เทคนิคการออกแบบลามิเนตตัดต่อลาย (Path Design) ไม่ให้เหลือเศษ

Path Design คือการสร้างสรรค์ลวดลายและรูปร่างของวัสดุปิดผิวได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งทางกรีนแลม (Greenlam) จะเป็นผู้ช่วย หรือ Co-creator ที่จะทำให้จินตนาการของผู้ออกแบบเป็นจริง Path Design นั้นมีวิธีการทำได้หลายรูปแบบ เช่น การตัดต่อลายของวัสดุ การทำเลเซอร์ การเซาะร่องวัสดุให้เป็นลวดลายต่างๆ สำหรับวันนี้เราจะพาไปดูวิธีการออกแบบโดยการตัดต่อลายเพื่อให้ใช้วัสดุให้คุ้มค่าที่สุดกันครับ และสำหรับการทำ Path Design ด้วยวิธีอื่นนั้นเราจะนำเสนอในโอกาสถัดไปครับ 

1. ออกแบบให้ลายเป็นแพทเทิร์น

ผู้ออกแบบส่วนใหญ่จะคุ้นเคยวิธีการออกแบบลวดลายต่างๆ ให้เป็นแพทเทิร์นหรือลายที่ซ้ำๆ กันอยู่แล้วเนื่องจากเป็นวิธีแรกๆ ที่จะช่วยทำให้พื้น ผนัง ฝ้า ดูสะอาด เรียบร้อย ซึ่งสิ่งที่สำคัญในการออกแบบลายเป็นแพทเทิร์น นั่นคือต้องทราบขนาดที่แน่นอนของวัสดุปิดผิวชนิดนั้นๆ ก่อน แล้วจึงนำมา Integrate หรือหาสัดส่วนที่เหมาะสมของลายได้ แต่ละชิ้นส่วนควรเป็นแบบที่ต่อกันได้ เช่น สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยม หรือเป็นลวดลายที่ซับซ้อนกว่านั้นเช่น สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ลายพัด ลายบูมเมอแรง หรือลายจิ๊กซอว์

 

ตามรูปตัวอย่างคือ การเลือกใช้แผ่นลามิเนต 4 สีซึ่งเป็นเฉดสีขาวและสีเทาอ่อน ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วจึงนำมาเรียงต่อกันทำให้เกิดเป็นมิติของแสงและเงา ซึ่งหากลองเรียงแพทเทิร์นสามเหลี่ยมลงบนแผ่นลามิเนตก็จะพบว่าสามารถใช้วัสดุได้เกือบทั้งแผ่นโดยที่มีเศษเหลือทิ้งน้อยมาก 

ภาพโดย: W Workspace Company Limited

2. ออกแบบให้เป็นลาย Random 

คล้ายๆ กับแบบแรกแต่จะแตกต่างกันตรงที่เป็นการนำแต่ละชิ้นส่วนมาต่อกันเป็นลายสุ่ม แต่ก็มีพื้นฐานคล้ายกับแบบแรก นั่นคือแต่ละชิ้นหรือแต่ละ Module ควรมีแนวกว้างหรือแนวนอนที่เท่ากัน เพื่อให้สามารถควบคุมขนาดโดยรวมได้ จากนั้นจึงนำมาติดเรียงบนผนังแบบสุ่ม (Random) เนื่องจากขนาดแต่ละชิ้นไม่เท่ากันจึงเกิดความน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ

 

อาจจะมีการดัดแปลงเพิ่มเติมอีกได้ด้วยการกำหนดให้แต่ละชิ้นจะมีความสูงเท่ากัน และตัดแผ่นลามิเนตผิวกระจกแนวตั้งให้เป็นแนวเอียงก็ได้ จากนั้นจึงนำมาติดเรียงบนผนังแบบสุ่ม (Random) เช่นเดียวกันกับรูปตัวอย่าง 

3. ออกแบบให้มีการใช้งานแบบสลับลายกันได้

Subtraction เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจในการออกแบบเพื่อให้ใช้วัสดุได้คุ้มค่าโดยไม่เหลือเศษ ยกตัวอย่างเช่น หากเราเจาะลวดลายวัสดุที่ต่างกันสองแผ่นแล้ว จากนั้นให้นำชิ้นส่วนของทั้งสองแผ่นมาต่อสลับกัน ดังนั้นในการนำไปใช้ไปจึงควรแยกพื้นที่ในการติดตั้งกันเพื่อให้ดูมีความกลมกลืน

ซึ่งจะเห็นได้จากรูปตัวอย่าง หากห้องห้องหนึ่งมีการปิดผิวผนังด้วยแผ่นลามิเนตลายไม้เจาะรูเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด แล้วตัดต่อด้านในให้เป็นแผ่นลามิเนตสีขาว ดังนั้นวัสดุที่เหลือควรนำไปใช้ในอีกห้องหนึ่งซึ่งคือ แผ่นลามิเนตสีขาวที่เจาะรูแล้วใส่แผ่นลามิเนตลายไม้ที่ถูกเจาะมาใส่เข้าไปแทน

สนใจติดต่อ 02-2091-2569 

หรือกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่

www.wazzadu.com/page/greenlam/contact

และ line ID Greenlam : @greenlam​

line ID Crystalboard : @crystalboard

#Wazzadu #GreenlamLaminates #Laminates #HighPressureLaminate #HPL #PathDesign #CrystalBoard #ลามิเนต #ลามิเนตปิดผิวผนัง #กรีนแลม #ไฮเพรสเชอร์ลามิเนต #ลามิเนตปิดผิวเฟอร์นิเจอร์ #คริสตัสบอร์ด

  • HPL - WVB 5427 REFRESH OAK

    วัสดุปิดผิวผนัง ลามิเนตปิดผิว

    1,150 บาท/แผ่น

    Online
  • HPL - GWK 5039 PLUSH ANEGRE

    วัสดุปิดผิวผนัง ลามิเนตปิดผิว

    1,150 บาท/แผ่น

    Online
  • HPL - GWC 5003 PHILLIPINES TEAK

    วัสดุฝ้าเพดาน ลามิเนต

    1,150 บาท/แผ่น

    Online
  • HPL - WVB 5080 PURE ELM

    วัสดุปิดผิวผนัง ลามิเนตปิดผิว

    1,150 บาท/แผ่น

    Online
  • HPL - WBR 5431 SWEET ALMOND

    วัสดุปิดผิวผนัง ลามิเนตปิดผิว

    1,150 บาท/แผ่น

    Online
ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและมีสุขภาพดีเริ่มด้วย GREENLAM เมื่อพูดถึงแผ่นลามิเนตสำหรับการตกแต่ง GREENLAM เป็นชื่อที่ต้องนึกถึงเสมอ ไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ คุณภาพหรือนวัตกรรม แผ่นลามิเนต Greenlam เกินความคาดหวังสูงสุดGREENLAM เริ่มต้นธุรกิจในอินเดีย ขยายสาขาไปยังเอเชียแปซิฟิกในปี 2005 ในช่วงระยะ 7 ปี บริษัทได้เติบโตขึ้นอย่างมากจนกลายเป็นองค์กรที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมลามิเนต ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ