Sacict Craft Trend 2020 : Precidealist - Heritage Fusion (หลอมรวมรากทางศิลปะอันล้ำค่า)
หลังจากที่ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงเทรนด์กลุ่มผู้บริโภคไปแล้วสามกลุ่ม ประกอบด้วย Serenergy ,Utopioneer และ Anti-boring
ในวันนี้เราจะมาพูดถึง ผู้บริโภคกลุ่มที่สี่ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้าย ก็คือ Precidealist (พรี-ไซ-เดียว-ลิสต์) ซึ่งจะมีรายละเอียดอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น ตามมาชมกันได้เลยครับ
เทรนด์กลุ่มผู้บริโภค สามกลุ่มแรก ประกอบด้วย Serenergy ,Utopioneer และ Anti-boring
ผู้บริโภคกลุ่มที่ 4 Precidealist (พรี-ไซ-เดียว-ลิสต์)
เป็นผู้บริโภคกลุ่มผู้นำที่สนใจในประเด็นทางสังคม มักต่อสู้เพื่ออุดมการณ์และความเชื่อ มีความคิดที่ลึกซึ้งจึงหลงใหลในงานศิลปะ งานออกแบบที่มีราก มีเรื่องเล่าหรือที่มาที่ชัดเจน
เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้นำทางความคิด มีจุดยืน มีอุดมการณ์ที่ชัดเจน พวกเขาจึงหลงใหลในศิลปะ รากและที่มาที่น่าหลงใหล ในปี 2020 นี้ Craft Trend ที่เหมาะกับพวกเขาคือ ”Heritage Fusion” แนวโน้มทางการออกแบบที่เกิดจากการหลอมรวมรากทางศิลปะอันล้ำค่า มาเป็นเรื่องราวกำกับทิศทางทางการออกแบบที่น่าหลงใหล
Heritage Fusion คือแนวโน้มการออกแบบที่หลอมรวมรากทางศิลปะอันล้ำค่า ใช้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในประวัติศาสตร์ทางศิลปะอันทรงคุณค่า ผ่านการนำเสนอด้วยการออกแบบ ที่ร่วมสมัยแต่ให้ความสำคัญในเรื่องราวและรากเหง้าของที่มา เพื่อนำมาสร้างสรรค์ความหรูหรานิยามใหม่ ที่อบอวลด้วยเสน่ห์อันน่าค้นหา ชวนให้หลงใหล และสะท้อนอุดมการณ์ ที่เชื่อมั่น
คีย์เวิร์ดสำคัญ ที่กำหนดทิศทางการออกแบบซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มผู้บริโภค Precidealist ได้แก่
- เสรีนิยม สะท้อนแนวคิดที่เป็นอิสระและเชื่อมั่น (Liberal)
- มีความลึกลับน่าค้นหา (Mysterious)
- และความมีเสน่ห์ น่าหลงใหล น่ามอง (Glamourous)
ลักษณะสีสันและลวดลายเส้นสาย จะค่อนข้างสร้างความรู้สึกมีเสน่ห์ประกอบกับลึกลับน่าค้นหา จึงมีเฉดสีที่เป็นสีเข้มมาตัดกับสีเงิน ทอง หรือทองแดงที่ให้ความรู้สึกแวววาว ลวดลายมีที่มาที่ไปที่สอดคล้องกับยุคสมัยของศิลปะหรือธรรมชาติที่หรูหรา
แนวทางการออกแบบวิธีที่ 1 ภายใต้ Heritage Fusion คือ “Precious Nature”
ธรรมชาติเป็นสิ่งที่คนทุกกลุ่มโหยหา สำหรับคนที่มีอุดมการณ์และหลงใหลในศิลปะอย่างกลุ่ม Precidealist (พรี-ไซ-เดียล-ลิสต์) พบว่ามีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากการหยิบจับเอาแรงบันดาลใจจากธรรมชาติที่หาได้ยากเป็นพิเศษ มีคุณค่าจากแหล่งที่มาหรือความวิจิตรบรรจงในการผลิต เป็นชิ้นงานที่เหมาะสร้างความเป็น Heritage ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลงานลักษณะนี้มีปรากฏให้เห็นในรูปแบบต่าง ๆ กัน บ้างก็มาจากที่มาของตัวเนื้อวัสดุ บ้างก็มาจากการสร้างสรรค์และออกแบบให้เกิดเรื่องราว เช่น
- ผลงานต้นแบบในโครงการ Innovative Craft Award ในปี 2019 “แสงส่องกา โดย นฤมล ธิจิตตัง ชานิดา ทวีศิลป์ สมพร สินเจริญโภคัย และ ศักติยา ชนะสิทธิ์” ที่เป็นการนำเรื่องราวที่มาของลวดลาย “พรรณพฤกษามงคลดอกกาหลง” มาถ่ายทอด จากภาพเขียน ลาย 2 มิติสู่งานหัตถศิลป์ในรูปแบบ 3 มิติ
- Blooming ออกแบบโดย กมลชนก ภาณุเวศย์
ภายใต้แนวคิดในการนำเสนอความหลงใหลที่มีต่อลวดลายไทยที่มี “ดอกไม้” เป็นองค์ประกอบ เช่น ลายจักรี ลายพิกุล และลายบัวสวรรค์ หยิบยกมาตีความใหม่ให้เป็น ลวดลายที่มีความร่วมสมัย เพื่อให้เกิดมุมมองที่แตกต่างในการนำเสนอเบญจรงค์ไทย สู่ความเป็นสากล
- Deer Horn Jewellery by Yukiko Hanamoto
เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วท่ีศาลเจ้าชินโตในญี่ปุ่นได้ให้ที่พักพิงแก่กวาง แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีประชากรกวางที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากนักล่าตามธรรมชาติมีจำนวนลดลง กวางเหล่านี้ได้เริ่มบุกรุกเข้าฟาร์มของเกษตรกรเพื่อค้นหาอาหารจนเริ่มถูกมองว่าเป็นศัตรูพืช และเริ่มมีมาตรการในการกำจัดพวกมัน เพื่อไม่ให้สูญเสียสัตว์ที่สวยงามเหล่านี้ไปโดยไร้ค่า
นักออกแบบ Yukiko Hanamoto จึงตัดสินใจใช้เขากวางซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งแรงและ สง่างามเต็มไปด้วยความประณีตมาทำเป็นเครื่องประดับ เธอตรวจสอบเขา กวางทุกชิ้นอย่างรอบคอบก่อนตัดและระบายสีเพื่อเสริมและทำให้รูปร่างได้ ตามธรรมชาติ แม้ว่าเธอจะสร้างสิ่งใหม่และทันสมัย แต่ในแต่ละชิ้นก็มีเสียง สะท้อนจากธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ของกวาง
- Decorative One-offs by Anne Kaden
เครื่องประดับโบราณที่สร้างโดย Anne Kaden ช่างเงิน One-offs คือแหวนเงินที่หล่อจากใต้พื้นโลกจากการเดินทางไปไอซ์แลนด์ของนักออกแบบ เธอได้หล่อแหวนขึ้นหลายวงที่เชิงภูเขาไฟด้วยสารประกอบซัลไฟด์และออกไซด์ในดิน ทำให้เกิดผลลัพธ์ของสีที่น่าสนใจและยังติดแน่นทนทาน
แนวทางการออกแบบที่ 2 “Mystery Chic” เพราะกลุ่มคนแบบ Precidealist จะเป็นคนที่หลงใหลเรื่องราวของศิลปะ ชื่นชอบอะไรที่เข้าถึงได้ยากหรือสื่อสารอะไรที่ไม่ตรงไปตรงมามากเกินไป
เป็นแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงานคราฟต์ที่เน้นที่มาของงานออกแบบที่ลึกซึ้ง มีทั้งจากเรื่องเล่าจากวรรณคดี หรือจากสไตล์ย้อนยุคที่เป็นประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมในอดีต เรื่องราวเหล่านี้เป็นส่วนที่สร้างเสน่ห์ให้น่าหลงใหลน่าติดตาม แต่ทั้งหมดยังนำเสนอในรูปแบบที่เข้ายุคเข้าสมัย อาทิ
- ผลงานจากโครงการ SACICT Signature Collection 2019 “หนุมาน-นิลพัท Designed by อภิชัย สินธุ์พูล และ Ease Studio” ผลงานชิ้นนี้เล่าเรื่องราวผ่านมหากาพย์รามเกียรติ์ ออกมาเป็นผลงาน เขียนลายเบญจรงค์บนงานปั้นตุ๊กตาลิง 2 ตัวคือหนุมานและนิลพัท ถือธูปหอมพร้อมถาดวางกำยานและที่หยดน้ำมันหอมระเหย
- เซราภรณ์ เบญจรงค์บนอาภรณ์ โดย จิระพงษ์ เดชรัตน์
งานออกแบบสื่อถึงความมั่งคั่งรุ่งเรือง ของศิลปะไทยและถ่ายทอดเป็นเครื่องประดับ ที่ใช้เบญจรงค์แบบดั้งเดิมเป็นส่วนประกอบ โดยเลือกใช้ลายที่นำมาประยุกต์กับรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ลดทอนรูปทรงให้สอดคล้องกับแต่ละคอลเล็กชั่น
- Coffee Table "The Happy Room” Designed by Cristina Celestino
คอลเล็กชั่นงานเครื่องเรือนที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิก Cristina Celestino จากมิลาน เพื่อจัดแสดงให้แบรนด์ Fendi ชิ้นงานนี้ได้รับแรง บันดาลใจจากรูปทรงวงกลมและสีพาสเทลจากปี ค.ศ. 1950 (ยุคสมัยแห่ง Art Deco) นำเสนอออก มาเป็นความเรียบง่าย โค้งมน มีความเป็นผู้หญิง และมีเสน่ห์อันชวนหลงใหล
นักออกแบบสร้างลูกเล่นที่แตกต่างกันของหินอ่อนแต่ละประเภทออกมา เป็นรูปร่างต่าง ๆ โดยมี "ทองคำ" ทำหน้าที่เป็นพื้นหลัง และยังผสมผสานตัวตนของแบรนด์ Fendi ไว้ได้อย่างลงตัว โดยรวมแล้วคอลเล็กชั่น The Happy Room นั้นมีเสน่ห์น่าหลงใหล แปลกใหม่ และสามารถ ถ่ายทอดความรู้สึกอ่อนช้อยได้อย่างงดงาม
- คอลเล็กชั่น ป่าหิมพานต์ Designed by Flash Kwanyo
Kwanyo แบรนด์เสื้อผู้ชายแนววินเทจผสมความคลาสสิคที่มีความ เป็นเอเชียแฝงอยู่ ผสมผสานรูปทรงหรือสีสันที่ทันสมัยอย่างลงตัว อาจจะเรียกว่าเป็น Modern Vintage Style หรือ Modern Classic Style ที่เน้นสีแนวเอิร์ธโทนเป็นหลัก ใส่ใจในทุกรายละเอียดทั้งวัสดุ และชนิดของผ้า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์ซึ่งก็คือลายปักในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ลวดลายธรรมชาติ ลายสัตว์ ลายปักแมลง หรือลายปักศิลปะทางภาคเหนือบนเสื้อเชิ้ตผ้าม่อฮ่อม ซึ่งเทคนิคการปักนี้ทำให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น ดูไม่น่าเบื่อ นอกจากนี้ทางแบรนด์ก็ยังมีเครื่องประดับและตกแต่ง ที่ออกแบบขึ้นเฉพาะ อาทิ หมวก และกระเป๋า
และแนวทางที่ 3 ภายใต้ทิศทางการออกแบบ Heritage Fusion ได้แก่ “Geometric Gram”
คือ เทคนิคหรือแนวคิดการออกแบบที่ปรากฏในความเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มหรูหรามีระดับในรอบปีนี้ พบว่าส่วนหนึ่งมีการหลักคิดคล้าย ๆ กันคือการนำเอาเส้นสายของเรขาคณิตมาเป็นส่วนประกอบการออกแบบ ทำให้ดูหนักแน่น ชัดเจน สอดคล้องกับความมีจุดยืนที่ชัดเจนของกลุ่มคนแบบ Precidealist (พรี-ไซ-เดียล-ลิสต์)
ตัวอย่างการพัฒนาต้นแบบผลงานในโครงการของ SACICT (Craft Co-Creation 2019) อาทิ “แจกันถมเงินทรง ประภาคาร” เป็นแจกันนำเอาประภาคารที่มีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยมมาใช้ในการออกแบบ โดยรูปทรงให้ความรู้สึกที่หนักแน่น มั่นคง และชัดเจน โดยยังคงนำลวดลาย ในรูปแบบดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของการทำเครื่องถมเงินถมทองมาผสมผสาน ในชิ้นงานเพื่อให้งานมีความร่วมสมัยมากขึ้น
- To be continued โดย ธนวัฒน์ คล่องวิชา และ ประพันธ์พงษ์ สุขแสวง
การดัดแปลงเบญจรงค์ไทยให้เป็นของที่ระลึกและของแต่งบ้านที่มีรูปแบบสมัยใหม่ด้วยการใช้วัสดุโลหะผสมผสานการขึ้นรูปทรงเบญจรงค์ทรงกลมด้วยเทคนิคพิเศษให้เข้ากับวิถีชีวิตประจำวันอย่างไม่ขัดเขิน
- เปลี่ยน Designed by จิระพงษ์ เดชรัตน์และ Salt and Pepper Design Studio
ออกแบบแครื่องประดับด้วยรูปทรงเรขาคณิตผสานการเขียนลวดลายสามแบบคือลายเส้นกราฟิกทิ้งรอยเส้นพู่กัน ลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และลวดลายแบบดั้งเดิม โดยใช้โทรสีสดใสที่ให้ความรู้สึกเป็นมิตรมากขึ้น
- Bonnet Designed by Elena Salmistraro
Bonnet คือ กระจกที่มีสไตล์ร่วมสมัย (Contemporary Style Mirror) เป็นผลมาจากการผสมผสานระหว่างศิลปะและการออกแบบ ใส่ใจในรายละเอียดอย่างพิถีพิถันเพื่อค้นหาความกลมกลืนของรูปร่างและสไตล์ ได้รับแรงบันดาลใจจากหมวก สตรีทรงยอดนิยมแห่งศตวรรษที่ 19 นี้จึงเป็นการรวบรวม อดีตและปัจจุบันเข้าด้วยกันเพื่อสร้างอนาคตใหม่ที่น่าตื่นเต้น ผ่านภาพสะท้อน
ผลิตจากเรซิ่นที่มีความแข็งแรงสูงและมี กระจกรูปทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน ถูกนำเสนอใน 3 สี 3 รูป แบบ Elena ออกแบบคอลเล็กชั่นนี้ให้กับแบรนด์ Houtique ที่โดดเด่นด้วยความสามารถในการสร้างชิ้นงานเชิงสัญลักษณ์ สไตล์การออกแบบที่ไร้กาลเวลา และถ่ายทอดสัมผัสแห่ง อารมณ์ดีและความสดชื่นเพื่อสร้างประสบการณ์ที่แตกต่าง ไม่เหมือนใคร
แนวโน้มการออกแบบทั้ง 4 ประจำปี 2020 True Value, Technical Craft, Happiness Play และ Heritage Fusion เหล่านี้เป็นทิศทางที่ถูกวิเคราะห์และเรียบเรียงมาให้แล้วโดย SACICT
ซึ่งทั้ง 4 แนวโน้ม และแนวทางของแนวคิดทางการออกแบบอีกมากมายในเล่มข้อมูลวิจัยเทรนด์นั้น จะเปรียบเหมือนเป็นบานประตูสู่อนาคตของผู้ผลิต ครูช่างหัตถกรรม นักออกแบบ และชุมชนต่าง ๆ ที่เป็นผู้ประกอบการงานหัตถศิลป์เพื่อให้เข้าใกล้ความต้องการของตลาดแห่งอนาคตได้อย่างแม่นยำ และสามารถคว้าโอกาสนำสู่การเติบโตอย่างแข็งแรงได้
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม