รู้หรือไม่!!! สาหร่ายเป็นพืชที่ให้อ๊อกซิเจนมากที่สุดในโลก แถมยังนำมาสร้างบ้านเท่ๆได้ด้วย ?
สาหร่ายพืชที่ให้ออกซิเจนกับผืนโลกมากที่สุด
สาหร่ายไม่ได้มีประโยชน์แค่เป็นอาหาร ยารักษาโรค พลังงาน และผลิตเชื้อเพลิงเท่านั้นสาหร่ายยังใช้ในการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นการลดโลกร้อนได้อีกด้วย ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่กระจายอยู่ทั่วโลกไม่ได้มีเฉพาะในต้นไม้ที่อยู่บนบกเท่านั้น
แต่สาหร่ายทะเลที่อาศัยอยู่ในทะเลก็สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เช่นเดียวกัน โดยจะดูดซับไปใช้ในการสังเคราะห์แสงเหมือนกับพืช และสาหร่ายทะเลบางชนิดยังมีความสามารถมากกว่านั้นคือ สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มาเปลี่ยนรูปเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต หรือหินปูน เช่น สาหร่ายใบมะกรูด (Halmeda)
สาหร่ายใบมะกรูด เป็นสาหร่ายสีเขียวที่มีการสะสมแคลเซียมคาร์บอเนตไว้ที่ทัลลัส หรือส่วนคล้ายใบ มีการเจริญเติบโตเร็วมาก จึงทำให้มีพื้นที่ในการสะสมแคลเซียมคาร์บอเนตจำนวนมาก สาหร่ายใบมะกรูดจึงมีศักยภาพสูงในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำ หรือเรียกได้ว่ามีความสามารถในการช่วยลดโลกร้อนได้ และเมื่อสาหร่ายตายลง แคลเซียมคาร์บอเนตหรือหินปูนก็จะสลายกลายเป็นทรายกลับคืนสู่ชายหาดเป็นการช่วยหมุนเวียนธาตุคาร์บอนจากอากาศกลายเป็นเม็ดทรายกลับสู่พื้นโลก
นอกจากสาหร่ายใบมะกรูดแล้วยังมีสาหร่ายอีก 2 ชนิดที่สามารถสะสมแคลเซียมคาร์บอเนตโดยการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น สาหร่ายเห็ดหูหนู และสาหร่ายสีแดงบางชนิด
สาหร่ายกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ลดโลกร้อนได้อย่างไร ?
สาหร่ายพวกนี้จะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมามันเป็นผลพลอยได้ของกระบวนการสังเคราะห์แสงครับ ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่มันปล่อยออกมา มันสูงกว่าปริมาณที่ต้นไม้และพืชบนดินอื่นๆปล่อยมารวมกันซะอีก เป็นความจริงที่ว่าสาหร่ายแม้มีขนาดเล็กแต่กลับเป็นผู้ผลิตออกซิเจนได้ถึง 73-87% ของออกซิเจนที่มีอยู่บนผิวโลก นอกจากนี้ สาหร่ายยังมีความสามารถในการดูดซับไนโตรเจนซัลเฟอร์ออกไซด์ สารประกอบที่เป็นกรด ที่เป็น by-products จากโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกด้วย
โดยมีการนำสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมากำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากปล่องควันโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานถ่านหินโดยนาย Bayless ได้ทดลองเทสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชื่อ Chroogloeocystissiderophila ที่ได้จากน้ำพุร้อนในอุทยานแห่งชาติ Yellowstone National Park ลงในม่านผ้าขนาด 60*120 เซนติเมตร แล้วปล่อยน้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ จากโรงไฟฟ้าเข้าไป พบว่า สาหร่ายมีการเจริญเติบโตดี เปลี่ยน CO2 เป็นไอน้ำ ไนโตรเจน และออกซิเจนสะอาดขึ้นสู่บรรยากาศ (Bayless et al.,2001)
สาหร่ายกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
แต่เมื่อคำถามนี้มาอยู่ในมือของสถาปนิกจากเดนมาร์ก Vandkunsten ที่จับมือกับองค์กรไม่หวังผลกำไรนามว่า Realdania Byg มาร่วมลงไม้ลงมือหาคำตอบร่วมกันที่เกาะ Læsø ประเทศเดนมาร์ก มันจึงได้คำตอบที่ดูจะธรรมดาด้วยรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คล้อยตามไปกับธรรมชาติกับโครงการบ้านในเกาะแห่งนี้
สถาปนิกได้เลือกการออกแบบเปลือกของบ้านจากวัสดุที่รายรอบที่ตั้งก็คือ ‘สาหร่าย’ ด้วยโครงการนี้ตั้งอยู่ในเกาะ ที่อุดมไปด้วยชายหาดและมากมายไปด้วยสาหร่ายอย่างที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีจำนวนจำกัด เพราะอุตสาหกรรมการปลูกสร้างบ้านพักผ่อนในยุโรปนิยมใช้ไม้เป็นหลัก คำถามที่มีคือ หากในศตวรรษต่อไปเราขาดแคลนไม้มาก่อสร้างเราจะมีทางเลือกอย่างไรได้บ้าง และสาหร่ายทะเลคือคำตอบที่ Vandkunsten เลือกด้วยสาเหตุว่า มันเติบโตง่าย หาได้มากมายในที่ตั้งละแวกทะเล กระบวนการผลิตก็แค่นำสาหร่ายที่หาได้มาผึ่งให้แห้งด้วยแดด และลม
จากนั้นจึงนำมาใส่ถุงตาข่ายยัดเข้าไปเป็นลักษณะคล้ายหมอน จนเป็นหมอนสาหร่ายหลายๆ ลูกประกอบเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงนำไปหุ้มเป็นเปลือกรอบตัวบ้าน กลายเป็นทั้งเปลือกที่เป็นฉนวนแบบไม่มีสารพิษอย่างฉนวนในระบบอุตสาหกรรมอื่นๆ ในโครงการนี้สถาปนิกเชื่อว่ามันจะสามารถมีอายุการใช้งานไปถึง 150 ปีเลยทีเดียว
สรุปแนวคิดที่สำคัญการใช้สาหร่ายเพื่อลดโลกร้อน
1. แนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม :
สภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาในระดับโลกที่ทั่วโลกกำลังมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญาเรื่องนี้เพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาตในอนาคต พืชสาหร่ายถือเป็นพืชที่มีการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซต์ไปเป็นออกซิเจน ซึ่งเป็นพืชที่มีประสิทธิภาพในการฟอกได้ดีที่สุดในโลก ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมจากสาหร่าจากธรรมชาตินั้นจึงเป็นแนวคิดที่สำคัญสำหรับงานสถาปัตย์นั้นการเลือกใช้วัสดุทดแทนไม้จริง โดยหันนมาใช้วัสดุที่หาได้จากสิ่งแวดล้อมที่มีเหลือจากธรรมชาติจึงเป็นการช่วยลดโลกร้อนด้วย
2. แนวคิดเพื่อสังคม :
การใช้สาหร่ายเป็นการช่วยสังคมคือ การช่วยนำพืชที่เป็นวัชพืชของการทำเกษตรมาก่อให้เกิดประโยชน์ลดภาระขยะโลก ซึ่งเป็นการลดโลกร้อนนั่นเอง
3. แนวคิดในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน :
สิ่งที่เป็นความท้าทายคือการปรับใช้ คือ การนำสาหร่ายมาวิจัยพัฒนาเพื่อช่วยในการบำบัดของเสีย จากการที่สาหร่ายสามารถช่วยเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซต์เป็นออกซิเจน จากน้ำเสียไปเป็นอากาศที่บริสุทธิ์ขึ้นมาได้
อ้างอิงโดย
- ศูนย์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก นายรณชัช เกิดมงคล สำนักวิเคราะห์และติดตามประเมินผล อบก
- dezeen
- Realdania
- vandkunsten
เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia ซึ่งเป็นทีมวิจัย และพัฒนาความรู้ด้านการออกแบบ และวัสดุศาตร์ทางด้านสถาปัตย์ฯ
สำหรับท่านที่สนใจในนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สามารถติดต่อเพื่อโปรโมตผลงานของท่านเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งการออกแบบ, เทคโนโลยี, วัสดุศาสตร์ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้แล้วที่ wazzadu .com. โดย inbox เข้ามาได้ที่ www.facebook.com/Wazzadu
ผู้เขียนบทความ