วิธีแก้ปัญหาคอนกรีตแตกร้าวจากเหล็กเสริมเป็นสนิมสามารถทำได้กี่แบบ แต่ละรูปแบบต่างกันอย่างไร
การเกิดสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีตจริงๆ แล้วมีหลายสาเหตุด้วยกันแต่มี 2 กรณีที่พบเจอได้บ่อยนั่นคือ
- คลอไรด์ คอนทามิเนชั่น (Chloride contamination) คือการที่คลอไรด์ (Chloride) แพร่ผ่านคอนกรีตเข้าไปทำลายออกไซด์ฟิล์มของเหล็ก และเมื่อน้ำหรือความชื้นในอากาศแทรกซึมผ่านเข้าไปจนถึงเหล็กก็จะเกิดปฏิกิริยาทำให้เกิดสนิม
- คาร์บอเนชั่น (Carbonation) คือการที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) แทรกผ่านตามรอยแตกหรือซึมผ่านคอนกรีตจนถึงเหล็กเสริมและจะทำปฏิกิริยากับเนื้อคอนกรีตทำให้ความเป็นด่างของคอนกรีตลดลง ส่งผลให้ออกไซด์ฟิล์มของเหล็กถูกทำลายและไม่สามารถป้องกันการเกิดสนิมได้
เมื่อเราทราบสาเหตุของปัญหาดังกล่าว เราจึงสามารถกำหนดวิธีป้องกันสนิมของเหล็กเสริมได้ 2 วิธี คือ
- การป้องกันหรือชะลอให้คลอไรด์ (เกลือ) แพร่ผ่านคอนกรีต
- ยอมให้คลอไรด์แพร่ผ่านคอนกรีตแต่ใช้วิธีป้องกันสนิมด้วยการติดตั้ง Concrete Anode
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของวิธีการป้องกันสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตทั้ง 2 แบบ
1. การป้องกันหรือชะลอให้คลอไรด์แพร่ผ่านคอนกรีต สามารถทำได้ด้วยการใช้สีทาภายนอกคุณภาพสูงที่ช่วยชะลอความชื้นไม่ให้แพร่ผ่านคอนกรีต หรือทาเคลือบผิวคอนกรีตด้วยน้ำยาเคลือบผิวที่มีคุณสมบัติทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอความชื้นและเกลือให้ซึมผ่านคอนกรีตได้ยากขึ้น
- ข้อดี วิธีการนี้สามารถทำงานได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว เป็นการช่วยยืดระยะเวลาที่คลอไรด์จะเข้าถึงเหล็กเสริมและทำปฏิกิริยาจนเกิดสนิม
- ข้อเสีย หากเกิดการแตกร้าวของคอนกรีตหรือสีที่ทาอยู่เกิดการหลุดล่อน ความชื้นและคลอไรด์จะสามารถแทรกเข้าไปตามรอยแตกดังกล่าวได้ง่าย และทำให้ไม่สามารถแก้ไขได้
2. ยอมให้คลอไรด์แพร่ผ่านคอนกรีตแต่ใช้วิธีป้องกันสนิมด้วยการติดตั้ง Concrete Anode (Sacrificial Anode)
- ข้อดี เป็นการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจาก Zinc Anode ที่ถูกห่อหุ้มด้วย Alkali-Activated Mortar โดยอาศัยความต่างศักย์ระหว่าง Zinc Anode และเหล็กเสริมในคอนกรีตเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าในการป้องกันสนิม ทำให้ไม่ต้องมีการบำรุงรักษาระหว่างการใช้งาน
- ข้อเสีย แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในขั้นตอนการก่อสร้างแต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ซ่อมแซม หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่เหล็กเสริมเป็นสนิมแล้วก็นับว่าคุ้มกว่ามาก
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สาเหตุของการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาคอนกรีตแตกร้าวได้ที่ https://www.wazzadu.com/article/5624
การใช้ Sacrificial Anode นั้นสามารถติดตั้งได้ทั้งกับโครงสร้างใหม่ และงานซ่อมแซมคอนกรีตที่แตกร้าวจากแรงดันของสนิมที่เหล็กเส้นหรือปัญหาคอนกรีตระเบิด ปูนระเบิด ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ถ้าเป็นโครงสร้างใหม่สามารถติดตั้งได้ทันทีโดยแนะนำให้มีการคำนวณหาตำแหน่งการติดตั้งจากวิศวกรโดยตรง ส่วนการติดตั้งหน้างานนั้นสามารถใช้ช่างทั่วไปได้ ในกรณีที่ซ่อมแซมเหล็กโครงสร้างเดิมที่ได้รับความเสียหาย หากเหล็กโครงสร้างเดิมเสียหายรุนแรงให้ทำการตัดทาบเหล็กใหม่ ติดตั้งคอนกรีตแอโนดจากนั้นจึงค่อยทำการฉาบปูนปิด เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยไม่ต้องกังวลว่าโครงสร้างจะพังทลาย
ในการประยุกต์ใช้ที่หน้างานเราสามารถใช้หลายวิธีผสมกันได้ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยืดอายุการใช้งานของคอนกรีตได้ยาวนานมากขึ้น โดยทางผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เลือกใช้คอนกรีตแอโนดไปควบคู่กับการใช้สีป้องกันสนิม เพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้นและช่วยยืดอายุของคอนกรีตแอโนด
หากท่านใดสนใจว่าคอนกรีตแอโนดนั้นมีคุณสมบัติและการใช้งานอย่างไรสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wazzadu.com/article/5603
และสำหรับคุณสมบัติที่น่าสนใจของสีเคลือบกันสนิมนั้นเรา Wazzadu.com จะนำมาเล่าให้ฟังกันในคราวต่อไปครับ
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
>> TMP-ไทยมารีนโพรเทคชั่น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0909406691
อีเมล์ sales@thaimp.co.th
#TMP #ThaiMarineProtection #SacrificialAnode #CathodicCorrosionProtection #ConcreteAnode #RienforcedConcreteStructure #SpecialCoating #Biotough+ #กันสนิม #ป้องกันสนิม #เหล็กเสริมคอนกรีต #เหล็กเสริม #สีป้องกันสนิม #วิธีแคโทดิก #คอนกรีตแตกร้าว #คอนกรีตระเบิด #คอนกรีตแอโนด #สังกะสีกันกร่อนสำหรับป้องกันสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต #มอร์ตาร์ควมคุมการกัดกร่อนของเหล็กโครงสร้างในคอนกรีต #ไทยมารีนโพรเทคชั่น
-
มอร์ต้าร์ควมคุมการกัดกร่อนของเหล็กโครงสร้างในคอนกรีต (Concrete Anode)"
โครงสร้าง อุปกรณ์โครงสร้างอื่นๆ
1,500 บาท/ตารางเมตร
Online
ผู้เขียนบทความ
ปัจจุบัน TMP (บริษัท ไทยมารีนโพรเทคชั่น จำกัด) ได้สร้างโรงงานแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่และศักยภาพในการผลิตสูงขึ้น เพื่อรองรับต่อความต้องการใช้งานโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) ของลูกค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการในการป้องกันสนิมโครงสร้างโลหะของลูกค้าให้มากขึ้น TMP จึงเริ่มทำการขยายธุรกิจจากผู้ผลิตโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) เพียงอย่างเดียว ไปสู่ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ป้องกันสนิมครบวงจร (Corrosion Control Business) ภายในอนาคต
555/8 ม.12
บางภาษี, บางเลน
Nakhon Pathom 73130
ไทย ... อ่านเพิ่มเติม