บ้านหลังแรกที่สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติในอเมริกา
ในปัจจุบันเราอาจจะเริ่มมองเห็นแล้วว่า “เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” เริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมมากขึ้น เนื่องจากความสามารถในการทำงานที่มีความยืดหยุ่นและลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้มากกว่าการผลิตแบบดั้งเดิม ทำให้เครื่องพิมพ์นี้ช่วยเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ของการผลิตได้มากขึ้น ด้วยการให้ผลงานพิมพ์ที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง มีความแข็งแรงและทนทาน
ไม่เพียงแต่ประโยชน์ทางด้านการผลิตสินค้าเท่านั้น แต่เครื่องพิมพ์ 3 มิติยังถูกนำไปใช้งานในด้านวัสดุก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังนำไปต่อยอดความคิดให้กับสถาปนิกนักออกแบบรุ่นใหม่เพื่อสร้างจินตนาการอย่างไร้ขอบเขตในการสร้างสรรค์ผลงานได้
วันนี้เราจะพาไปดูบ้านหลังแรกในสหรัฐอเมริกาที่สร้างด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่มีความคงทนแข็งแรงไม่แพ้เทคโนโลยีการก่อสร้างแบบเดิมที่ใช้คอนกรีตเสริมโครงสร้างเหล็กเลยทีเดียว
โดยบ้านสองชั้นหลังนี้ได้รับการออกแบบอย่างสวยงามและมีความทันสมัย ตัวโครงสร้างของบ้านชั้นแรกสร้างโดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติทั้งหมด โดยใช้วิธีฉีดเนื้อคอนกรีตผสมชนิดพิเศษสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ฉีดวางเป็นชั้น ๆ เชื่อมต่อกัน ทำให้โครงสร้างของบ้านมีลวดลายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเห็นชัดเจนว่าเป็นบ้านที่ถูกสร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติเท่านั้น
โครงสร้างชั้นที่ 2 ใช้วิธีสร้างโดยการวางชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ถูกประกอบเอาไว้แล้วมาวางซ้อนทับลงไปบนโครงสร้างของบ้านชั้นแรก วิธีการก่อสร้างแบบนี้สามารถทำให้บ้านขนาด 4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำถูกสร้างเสร็จในระยะเวลาอันสั้น
สำหรับในด้านมาตรฐานความปลอดภัยของโครงสร้างตัวบ้านทางบริษัทยืนยันความปลอดภัยของโครงสร้างตัวบ้านมีความยืดหยุ่นสูงรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ น้ำท่วมและไฟไหม้
นอกจากนี้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ของบริษัทแห่งนี้ยังได้รับการคัดเลือกจากองค์การนาซาของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ทำการศึกษาวิธีการก่อสร้างฐานปล่อยจรวดสำหรับยานอวกาศและอาคารสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยบนดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคตอีกด้วย ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการสถาปัตยกรรมและวัสดุจริงๆ ครับ
อ้างอิงจาก
- https://www.facebook.com/663252083745349/posts/6051493324921171/?d=n
- https://www.harn.co.th/articles/3d-printing-in-business/
- https://www.iconbuild.com/updates/3strands-brings-more-3d-printed-homes-by-icon-to-austin-market
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่ www.facebook.com/Wazzadu
ผู้เขียนบทความ
ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่
Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ
หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ... อ่านเพิ่มเติม