Cempedak สถาปัตยกรรมที่สร้างจากไม้ไผ่ทั้งหมดบนเกาะในอินโดนีเซีย
Campedak หนึ่งในหมู่เกาะ Riau ของอินโดนีเซีย ที่มีแนวปะการังที่อุดมสมบูรณ์และสิ่งมีชีวิตนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นนากทะเล ฝูงโลมา นกและผีเสื้อมากกว่า 50 สายพันธุ์ หรือแม้กระทั่งหมูป่า
เกาะแห่งนี้ถูกซื้อไว้โดย Andrew Dixon นายธนาคารชาวออสเตรเลีย หลังจากเมื่อปี 2003 เขาได้ซื้อเกาะ Nikoi แถบอินโดนีเซียก่อนสำหรับทำเป็นสถานที่สำหรับบ้านพักตากอากาศ กับเพื่อนอีกสามคน และได้เปิดรีสอร์ท ชื่อว่า Nikoi ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้ Dixon มองหาเกาะอื่นเพื่อพัฒนาเพิ่มขึ้น
ต่อมา เขาเลยซื้อเกาะ Cempedak เกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของเกาะเดิมเพิ่ม เขาใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการสร้าง และออกแบบรีสอร์ทแห่งนี้ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
การออกแบบพื้นอาคารมีการผสมผสานระหว่างความสวยงามและความเป็นธรรมชาติได้อย่างน่าสนใจอย่างวิลล่าที่ต่อกันคล้ายกับบูมเบอแรงยักษ์ สระน้ำเกลือรูปหยดน้ำ หรือรูปทรงของหลังคาโค้งรูปพระจันทร์เสี้ยวที่ทำมาจากหญ้าคา ซึ่งช่วยให้วิลล่าเย็นขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
รีสอร์ทแห่งนี้สร้างด้วยไม้ไผ่เกือบทั้งหมด โดยใช้จำนวนไม้ไผ่กว่า 30,000 ชิ้น ขนข้ามทะเลจากชวาและสุมาตราบนเรือยาว 280 ฟุต โดยใช้ทีมงาน 70-120 คนบนเกาะ ซึ่งมีวิลล่าทั้งหมด 20 หลัง เฟอร์นิเจอร์ในที่พักแห่งนี้เป็นการนำเศษไม้ที่ลอยมาจากการก่อสร้างและไม้รีไซเคิลมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นพัดลมเพดาน กระดาษทิชชู่จากเส้นใยไม้ไผ่ โต๊ะกาแฟ ไปจนถึงหมุดไม้ไผ่ที่ยึดโครงสร้างไว้ด้วยกัน
Cempedak ได้ร่วมมือกับองค์กร Seven Clean Seas ในการเก็บขยะพลาสติกกว่า 60 ตัน โดยจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานพักงาน เพื่อทำความสะอาดชายหาดโดยเฉพาะ ซึ่งแผนระยะยาวของ Cempedak คือ เกาะไร้ขยะ และใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากกว่าพลังงานไฟฟ้าครึ่งหนึ่ง รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ขยายเขตห้ามจับปลา และจัดตั้งโครงการโรงฟักไข่เต่าที่เก็บได้จากเกาะใกล้เคียง เพื่อเป็นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติให้กลมกลืนมากที่สุด เป็นอีกหนึ่งผลงานสถาปัตยกรรมจากธรรมชาติ เพื่อธรรมชาติ อย่างแท้จริง
อ้างอิงโดย :
- https://www.independent.co.uk/climate-change/sustainable-living/cempedak-sustainable-indonesia-island-singapore-b1857667.html?fbclid=IwAR2Yt4UsCFw8DRuRiFpB2RFvtmEs9g2-snvPBnt1tgnW9st7JLnCOXyMtCM
- https://cempedak.com/about/the-cempedak-story/
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่ www.facebook.com/Wazzadu
ผู้เขียนบทความ
ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่
Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ
หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ... อ่านเพิ่มเติม