การนำฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง (ชนิดม้วน) ไปใช้ในงานกันความร้อนหลังคา งานฝ้าเพดาน และงานท่อลมดูดซับเสียง

วัสดุบางอย่างต่อให้ชื่อเรียกจะเหมือนกัน  แต่การนำเอาไปใช้งานนั้นล้วนแตกต่างกัน เช่นวัสดุที่สำคัญต่อโครงสร้างอาคารอย่าง  “ฉนวนกันความร้อน” ที่มีคุณสมบัติสกัดกั้นความร้อนไม่ให้ส่งผ่านไปยังพื้นที่อื่นๆ ซึ่งหากต้องการให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุด ควรเข้าใจลักษณะของหน้างานที่จะติดตั้งร่วมกับประเภทวัสดุอื่นก่อนเป็นอันดับแรก วันนี้แบรนด์ MicroFiber จะมาแนะนำ ฉนวนกันความร้อนชนิดม้วนที่นำไปใช้กับงานหลังคา งานฝ้าเพดาน และงานท่อลมปรับอากาศ

มาเริ่มกันที่ส่วนบนสุดของอาคารคือ งานหลังคา ควรใช้ฉนวนใยแก้วที่มีประสิทธิภาพการกันความร้อนได้สูง ตัวฉนวนต้องถูกผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน เนื่องจากงานหลังคาเป็นจุดหลักที่รับความร้อนโดยตรงจากดวงอาทิตย์ และสภาวะภายนอกเป็นอันดับแรก วัสดุที่ใช้จึงต้องมีความแข็งแกร่งและทนทานเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นต้องดูดซับเสียงได้เป็นอย่างดี ไม่เกิดความชื้นสะสมเมื่อเกิดฝนตกหนัก ตัวฉนวนไม่ควรสร้างงบประมาณในการซ่อมแซมภายหลังการติดตั้งไปแล้ว

ซึ่งวัสดุฉนวนกันความร้อนชนิดม้วนอย่าง MicroRoof   ได้ผลิตขึ้นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผ่านการรับการรับรองจากมาตรฐานสากลASTM และมาตรฐาน Australian Standards  ว่ามีความสามารถในการสกัดกั้นความร้อน และดูดซับเสียงสําหรับหลังคาได้  เนื้อฉนวนใส่สารพิเศษที่ช่วยลดการอมน้ํา ไม่ดูดซับน้ําและความชื้น อีกทั้งยังปิดผิวด้วยวัสดุปิดผิวจึงทำให้ตัวเนื้องานมีความเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้อย่างสะดวก

เมื่อจบงานหลังคากันไปแล้ว คำถามถัดไปคงอยู่ที่ว่า แล้วฉนวนกันความร้อนแบบไหนที่จะเหมาะกับงานฝ้าเพดาน?

ไม่ว่างานชนิดใดก็ตามที่ต้องนำขึ้นที่สูง การที่วัสดุถูกบรรจุมาอย่างกะทัดรัดจะทำให้งานติดตั้งได้ไว และประหยัดแรงงานมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับ ฉนวนกันความร้อน MicroFiber No.5 Plus (เบอร์5 Plus) ซึ่งเป็นฉนวนใยแก้วชนิดม้วน ที่หุ้มรอบด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ เพื่อป้องกันความร้อนและป้องกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รับประกันอายุการใช้งานนานถึง 10 ปี เหมาะสำหรับนำไปติดตั้งบนฝ้าเพดานสูงทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นฝ้าเพดานแบบที-บาร์ ฝ้าเพดานยิปซั่มฉาบเรียบ หรือฝ้าเพดานกระเบื้องแผ่นเรียบ

ภายในอาคารที่เงียบสงบจะทำให้ผู้ที่อยู่ภายใน อยากใช้เวลาอยู่ให้นานมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมี  Microduct ฉนวนใยแก้วชนิดม้วนที่กันความร้อนมีการต้านทานความร้อนได้สูง เหมาะสำหรับงานท่อลมปรับอากาศ เพราะนอกจากจะช่วยรักษาอุณหภูมิภายในท่อให้คงที่สม่ำเสมอแล้ว ยังเป็นฉนวนที่มีโพรงอากาศเป็นจํานวนมากจึงช่วยดูดซับเสียงกระแสลมในท่อลมปรับอากาศได้ดี อีกทั้งเนื้อฉนวนยังใส่สารพิเศษ Non Water Absorption ที่ช่วยลดการอมน้ำ ดูดซับน้ำและความชื้น และผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ ไม่เป็นชนวนก่อให้เกิดอัคคีภัย

วิธีเลือกใช้วัสดุ ฉนวนกันความร้อน ต้องเลือกให้เข้ากับลักษณะและ ประเภทของการใช้งาน ถึงจะทำให้ฉนวนมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ และประหยัดพลังงานภายในอาคาร พร้อมทั้งแรงงานของผู้คน จากที่กล่าวมาทั้งหมดตัวฉนวนกันความร้อนก็ไม่ได้มีแต่เพียงชนิดม้วนเท่านั้น แต่ยังมีแบบแผ่นซึ่งจะนิยมนำไปติดตั้งกับงานผนังหรืองานที่ไม่ต้องขึ้นพื้นที่สูงมาก เพียงรู้ข้อมูลที่ทาง MicroFiber นำมาฝากกันในวันนี้ก็จะสามารถนำฉนวนกันความร้อนไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม

Nature of Business

บริษัท ไมโครไฟเบอร์อุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย บริหารงานโดยคนไทยทั้งสิ้นบริษัทเริ่มดำเนินกิจการโดยสร้างโรงงานขึ้นที่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างปี พ.ศ. 2519 – 2520 เริ่มทำการผลิตสินค้าได้ในปี พ.ศ. 2521

ฉนวนใยแก้ว “ไมโครไฟเบอร์” ได้รับการพัฒนาด้านกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศว่า สินค้าไมโครไฟเบอร์ รักษาคุณภาพที่ดีตลอดมา จนได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากกระทรวงอุตสาหกรรมของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา และฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานและได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากลจากต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง “ไมโครไฟเบอร์” ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร โดยเป็นสมาชิก LEED (Leadership in Energy and Environment Design) จาก U.S. Green Building Council ประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง “ไมโครไฟเบอร์” ได้มีการพัฒนาด้านกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพ มีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ฉนวนใยแก้ว “ไมโครไฟเบอร์” จึงได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเครื่องหมาย ฉลากเขียว (Green Label) และฉลากลดคาร์บอน (Carbon Reduction Label) จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยอีกด้วย ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ