รีไซเคิลเศษอาหารเป็นวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงกว่าคอนกรีต...และยังกินได้!!

นวัตกรรมวัสดุสีเขียวที่ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นครับ โดยนักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว โดยคุณ Yuya Sakai ได้นำเศษอาหารเหลือทิ้งมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้เป็นวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงกว่าคอนกรีต แต่เจ๋งไปอีกขั้นตรงที่ยังคงกินได้และยังอร่อยอีกด้วย

ภาพจาก

https-//www.trtworld.com/turkey/turkey-launches-food-loss-and-waste-reduction-campaign-36486

ในปัจจุบันการสร้างระบบหมุนเวียนให้แก่อาหาร เช่น การเปลี่ยนขยะจากร้านอาหารให้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนขยะชีวภาพให้เป็นเชื้อเพลิงหรือพลาสติกนั้นได้ถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และรู้หรือไม่ว่า...ในแต่ละปีทั่วโลกนั้นประสบปัญหาการทิ้งขยะอาหารถึง 1.3 พันล้านตัน!!! ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารที่มีปัญหาด้านการผลิต เป็นอาหารเหลือหรือถูกทิ้งเพราะหมดอายุ

ภาพจาก

CREDIT- CLARA BASTIAN / ADOBE STOCK

และในตอนนี้ทีมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้ก้าวไปอีกขั้นโดยการเปลี่ยนเศษอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ให้กลายเป็นของที่มีประโยชน์ แต่ยังสามารถกินได้ โดยแนวคิดพื้นฐานของการวิจัยนี้ก็คือ การนำเอาเศษวัสดุทั่วไปมาผสมกับสาหร่ายทะเลแล้วแปรรูปเป็นวัสดุที่แข็งแรงกว่าคอนกรีต แต่ยังคงรสชาติเหมือนวัสดุดั้งเดิมไว้อยู่

โดยได้นำเศษอาหาร เช่น สาหร่าย ใบกะหล่ำปลี ส้ม หัวหอม ฟักทอง และเปลือกกล้วย นำมาทำให้แห้งด้วยสุญญากาศแล้วบดให้เป็นผงละเอียด จากนั้นนำผงมาผสมกับน้ำและเครื่องปรุง จากนั้นกดลงในแม่พิมพ์ที่มีอุณหภูมิสูง

ภาพจาก

https-//www.surfacesreporter.com/articles/102684/researchers-turn-cabbage-into-material-strongest-than-concrete-that-retains-its-taste-institute-of-industrial-science-university-of-tokyo-sr-materials

ผลลัพธ์ที่ได้คือได้กลายเป็นวัสดุหลายประเภท ซึ่งบางชนิดมีกำลังดัด (Bending Strength) สูงกว่าคอนกรีตแถมยังกินได้และยังคงรสชาติไว้ดังเดิม นอกจากนี้ยังต้านการเกิดราและการเน่าได้ประมาณ 4 เดือน ที่สำคัญจากการทดสอบด้วยการใส่น้ำตาลและเกลือเพิ่มขึ้นก็ไม่ส่งผลต่อความแข็งแรงของวัสดุอีกด้วย อย่างไรก็ตามการเพิ่มส่วนประกอบอื่นๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลอง ซึ่งจากเท่าที่มีการทดสอบพบว่า ใบกะหล่ำปลีจีนทำให้วัสดุสามารถรับแรงได้มากกว่าคอนกรีตถึงสามเท่า

หากการวิจัยชิ้นนี้สำเร็จ เราก็อาจจะเห็นได้วัสดุใหม่ๆ ที่แข็งแรงกว่าคอนกรีตมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเป็นวัสดุอื่นๆ อีกมากมายและยังช่วยลดปัญหาขยะอาหารในอนาคตอีกด้วย

อ้างอิงจาก

  • https://newatlas.com/materials/food-scraps-recycle-material-stronger-concrete-edible/?fbclid=IwAR13GYWiz0SVJA82YmHoWrCoIAqVCvJiu9R7L0zD8eet-2o7OPLQZ0u8a0c
  • http://www.iis.u-tokyo.ac.jp/en/news/3567/?fbclid=IwAR1uWJsg1fbnulCHEno7_0jy85KiWVCFWFM5Ip434EhHXRBE-k2dsg6BPLo

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ

สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่  www.facebook.com/Wazzadu

ติดตามเนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจของ Wazzadu Green ได้ที่


Material and Design Innovation

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ