"Workplace in Architecture" การทำงานยุคปัจจุบันนั้น สถานที่ทำงานส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และวัฒนธรรมขององค์กรอย่างไร ?

ในแง่การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานจะส่งผลกระทบต่อคนทำงานอย่างไรบ้าง แล้วพื้นที่การทำงานในสถาปัตยกรรมยุคปัจจุบันนั้นเป็นเช่นไร..?

วันนี้ Wazzadu.com สรุปเนื้อหาสำคัญจาก "งานสัมมนาด้านการออกแบบพื้นที่สำนักงานยุคใหม่ ประจำปี 2019" (OFFICE SPACE DESIGN FORUM 2019) ซึ่งบรรยายโดย คุณปุยฝ้าย คุณาวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท WOHA ประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ครีเอทีฟครูส์ จำกัด มาฝากกันครับ...

Workplace in Architecture

เมื่อปัจจุบันนี้ เกือบทุกสาขาอาชีพมีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีโดยเฉพาะเรื่องของ AI (Artificial Intelligence) ซึ่งแม้แต่นักออกแบบก็เกิดผลกระทบเช่นกัน... แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราสามารถอยู่เหนือ AI ได้นั่นคือ “ความคิดสร้างสรรค์” ซึ่งอาคารสำนักงานที่ทางทีมงานของคุณปุยฝ้ายร่วมออกแบบด้วยกันนั้น จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้พื้นที่ทำงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ตามมาชมผลงานตัวอย่างทั้ง 3 โปรเจคได้เลยครับ

โปรเจคที่ 1 : การออกแบบอาคารสำนักงาน FYI Center

ด้วยขอบเขตของกฎหมายการออกแบบอาคารที่จำกัดความสูงอยู่ที่ 14 ชั้น ทำให้ภาพลักษณ์ของอาคารดูเตี้ย ไม่สูงระฟ้าเหมือนอาคารสำนักงานที่อื่นๆ และเพื่อปรับหน้าตาของอาคารและให้สวยงามมากกว่าเดิม จึงออกแบบโครงสร้างด้วยเปลือกอาคารที่ใช้กระจกเป็น façade สร้างลอนเป็นคลื่นๆ ขนาดใหญ่ เปลี่ยนภาพลักษณ์เดิมให้สวยงามและทันสมัยมากขึ้น

แนวคิดในการออกแบบ : การสร้าง flexibility ให้กับ workplace เพื่อตอบสนองการใช้งานรูปแบบต่างๆ

สำหรับรูปลักษณ์ของอาคารที่เปลี่ยนไป นอกจากปรับให้ดูโมเดิร์นขึ้น ยังเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงกลุ่มผู้ใช้งานว่าตอบโจทย์ด้านดีไซน์กับกลุ่มเป้าหมายไหนบ้าง ซึ่งอาคารสำนักงาน FYI Center เป็นอาคารให้เช่าพื้นที่ทำงาน สไตล์การตกแต่งจะไม่เจาะจงมากเกินไป จนทำให้ตอบโจทย์ดีไซน์เพียงกลุ่มเล็กๆ การออกแบบและตกแต่งภายในของอาคารจะเน้นความทันสมัยและเป็นรูปแบบการตกแต่งที่คงอยู่ได้ยาวนาน ไม่ตกยุค ตกกระแส

ด้วยแนวคิดการออกแบบที่ต้องการให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เกิดเป็นวิธีการจัดสรร space ที่ช่วยให้ใช้สอยอย่างคุ้มค่า เช่น พื้นที่ภายนอกของอาคารสำนักงาน สามารถจัดเป็นลานกิจกรรม ไว้สำหรับจัดงาน event หรือการมี space ช่องว่างของตัวตึกเพื่อระบายอากาศ และยังเป็นจุดพักผ่อนแบบ outdoor ให้กับพนักงานของออฟฟิศที่เช่าบริการ ได้มีมุมผ่อนคลายและชมวิว

โปรเจคที่ 2 : การออกแบบอาคารของธนาคารแห่งประเทศไทย

โปรเจคนี้เป็นการรีโนเวทโรงพิมพ์ธนบัติเก่า เป็นอาคารที่มีอายุเก่าแก่ยาวนาน ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยแนวคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ขององค์กรให้เข้าถึงง่าย และมีพื้นที่การใช้สอย ที่สามารถทำอะไรได้หลากหลาย เริ่มตั้งแต่โซนทางเข้า ไปจนถึงพื้นที่ภายใน และต่อเติมพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติมบริเวณชั้น 2  

แนวคิดในการออกแบบ : การสร้าง Public Space ที่มีความ Flexibility เข้าถึงง่าย ใช้งานได้หลากหลาย เพื่อตอบรับกับความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ขององค์กร ซึ่งการออกแบบจะถูกแบ่งออกตามฟังก์ชันการใช้งาน เช่น

Public space หรือโซนด้านนอก

ติดกับบริเวณริมแม่น้ำ เป็นเสมือนลานพลาซ่า ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้เป็นพื้นที่ที่ใครก็สามารถเข้ามาใช้งานได้

พื้นที่ส่วนห้องสมุด

เมื่อเข้ามาบริเวณภายใน ส่วนที่ถูกใช้พื้นที่มากที่สุด คือส่วนของห้องสมุด ที่เป็นคล้ายๆ กับ Co-Working Space ให้บุคคลแต่ละสาขาอาชีพ หรือแม้แต่นักศึกษา ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่ทางห้องสมุดจัดได้ง่ายขึ้น โดยจะแบ่งเป็นส่วนที่เป็นเมมเบอร์ประมาณ 25% ส่วนอีก 75% ใช้ฟรี

พื้นที่ข้างบนที่ถูกต่อเติมให้เป็นห้องประชุม

เป็นห้องประชุมที่รองรับผู้ที่มาใช้งานได้ประมาณ 500 คน จุดประสงค์ของการต่อเติมส่วนนี้ คือทำให้ไม่ต้องไปเช่าห้องประชุมที่อื่น และรองรับการสัมมนาที่เป็นงานสำคัญได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

โดยรวมแล้ว การออกแบบการใช้งานแต่ละพื้นที่ของโปรเจคนี้ จะถูกวางแผนว่าแต่ละพื้นที่ควรจะอยู่โซนไหนถึงจะเหมาะ เช่น ห้องประชุม ที่จำเป็นต้องมีความเป็นส่วนตัว ก็จะอยู่บริเวณชั้นบน หรือแม้แต่การเลือกวัสดุที่จะเอามาใช้ในแต่ละพื้นที่เองก็คำนึงการใช้งานของพื้นที่ เช่น บริเวณที่เสียงดังก็จะใช้วัสดุที่ช่วยเก็บเสียงได้บางส่วน

โปรเจคที่ 3 : การออกแบบออฟฟิศของ บริษัท ครีเอทีฟครูส์ จำกัด (ออฟฟิศ CC)

รีโนเวทตึกเก่าแถวเจริญกรุง ซึ่งเป็นโกดังเก็บของอายุกว่า 22 ปี ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานของบริษัทครีเอทีฟครูส์ ออกแบบพื้นที่ภายในออฟฟิศโดยแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ พื้นที่ติดแอร์และเปิดโล่ง 50:50 มีพื้นที่ส่วนกลางที่ปลูกต้นไม้ สำหรับเป็นพื้นที่ Collaborate ออกแบบโดยผสมผสานหลายๆ ฟังก์ชันเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดพื้นที่ที่ดีสำหรับพนักงาน

แต่เนื่องจากพื้นที่ของตึกมีทั้งหมด 7 ชั้น ซึ่งมากกว่าความต้องการที่จะใช้งานของออฟฟิศ

จึงถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็น

พื้นที่ชั้น 1 กับชั้น 2  เป็นพื้นที่ Flexibility หรือพื้นที่ปล่อยเช่า ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ส่วนนี้ถูกวางแผนที่จะปล่อยเช่นเป็น Event Space

พื้นที่ชั้น 3  เป็นพื้นที่ Share Space เป็นพื้นที่ซึ่งผู้เช่าสามารถมาใช้งานร่วมกับพนักงานหรือเจ้าของตึกได้

พื้นที่ชั้น 4, 5, 6  เป็นพื้นที่ของออฟฟิศ CC โดยการปรับสภาพแวดล้อมใหม่ และแบ่งพื้นที่ส่วนที่ติดแอร์ และไม่ติดแอร์ ทุบพื้นบริเวณชั้น 4 และปลูกต้นไม้ที่ชั้น 3 เพื่อให้เกิดพื้นที่สีเขียว

พื้นที่ชั้น 7  พื้นที่สำหรับการพักผ่อน และการทำกิจกรรมร่วมกัน มีโต๊ะปิงปองสำหรับช่วงเวลาผ่อนคลาย

โดยปกติเวลาทำงานก็จะมีช่วงเวลาที่เครียดมากอยู่แล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบพื้นที่ คือทำอย่างไรให้คนที่มาอยู่ร่วมกันมีความสุข ทุกวันนี้ขนาดของออฟฟิศขยายเข้าหรือออกได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน เพราะรุ่นหลังๆ มีความความรู้สึกภักดีต่อองค์กรแบบคนรุ่นก่อนๆ ลดลง หรือมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงานได้ง่ายกว่า ดังนั้น การออกแบบออฟฟิศจึงต้องมีความยืดหยุ่นสูง คือสามารถปรับเปลี่ยน หรือประยุกต์ใช้พื้นที่ได้หลายรูปแบบ และดึงดูดให้คนอยากทำงานในองค์กรมากขึ้น

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ