สิงคโปร์ออกแบบผังเมืองแห่งอนาคตด้วยพื้นที่สีเขียว

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันทำให้หลายๆ ประเทศกลับมาทบทวนถึงความสำคัญของพื้นที่สีเขียวแม้แต่ในเมืองใหญ่เองก็หันมาใส่ใจเรื่องการเพิ่มสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในการวางผังเมืองเพื่อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ประเทศสิงคโปร์ก็เป็นหนึ่งประเทศที่มีแผนพัฒนาผลักดันและส่งเสริมการจัดการผังเมืองใหม่ที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียว จนปัจจุบันมีมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เป็นตัวอย่างที่ดีของการอยู่ร่วมกันระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ได้อย่างลงตัว

The Gardens by the Bay "Supertrees" tower ภาพจาก https-//www.gardenclinic.com.au/how-to-grow-article/singapore.jpeg

“City in a Garden” เป็นวิสัยทัศน์ที่ริเริ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 โดยอดีตนายกรัฐมนตรี ลี กวนยู ซึ่งต้องการพัฒนาประเทศสิงคโปร์ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาดสะอ้าน และเต็มไปด้วยความเขียวขจีของต้นไม้ใบหญ้า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน นับแต่นั้นมา รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้วางกลยุทธ์การออกแบบผังเมืองให้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น ผ่านการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่ยั่งยืน การอาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้

โดยในปี ค.ศ. 1975 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมอุทยานและนันทนาการ (Parks and Recreation Department) ภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงการพัฒนาแห่งชาติ (Ministry of National Development) เพื่อทำหน้าที่ดูแลพื้นที่สีเขียวในเมืองในทุกแง่มุม โดยเริ่มตั้งแต่การปลูกต้นไม้ริมถนน มีการบัญญัติกฎหมายให้ที่อยู่อาศัยอย่างน้อย 85% ของประชากรทั้งหมด ตั้งอยู่ห่างจากสวนไม่เกิน 400 เมตร ให้ผู้คนสามารถเดินมาพักผ่อนได้จากบ้านได้นั่นเอง ทำให้ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่ “เขียว” ที่สุดในโลก โดยมีอัตราความหนาแน่นของต้นไม้ 29.3% จากพื้นที่ทั้งหมด

Funan (Credit- Urban Redevelopment Authority)

ในปี 2017 ได้เกิดโครงการ LUSH 3.0 ที่พื้นที่สีเขียวในเมืองถูกออกแบบได้ในหลากหลายมิติมากยิ่งขึ้น โดยนักพัฒนาสามารถสร้างกำแพงสีเขียว ฟาร์มบนดาดฟ้า สวนลอยฟ้า หรือหลังคาสีเขียว มาทดแทนพื้นที่สีเขียวที่สูญเสียไปจากการพัฒนาที่ดินได้ ซึ่งแนวคิดนี้ไม่เพียงสร้างความสวยงามน่ามองให้กับตัวอาคารเท่านั้น แต่ยังช่วยลดอุณหภูมิความร้อนได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ศูนย์การค้า Funan ซึ่งมีฟาร์มในเมืองบนชั้นดาดฟ้าให้คนสามารถแวะมาเยี่ยมชมได้ โครงการ LUSH 3.0 ยังได้กำหนดอัตราส่วนพื้นที่สีเขียว (Green Plot Ratio) ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความหนาแน่นของต้นไม้ในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น ในพื้นที่ที่มีอาคารกระจุกตัวอยู่เบียดเสียดรวมกัน ก็จะยิ่งต้องมีพื้นที่สีเขียวลอยฟ้ามากขึ้นตามลำดับไปด้วย

Lee Kong Chian Natural History Museum (Credit- Finbarr Fallon)

จากวิสัยทัศน์ของ ลี กวนยู ในวันนั้น สิงคโปร์ได้พัฒนาจาก ‘Garden City’ สู่การเป็น ‘City in a Garden’ ในปัจจุบัน และตอนนี้ประเทศแห่งนี้กำลังก้าวสู่การเป็นเมืองท่ามกลางธรรมชาติ หรือ ‘City in Nature’ พื้นที่สีเขียวอันอุดมสมบูรณ์ของสิงคโปร์ที่เราเห็นในวันนี้เป็นผลงานความร่วมมืออันยาวนานหลายสิบปีจากน้ำพักน้ำแรงของทั้งชุมชนรัฐบาลและพันธมิตรในอุตสาหกรรม

(Fort Canning and Jubilee Park)บันไดวนที่สวนสาธารณะฟอร์ทแคนนิง

นอกจากโครงการ LUSH แล้ว ทางสิงคโปร์ยังพยายามให้พื้นที่สีเขียวเป็นส่วนหนึ่งของทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เฉพาะสวนสาธารณะเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตามข้างถนน บนฟุตบาท ภายในอาคารสาธารณูปโภค ไปจนถึงสถานที่ท่องเที่ยว เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าธรรมชาติสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่เต็มไปด้วยอาคารสูง ทำให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงความเขียวชอุ่มของธรรมชาติ และตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสภาพแวดล้อมในเมืองได้นั่นเอง

อ้างอิงจาก

  • https://thepeople.co/singapore-tourism/
  • https://genxploremore.com/singapore-photo-gallery

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่


Material and Design Innovation

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ