Greenlam Laminate เกรดต้านเชื้อไวรัส 99.99% วัสดุลามิเนตปิดผิวสำหรับยุค New Normal
จะดีแค่ไหนหากเราสามารถเลือกใช้วัสดุที่มีความปลอดภัยและช่วยให้ผู้ที่ใช้งานห่างไกลจากเชื้อโรคได้ ?
หลังจากเกิดวิกฤตโรคระบาดไวรัส โควิด-19 ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเราทุกคนต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่หรือที่เรียกว่า New Normal ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หรือการเพิ่มมาตรการการรักษาความสะอาดที่มากขึ้น ซึ่งในส่วนของการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลนั้นเราสามารถทำได้ไม่ยาก แต่การหลีกเลี่ยงการใช้งานเฟอร์นิเจอร์ หรือข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันตามสถานที่ต่างๆ หล่ะ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าบนพื้นผิวของวัสดุเหล่านั้นมีความสะอาดและปลอดภัยมากพอ
กรีนแลมผู้นำด้านวัสดุปิดผิวลามิเนตจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบ New Normal นั่นคือ กรียนแลมลามิเนตเกรดต้านไวรัส ซึ่งสามารถชะลอและฆ่าไวรัสได้มากถึง 99.99% รวมไปถึงเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียด้วย
วัสดุปิดผิวไฮเพรสเชอร์ลามิเนตผลิตจากกระดาษชุบด้วยเทอร์โมเซตติงเรซิน (เรซินเมลามีนและเรซินฟีนอลเกรดพิเศษ) อัดขึ้นรูปด้วยความดันสูงทำให้เป็นแผ่นแข็งมีความหนาประมาณ 0.8 มม. ผิวของวัสดุถูกเคลือบด้วยสารต้านจุลชีพ USEPA ในระหว่างการผลิต ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้ถึง 99.99% โดยตัวผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบด้านประสิทธิภาพการต้านไวรัส Biotect Testing Services (BTS) ตามมาตรฐาน ISO 21702:2019 นอกจากนี้ยังผ่านมาตรฐานเรื่องการต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียดังนี้
- Staphylococus aureus (ATCC 6538P)
- Escherichia coli (ATCC 8739)
- Staphylococus epidermidis (ATCC 12228)
- Klebsiella pneumoniae (ATTC 4352)
- Methicillin-resistant Staphylococus aureus (NCTC 12493)
- Salmonella typhimurium (ATOC 14028)
- Enterococcus faecalis (ATCC 10015)
- CANdida albicans (ATCC 10231)
- Bacillus subtest (ATCC 6633)
- Pseudomonas aeruginosa (ATTC 15442)
สำหรับวัสดุคอมแพคลามิเนต จากกรีนแลมนั้นก็มีคุณสมบัติในการชะลอและฆ่าไวรัสได้มากถึง 99.99% เช่นเดียวกัน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าคอมแพคลามิเนตนั้นมีกระบวนการผลิตคล้ายคลึงกับวัสดุปิดผิวไฮเพรสเชอร์ลามิเนต เพียงแต่ทำความหนาให้มากขึ้นเท่านั้นเอง ในส่วนของการใช้งานนั้น วัสดุคอมแพคลามิเนตจะใช้ติดตั้งทั้งแผ่นไม่ใช่เป็นการปิดผิวแบบไฮเพรสเชอร์ลามิเนต เช่น ใช้เป็นท็อปโต๊ะ เคาน์เตอร์ ฝาตู้เฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน และผนังห้องน้ำสำเร็จรูปเป็นต้น ซึ่งการใช้งานของวัสดุทั้ง 2 แบบนั้นก็มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคได้มากเช่นกัน
ขนาดมาตรฐานของแผ่นไฮเพรสเชอร์ลามิเนตคือ
- 1220x2440 mm. หนา 0.8 mm.
- 1300x3050 mm. หนา 0.8 mm.
- 1525x3660 mm. หนา 0.8 mm.
ขนาดมาตรฐานของคอมแพคลามิเนตคือ
- 1220x2440 mm. หนา 3-30 mm.
- 1300x3050 mm. หนา 3-30 mm.
- 1525x3660 mm. หนา 3-30 mm.
- 1830x3660 mm. หนา 3-30 mm.
สำหรับสีสันนั้นมีให้เลือกมากกว่า 1,000 ลวดลาย และมีผิวสัมผัสให้เลือกมากถึง 30 แบบด้วยกัน
นอกเหนือจากคุณสมบัติที่ครบถ้วนข้างต้น วัสดุปิดผิวจากกรีนแลมยังผ่านมาตรฐานการรับรองจากสถาบันคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยวัสดุที่ใช้ในการผลิตนั้นเป็นวัตถุดิบจากป่าปลูกที่มีการจัดการป่าภาายใต้มาตรฐานสากล โดยได้รับการรับรองจาก Forest Stewardship Council (FSC) นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ว่าเหมาะสำหรับการใช้งานในบริเวณที่มีเด็ก และเหมาะสำหรับการใช้งานในโรงพยาบาล โดยผ่านมาตรฐานการรับรองจาก Greenguard Gold นั่นเอง
นอกเหนือจากแผ่นวัสดุปิดผิวไฮเพรสเชอร์ลามิเนต และคอมแพคลามิเนตแล้ว ยังมีอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จากกรีนแลมนั่นคือ ผนังและฝ้าสำเร็จรูป ที่ช่วยป้องกันแบคทีเรียและไฟฟ้าสถิตย์ (Greenlam Safeguard Wall & Ceiling System) เหมาะสำหรับใช้ในห้องผ่าตัดไฮบริด ห้องปฎิบัติการควบคุมต่างๆ โดยที่พื้นผิววัสดุมัคุณสมบัติลดอัตราการแพร่กระจายเชื้อโรค และสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 99.99% เช่นกัน แต่แตกต่างตรงที่ ผนังและฝ้าสำเร็จรูป Safeguard เป็นระบบติดตั้งแบบเข้าร่องลิ้น T&G (Tongue and Groove) สำเร็จรูปจากโรงงาน และสามารถเลือก option เพิ่มเป็นรุ่นที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ได้ด้วย สำหรับรายละเอียดสามารถดูได้จากลิ้งก์คอนเทนต์ด้านล่างนี้
สนใจติดต่อ 02-2091-2569
หรือกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่
www.wazzadu.com/page/greenlam/contact
และ line ID Greenlam : @greenlam
#Wazzadu #GreenlamLaminates #Laminates #CompactLaminate #hospital #hyginicproduct #hpl #highpressurelaminate #antivirus99% #NewNormal #antibacterial99% #ลามิเนต #ลามิเนตปิดผิวผนัง #คอมแพคลามิเนต #แอนตี้ไวรัส99% #แอนตี้แบคทีเรีย99% #นิวนอร์มอล
ผู้เขียนบทความ