“ตะเกียบกินได้” นวัตกรรมฝีมือคนไทยที่ช่วยลดขยะใช้แล้วทิ้ง

ปัจจุบัน โลกกำลังให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องของสุขภาพที่คนหันมาดูแลตัวเองกันมากขึ้น เมื่อไปทานก๋วยเตี๋ยวตามร้านต่าง ๆ ถ้าไม่ใช้ส้อม ทางร้านก็จะมีตะเกียบให้ บางร้านก็เป็นตะเกียบไม้ที่ใช้แล้วล้างและนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งถ้าตากไม่แห้งจะทำให้เกิดเชื้อราที่ตะเกียบ ซึ่งเมื่อเราใช้แล้วสัมผัสโดนปาก ก็ไม่ดีต่อสุขภาพ บางร้านเป็นตะเกียบไม้ไผ่ที่ใช้แล้วทิ้ง จึงมองว่าเป็นการเพิ่มปริมาณขยะ และทำลายป่าไม้ด้วย

จึงได้เกิดนวัตกรรม “ตะเกียบกินได้” ที่ต้องการช่วยลดปริมาณขยะที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่แต่ละวันมีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค ของการใช้ตะเกียบแบบใช้ซ้ำอาจทำให้เกิดเชื้อราและไม่สะอาด ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้

ภาพจาก

https-//mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000103599

ตะเกียบกินได้ ถูกคิดค้น โดยนายปวัชร เพ็งสุขแสง, นายรชานนท์ แซ่ตั้ง และนางสาวกุลรญา สินถิรมั่น นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ทำสำเร็จภายในระยะเวลาเพียง 8 เดือน เท่านั้น

โดยทำมาจากแป้งข้าวโพด 57% แป้งถั่วเหลือง 30% สารทำให้เกิดความชื้น (INS 422) สารทำให้คงตัว (INS 412) และสารป้องกันการจับเป็นก้อน (INS 470(III)) ซึ่งสารผสมทั้งหมดนี้ไม่เกินค่ามาตรฐาน อย. อีกทั้งยังมีกลิ่นเหมือนน้ำเต้าหู้ รสชาติจืด ทำให้รสชาติอาหารไม่เปลี่ยน

ภาพจาก 

https-//www.chiangmainews.co.th/page/archives/1154954/

ตัวตะเกียบมีลักษณะค่อนข้างแข็ง และหนากว่าตะเกียบทั่วไป โดยมีขนาดความยาว 20 เซนติเมตร ปลายใหญ่และกว้าง 0.9 เซนติเมตร ปลายเล็กกว้าง 0.7 เซนติเมตร และหนา 0.6 เซนติเมตร เมื่อโดนน้ำ บริเวณที่โดนน้ำก็เปื่อยและนิ่มขึ้น จนสามารถทานไปพร้อมกับอาหารได้ หรือนำไปทิ้งก็ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ

ภาพจาก

https-//www.chiangmainews.co.th/page/archives/1154954/

สามารถใช้งานได้ในสภาวะปกติ เช่น ใช้รับประทานก๋วยเตี๋ยว จะมีระยะเวลาการใช้งานประมาณ 10 นาทีเป็นอย่างต่ำ ส่วนที่โดนน้ำหรือนำไปจุ่มน้ำในอุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส สามารถทนความร้อนได้ประมาณ 3 นาที

ทั้งนี้ได้มีเป้าหมายที่จะพัฒนาต่อยอด ด้วยการใส่สารเคลือบป้องกันน้ำ พัฒนารสชาติ และเพิ่มอายุการใช้งานให้มากยิ่งขึ้นด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ

อ้างอิงจาก

  • https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000103599
  • https://www.facebook.com/449802885073962/posts/4315800235140855/

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่


Material and Design Innovation

ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ (Wazzadu Low Carbon Material Library) สำหรับงานสถาปัตยกรรม โดยรวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ...

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ