การทาสีป้องกันสนิมจะต้องเตรียมพื้นผิวและมีเทคนิคในการทาอย่างไร เพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน
การเลือกใช้โครงสร้างเหล็กหรือส่วนประกอบต่างๆ ที่ผลิตจากเหล็กสำหรับงานก่อสร้างในประเทศไทยนั้นย่อมต้องเจอกับปัญหาเหล็กเป็นสนิมเนื่องจากปัจจัยเรื่องความชื้น น้ำในดินที่ปนเปื้อนคลอไรด์สูง หรือตำแหน่งที่ตั้งโครงการที่อยู่ติดกับชายทะเล สำหรับคอนเทนต์นี้แบรนด์ TMP-ไทยมารีนโพรเทคชั่น ได้รวบรวมปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสนิมในงานเหล็กพร้อมวิธีแก้ไขมาให้ศึกษา และนำไปประยุกต์ใช้งานต่อได้ ดังนี้ครับ
สีป้องกันสนิม มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร
ผลิตภัณฑ์สีป้องกันสนิมสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. สีป้องกันสนิมทั่วไป SG Paint (SGP001)
มีคุณสมบัติ และวิธีการนำไปใช้งาน ดังนี้
- เป็นสีป้องกันสนิม Moisture Cured Polyurethane ที่สามารถทาบนพื้นผิวแห้ง ทาบนสนิมผิวและทาทับสีเดิมได้
- ด้วยเทคโนโลยีเม็ดอะลูมิเนียม ถูกออกแบบมาให้มีคุณภาพสูงในการป้องกันการกัดกร่อนและการเกิดสนิม ทนสารเคมี และป้องกันการถูกทำลายจากรังสียูวี
- เตรียมพื้นผิวเพียงเล็กน้อยโดยไม่ต้องพ่นทรายก่อนการทาสี เนื่องจากโครงสร้างอาจมีข้อจำกัดในการเตรียมพื้นผิวด้วยการพ่นทราย (ยกเว้นเหล็กใหม่ต้องเตรียมผิวด้วยการพ่นทราย)
- ลักษณะการนำไปใช้งาน ควรทาบนพื้นผิวที่แห้งสนิท ด้วยความหนาชั้นแรก 75 ไมครอน และมีความหนารวม DFT 150 ไมครอน
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เนื่องเวลาในการทาสีและแห้งตัวสมบูรณ์ในแต่ล่ะชั้นน้อยกว่า
- ทาได้หลายพื้นผิว เช่น เหล็กชุบสังกะสี อลูมิเนียม คอนกรีต ไม้ หรือ พลาสติก
- เหมาะกับงานป้องกันสนิมในงานโครงสร้างทั่วไป โครงสร้างที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงจากน้ำเค็ม หรือ มีไอทะเล โครงสร้างนอกชายฝั่ง อาคาร สะพาน โรงงานอุตสาหกรรม และพื้นที่เมือง
2. สีป้องกันสนิม ที่สามารถทาบนพื้นผิวเปียก หรือ ทาใต้น้ำได้ SG Paint (SGU201)
มีคุณสมบัติ และวิธีการนำไปใช้งาน ดังนี้
- เป็นสีป้องกันสนิม Epoxy Coating ที่สามารถทาบนพื้นผิวเปียกได้
- เนื้อสีมีความเเข็งเเรง ทนสารเคมีได้
- ลักษณะการนำไปใช้งาน สามารถทาลงบนพื้นผิวที่โดนละอองไอน้ำ พื้นผิวที่เปียกชื้น หรือ พื้นผิวที่อยู่ใต้น้ำตลอดเวลาได้ทันที มีขั้นตอนการเตรียมผิวที่ง่ายเพียงแค่ขัดสนิมที่มีลักษณะแผ่น หรือสีเดิมที่ไม่ยึดเกาะผิวเหล็กออก และในระหว่างการทาก็ไม่จำเป็นต้องหยุดการทำงานในบริเวณดังกล่าว ทำให้กระบวนการทำงานไม่สะดุด ไม่เสียเวลา
- ใช้ได้ทั้งงานโครงสร้างทั่วไป งานระบบสาธารณูปโภค และอาคาร ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง ตั้งอยู่ในพื้นที่แหล่งน้ำ หรือ พื้นที่อุตสาหกรรมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสภาวะเปียกชื้นได้
การเตรียมพื้นผิวเหล็ก
การเตรียมพื้นผิวเหล็ก สามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ หลักๆ ดังนี้
- การเตรียมพื้นผิวเหล็กใหม่ ต้องนำมาพ่นทรายเสียก่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะระหว่างเนื้อสีป้องกันสนิมกับพื้นผิวเหล็ก จากนั้นเช็ดทำความสะอาดฝุ่น และคราบสกปรกต่างๆ ให้เรียบร้อย
- การเตรียมพื้นผิวเหล็กเก่า หรือ กรณีทาทับสีเดิม ต้องใช้กระดาษทรายขัดเปิดผิวกำจัดคราบสนิมออกให้หมดก่อน จากนั้นเช็ดทำความสะอาดฝุ่น และคราบสกปรกต่างๆ ให้เรียบร้อย แล้วต้องรีบทาสีกันสนิมภายใน 4 ชั่วโมง เนื่องจากเหล็กมีโอกาสเกิดคราบสนิมขึ้นอีก
ข้อแนะนำในการทาสีป้องกันสนิม
การทาสีป้องกันสนิมสำหรับสีทั่วไปในท้องตลาด ขั้นแรกต้องมีการเตรียมผิวด้วยการขัดสนิมและคราบสกปรกต่างๆ ออกให้หมดก่อน จากนั้นจึงพ่นทรายเพื่อช่วยในการยึดเกาะ แล้วจึงทาสีรองพื้น เมื่อทาสีรองพื้นแล้วต้องทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 6-8 ชั่วโมง ทาซ้ำ 2 เที่ยว จากนั้นจึงทาสีทับหน้าอีกประมาณ 2 เที่ยว แต่ละเที่ยวต้องรอให้สีแห้งประมาณ 6-8 ชั่วโมง เช่นกัน
แต่สำหรับสีป้องกันสนิม SG Paint กลับช่วยลดเวลา และขั้นตอนในการทาได้มากกว่าปกติ โดยมีข้อแนะนำในการทาสีป้องกันสนิม SG Paint แต่ละประเภท ดังนี้
- สีป้องกันสนิมทั่วไป SG Paint (SGP001) ที่มีเบสเป็นโพลียูริเทน หรือ ที่เรียกว่าสีประเภท Moisture Cured Polyurethane (MCP) ด้วยเทคโนโลยี Aluminium Flake ทำให้มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะพื้นผิวสูง โดยจะต้องทาชั้นแรกก่อนบนพื้นผิวที่แห้งสนิท ที่ความหนา 75 ไมครอนเป็นอย่างน้อย แล้วรอให้สีแห้ง 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงทาชั้นที่สอง โดยให้มีความหนารวมอย่างน้อย 150 ไมครอน
- สีป้องกันสนิม ที่สามารถทาบนพื้นผิวเปียก หรือ ทาใต้น้ำได้ SG Paint (SGU201) ที่มีเบสเป็นอีพอกซี หรือ ที่เรียกว่าสีประเภท Epoxy Coating สามารถทาลงบนพื้นผิวที่โดนละอองไอน้ำ พื้นผิวที่เปียกชื้น หรือ พื้นผิวที่อยู่ใต้น้ำตลอดเวลาได้ทันที โดยไม่ต้องเตรียมพื้นผิวเหมือนการทาป้องกันสนิมทั่วๆ ไป และในระหว่างการทาก็ไม่จำเป็นต้องหยุดการทำงานในบริเวณดังกล่าว ทำให้กระบวนการทำงานไม่สะดุด ไม่เสียเวลา
จะเห็นว่า สีป้องกันสนิม SG Paint นั้นช่วยลดขั้นตอน ระยะเวลาการทำงาน รวมถึงค่าแรงในการทำงานลงไปได้มากเลยทีเดียว
เกล็ดความรู้เพิ่มเติม หลังคาเมทัลชีททาสีกันสนิมได้หรือไม่
สีกันสนิมทั่วไปในท้องตลาดนั้นถูกผลิตมาหลากหลายรูปแบบสำหรับใช้กับงานเหล็กแต่ละประเภท เช่น สีสำหรับทาเหล็กใหม่ สีสำหรับทาเหล็กเก่า สีสำหรับทาเหล็กกัลวาไนซ์ หรือเหล็กชุบซิงค์ (เหล็กกัลวาไนซ์ หรือเหล็กชุบซิงค์ คือ เหล็กที่ผ่านการเคลือบป้องกันสนิมด้วยซิงค์ (สังกะสี) ซึ่งมีหลากหลายกรรมวิธี ไม่ว่าจะเป็นการจุ่มร้อน การทาเคลือบ ไปจนถึงการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้พื้นผิวเหล็กมีความมันวาว) ซึ่งสีกันสนิมสำหรับเหล็กแต่ละประเภทนี้มีเงื่อนไขการใช้งาน และอัตราส่วนในการผสมสีที่แตกต่างกันไป ผู้ใช้งานต้องศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนเลือกซื้อ หากใช้งานผิดประเภทจะไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
สีกันสนิม SG Paint สามารถใช้ทาลงบนพื้นผิวเหล็กได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กเก่า เหล็กใหม่ เหล็กชุบซิงค์ เช่น โครงหลังคา และยังใช้ทาบนแผ่นอลูซิงค์หรือหลังคาเมทัลชีทที่มีการเคลือบผิวด้วยอลูมิเนียมและซิงค์ได้ และจากผลการทดสอบพบว่าการเลือกใช้สีกันสนิม SG Paint ทาลงบนหลังคาเมทัลชีทนั้นมีช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงลงได้ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 090 9406691
อีเมล์ sales@thaimp.co.th
#TMP #ThaiMarineProtection #SacrificialAnode #CathodicCorrosionProtection #ConcreteAnode #RienforcedConcreteStructure #SpecialCoating #Biotough+ #กันสนิม #ป้องกันสนิม #เหล็กเสริมคอนกรีต #เหล็กเสริม #สีป้องกันสนิม #วิธีแคโทดิก #คอนกรีตแตกร้าว #คอนกรีตระเบิด #คอนกรีตแอโนด #สังกะสีกันกร่อนสำหรับป้องกันสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต #มอร์ตาร์ควมคุมการกัดกร่อนของเหล็กโครงสร้างในคอนกรีต #ไทยมารีนโพรเทคชั่น
ผู้เขียนบทความ
ปัจจุบัน TMP (บริษัท ไทยมารีนโพรเทคชั่น จำกัด) ได้สร้างโรงงานแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่และศักยภาพในการผลิตสูงขึ้น เพื่อรองรับต่อความต้องการใช้งานโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) ของลูกค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการในการป้องกันสนิมโครงสร้างโลหะของลูกค้าให้มากขึ้น TMP จึงเริ่มทำการขยายธุรกิจจากผู้ผลิตโลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) เพียงอย่างเดียว ไปสู่ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ป้องกันสนิมครบวงจร (Corrosion Control Business) ภายในอนาคต
555/8 ม.12
บางภาษี, บางเลน
Nakhon Pathom 73130
ไทย ... อ่านเพิ่มเติม