"จริงหรือไม่? ฉนวนใยแก้วเป็นต้นเหตุของมะเร็ง ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับฉนวนใยแก้ว"

ไขข้อสงสัยที่ใครหลายคนรู้สึกไม่ไว้วางใจต่อ “ฉนวนใยแก้ว” เพราะเข้าใจว่าเป็นวัสดุที่เป็นต้นเหตุของมะเร็ง วันนี้แบรนด์ Microfiber ผู้ผลิตฉนวนใยแก้วเจ้าแรกในอาเซียนมีคำตอบให้ อันดับแรกเรามาทำความรู้จักฉนวนใยแก้วกันก่อน แท้จริงแล้ววัสดุตัวนี้ถูกผลิตจากซิลิกาซึ่งเป็นวัตถุดิบจากแก้ว ผ่านกระบวนการหลอมละลายจนขึ้นรูปใหม่เป็นเส้นใย จึงมีคุณสมบัติเด่นที่สามารถดูดซับเสียงและป้องกันความร้อนได้ และที่สำคัญมีความแข็งแรงมาก

แล้วเรื่องมันเป็นไงมาไง ถึงเกิดกระแสได้ว่าฉนวนใยแก้วเป็นต้นเหตุของมะเร็ง ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่า มีข้อมูลที่ทำให้หลายคนสับสนเกี่ยวกับ ฉนวนใยแก้วเป็นอันตรายเช่นเดียวกับแร่ใยหิน (Asbestos) ซึ่งแร่ชนิดนี้นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างหลากหลาย เพราะเหนียวทนทาน ทนความร้อนได้ดี ไม่นำความร้อน และไม่นำไฟฟ้า

ซึ่งทั้งที่จริงแล้ว ฉนวนใยแก้วกับแร่ใยหิน(Asbestos) เป็นวัสดุที่มีโครงสร้างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วัสดุแร่ใยหิน(Asbestos) จะถูกประกอบขึ้นจากเส้นใยที่มีโครงสร้างเป็นรูปดาวและมีขนาดเล็กกว่า 3 ไมครอน ซึ่งขนาดที่เล็กนี้ จึงสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ ผ่านการสูดหายใจลงไปสู่ปอด เมื่อลงสู่ปอดในปริมาณมากจึงเป็นสารก่อมะเร็งซึ่งอันตรายต่อชีวิต นอกจากนี้ยังฟุ้งกระจายได้ง่ายในอากาศ เป็นที่มาของโรคอีกหลายชนิด เช่น โรคปอดอักเสบ โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น

ต่างกับฉนวนใยแก้วจะมีโครงสร้างเป็นท่อนทรงกระบอกที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะเข้าปอดได้ นอกจากนี้ฉนวนใยแก้วในท้องตลาดยังได้การรองรับจากสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ขององค์กรอนามัยโลก ผ่านการแบ่งกลุ่มสารก่อมะเร็งไว้ทั้ง 5 กลุ่ม

กลุ่ม 1 – ยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Carcinogenic to humans)

กลุ่ม2A – น่าจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Probably carcinogenic to humans)

กลุ่ม2B – อาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Possibly carcinogenic to humans

กลุ่ม3 – ไม่จัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Not classifiable as to its carcinogenicity to humans)

กลุ่ม4 – น่าจะไม่เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Probably not carcinogenic to humans)

โดยฉนวนใยแก้วถูกจัดอยู่อยู่ในกลุ่มที่ 3 ไม่จัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Not Classifiable as a Human Carcinogen)  เป็นการยืนยันได้ว่า ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เป็นมิตรต่อสุขภาพและยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรป อเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก

สรุปทุกข้อสงสัย เคลียร์ให้ชัดผ่านข้อมูลการรองรับระดับโลก เวลานี้เราคงเข้าใจกันอย่างลึกแล้วว่า ฉนวนใยแก้ว ไม่เป็นต้นเหตุของมะเร็ง แบรนด์ Microfiber ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญวัสดุฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง ขอเป็นอีกเสียงที่ช่วยยืนยันผ่านงานเชิงพาณิชย์และงานอุตสหกรรมมากมายว่า ฉนวนใยแก้ว ไม่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง และยังมีความปลอดภัยต่อชีวิต

#Wazzadu #Microfiber #ฉนวนใยแก้ว #ฉนวนกันความร้อน

ถ้าหากท่านใดที่สนใจฉนวนกันความร้อนหลังคา

สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่

Tel : 095-494-9917 หรือ 02-315-5500

Website : www.microfiber.co.th

สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
Microfiber Contact

Nature of Business

บริษัท ไมโครไฟเบอร์อุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย บริหารงานโดยคนไทยทั้งสิ้นบริษัทเริ่มดำเนินกิจการโดยสร้างโรงงานขึ้นที่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างปี พ.ศ. 2519 – 2520 เริ่มทำการผลิตสินค้าได้ในปี พ.ศ. 2521

ฉนวนใยแก้ว “ไมโครไฟเบอร์” ได้รับการพัฒนาด้านกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศว่า สินค้าไมโครไฟเบอร์ รักษาคุณภาพที่ดีตลอดมา จนได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากกระทรวงอุตสาหกรรมของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา และฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานและได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากลจากต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง “ไมโครไฟเบอร์” ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร โดยเป็นสมาชิก LEED (Leadership in Energy and Environment Design) จาก U.S. Green Building Council ประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง “ไมโครไฟเบอร์” ได้มีการพัฒนาด้านกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพ มีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ฉนวนใยแก้ว “ไมโครไฟเบอร์” จึงได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเครื่องหมาย ฉลากเขียว (Green Label) และฉลากลดคาร์บอน (Carbon Reduction Label) จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยอีกด้วย ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ