให้ฝังลงไปในดิน เพื่อใช้มวลอุณหภูมิของดินในการระบายความร้อนอาคาร และใช้สำหรับเก็บไวน์ นอกจากนี้ยังมีการออกแบบหลังคาโปร่งแสงเพื่อให้ได้รับแสงอาทิตย์ เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
  2. Shilda Winery Complex เป็นตัวอย่างการออกแบบอาคารประเภทโรงบ่ม ที่หันมาใช้พลังงานสะอาดของธรรมชาติจากดิน และแสงอาทิตย์ ในการระบายความร้อนลดอุณหภูมิภายในอาคาร และลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยให้ความสำคัญกับการนำธรรมชาติมาเป็นส่วนหนึ่ง มากกว่าการหลีกหนีจากธรรมชาติ

อ้างอิงจาก

  • https://www.archilovers.com/projects/215005/shilda-winery.html#info
  • https://x-architecture.co.uk/project/shilda/

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาสตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่
Material and Design Innovation

อ่านเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ Wazzadu Green ได้ที่

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ