เทคนิคการนำฉนวนกันเสียงและดูดซับเสียง (ชนิดแผ่น) ไปใช้ในงานป้องกันเสียงรบกวน ในส่วนต่างๆของงานสถาปัตยกรรม

ฉนวนกันเสียง ถือเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้ผู้คนในห้องสามารถมีสมาธิกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เพราะเสียงภายนอกไม่สามารถเข้ามารบกวน ในขณะเดียวกันเสียงภายในก็ไม่หลุดเล็ดลอดออกไปได้ วันนี้แบรนด์ Microfiber จะมาแนะนำวัสดุฉนวนกันเสียง 2 รุ่นพร้อมเทคนิคการนำฉนวน ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในส่วนต่างๆของงานสถาปัตยกรรมภายใน

ฉนวนกันเสียงที่ดี ที่ถูกออกแบบอย่างถูกต้องจะช่วยลดปัญหาด้านมลภาวะทางเสียงให้หมดไป ซึ่งฉนวน 2 รุ่น ได้แก่ รุ่น Noizestop และ รุ่น Noizelezz ของแบรนด์ Microfiber สามารถแก้ไขปัญหาด้านเสียงได้อย่างตรงจุดและมีคุณสมบัติเด่นที่คล้ายคลึงกัน แต่การนำไปใช้ให้ตอบโจทย์อย่างเหมาะสม ต้องเริ่มจากโจทย์ของการติดตั้ง ว่าต้องการเน้นไปที่การลดเสียงสะท้อน หรือเก็บเสียงไม่ให้ส่งผ่านไปอีกห้อง โดยทั้ง 2 รุ่น นี้เหมาะกับงานที่นำไปติดตั้งในโครงสร้างผนังทั้งคู่

รุ่น Noizelezz จะเป็นแผ่นอะคูสติกบุผนังถูกออกแบบมาอย่างสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน ตัวรอบๆ ของวัสดุถูกหุ้มด้วยผ้าแก้วชนิดพิเศษทั้ง 5 ด้าน จึงทำให้มีความแข็งแรงทนทาน เนื้อฉนวนไม่อมน้ำ (Non Water Absorption) ไม่ลุกติดไฟ ภายในโครงสร้างมีรูพรุนและโพรงอากาศเล็กๆ จำนวนมากจึงช่วยลดการสะท้อนของเสียง ช่วยดูดซับเสียงและลดเสียงสะท้อนก้องภายในห้อง เช่นเดียวกับรุ่นของ Noizestop ที่ถูกออกแบบมาโดยมีคุณสมบัติเด่นคือป้องกันการส่งผ่านเสียงจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง

การออกแบบห้องที่ต้องการลดเสียงสะท้อน และป้องกันเสียงหลุดลอดออกไป ต้องผ่านการทดสอบและได้มาตรฐาน ซึ่งทั้ง 2 รุ่น ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีความสามารถในการดูซับเสียงได้ดีด้วยค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) ที่มาก ซึ่งค่า NRC เป็นค่าที่ระบุความสามารถการดูดซับเสียงของวัสดุ ในรุ่นของ Noizelezz ในขณะเดียวกันรุ่น Noizestop ได้ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีค่า STC (Sound Transmission Class) ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่บ่งบอกได้ว่ามีความสามารถในการกั้นเสียงได้อย่างดี

 

ทั้งนี้เนื้อฉนวนของทั้ง 2 รุ่นยังผลิตตามมาตรฐานมอก 486/2527, 487/2526, มาตรฐานสากล ASTM, ได้รับฉลากเขียว (Green Label)

การติดตั้งฉนวนกันเสียงและดูดซับเสียง (ชนิดแผ่น) นั้นสามารถนำไปใส่ในโครงสร้างผนังได้ทุกประเภทอาทิเช่นผนังยิปชั่ม ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ ผนังสมารท์บอร์ด ผนังอิฐมอญ ผนังอิฐมวลเบา ผนังไม้ ที่ต้องการดูดซับเสียงและลดเสียงสะท้อน หรือป้องกันการส่งผ่านเสียงจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง

สามารถนำไปใช้งานกันเสียง และดูดซับเสียงในส่วนผนังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ห้องประชุม ห้องโฮมเธียร์เตอร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องฟังเพลง ห้องบันทึกเสียง ห้องซ้อมดนตรี ห้องเครื่องจักร โรงยิม หรือแม้กระทั่งโรงภาพยนต์เป็นต้น

เสียงที่หูของผู้ฟังได้ยินนั้น อาจมีประสิทธิภาพลดลงไป หรือมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผู้ฟังจะเพลิดเพลินอยู่กับความสุนทรีย์ หรือมีสมาธิการทำงาน รวมไปถึงตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆในห้องประชุมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับวัสดุดูดซับเสียงเป็นสำคัญถ้าหากใช้วัสดุที่ดูดซับเสียงไม่ดี สิ่งที่กำลังดำเนินไปอยู่นั้นก็ไม่มีความราบรื่น แบรนด์ Microfiber จึงออกแบบฉนวนกันเสียงและดูดซับเสียง (ชนิดแผ่น) ทั้ง 2 รุ่นนี้เพื่อป้องกันเสียงรบกวน ในส่วนต่างๆของงานสถาปัตยกรรมเป็นหลัก

Nature of Business

บริษัท ไมโครไฟเบอร์อุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย บริหารงานโดยคนไทยทั้งสิ้นบริษัทเริ่มดำเนินกิจการโดยสร้างโรงงานขึ้นที่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างปี พ.ศ. 2519 – 2520 เริ่มทำการผลิตสินค้าได้ในปี พ.ศ. 2521

ฉนวนใยแก้ว “ไมโครไฟเบอร์” ได้รับการพัฒนาด้านกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศว่า สินค้าไมโครไฟเบอร์ รักษาคุณภาพที่ดีตลอดมา จนได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากกระทรวงอุตสาหกรรมของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา และฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานและได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากลจากต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง “ไมโครไฟเบอร์” ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร โดยเป็นสมาชิก LEED (Leadership in Energy and Environment Design) จาก U.S. Green Building Council ประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง “ไมโครไฟเบอร์” ได้มีการพัฒนาด้านกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพ มีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ฉนวนใยแก้ว “ไมโครไฟเบอร์” จึงได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเครื่องหมาย ฉลากเขียว (Green Label) และฉลากลดคาร์บอน (Carbon Reduction Label) จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยอีกด้วย ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ