"10 รูปแบบ Facade Design" สไตล์โมเดิร์นทรอปิคอลเขตร้อน เรียบง่าย แต่สวยปัง

Facade หรือ เปลือกภายนอกของอาคาร ซึ่งมีหน้าที่ให้ความสวยงาม สร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นให่้กับอาคาร นอกจากนี้ยังช่วยคอยบังสายตา ป้องกันแสงสว่างที่จ้าเกินไป ช่วยชลอความร้อนก่อนเข้าสู่ตัวอาคาร และยังช่วยให้ร่มเงาโดยที่ลม หรือ อากาศยังสามารถถ่ายเทผ่านช่องว่างของตัว Facade ได้ ซึ่งช่วยในการประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคาร เนื่องจาก Facade เป็นผนังชั้นที่สอง ซึ่งเป็นเปลือกอาคารที่อยู่ชั้นภายนอกสุด จะช่วยปกป้องผนังชั้นในสุดให้สามารถรักษาความสมดุลของอากาศภายในอาคารได้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

และเนื่องจากประเทศไทย หรือ ประเทศอื่นๆในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในเขตร้อนชื้น วันนี้เราจึงมี "10 Facade Design" สไตล์โมเดิร์นทรอปิคอลเขตร้อน หลากหลายรูปแบบ ที่มีความเรียบง่าย แต่สวยปัง มาให้ได้ชมกันครับ

รูปภาพประกอบโดย www.contemporist.com

1. Mix & Match Facade

เป็นการผสมผสานในด้านการเลือกใช้วัสดุที่หลากหลาย เช่น ไม้ กระจกบานเกล็ด ตะแกรงเหล็ก รวมถึงต้นไม้ประดับ ที่นำมาผสมผสานให้อยู่ในโทนเดียวกันได้อย่างสวยงาม ไม่เหมือนใคร ลดความร้อนได้ แสง และลมสามารถผ่านได้ แต่ต้องหมั่นดูแลสักนิดหนึ่ง

รูปภาพประกอบโดย www.archilovers.com

2. Brick Facade

ทำมาจากวัสดุอิฐเป็นหลัก โดยจัดวางใน Pattern สมัยใหม่แบบโมเดิร์น ให้ความสวยงามแบบย้อนยุค แต่ไม่ล้าสมัย ป้องกันแสง และความร้อนได้ดี อากาศถ่ายเทผ่านได้สะดวก แต่ต้องระวังเรื่องฝุ่นสะสมด้วยเช่นกัน

รูปภาพประกอบโดย www.casavogue.globo.com

3. Wooden Sliding Facade

ทำมาจากไม้ โดยมีกรอบบานที่สามารถเลื่อนเปิดปิดได้ตามความต้องการ ให้มุมมองที่เป็นส่วนตัวเมื่อปิด และสามารถรับทัศนียภาพภายนอกได้เมื่อเปิดออก โดดเด่นในเรื่องความสะดวกสะบายในการใช้งาน

รูปภาพประกอบโดย www.honestlywtf.com

4. Block Pattern Facade

ทำมาจากบล็อกช่องลม มีความโดดเด่นในเรื่องของแสงเงาที่ตกกระทบ ซึ่งให้มิติที่สวยงามแปลกตา เนื่องจากบล็อกช่องลมมีรูปแบบ Pattern ให้เลือกได้อย่างหลากหลายนั่นเอง ส่วนในเรื่องการใช้งานสามารถกรองแสง ชลอความร้อนได้ดี อากาศถ่านเทได้สะดวก แต่ให้ระวังเรื่องฝุ่นสะสม

รูปภาพประกอบโดย www.thesetingstaketime.com

5. Vintage Tropical Facade

ทำมาจากหน้าต่างไม้เก่าที่นำมาทำสีใหม่ แล้วนำมาจัดวางใน Pattern ใหม่ที่มีความสวยงาม ให้กลิ่นอายแบบย้อนยุคโดยผสมผสานกับบรรยากาศเขตร้อนได้อย่างลงตัว ส่วนในเรื่องการใช้งานสามารถกรองแสง ชลอความร้อนได้ดี อากาศถ่านเทได้สะดวก แต่เนื่องจากตัววัสดุนั้นเป็นไม้ จึงทำให้ต้องคำนึงถึงอายุการใช้งานด้วยเช่นกัน

รูปภาพประกอบโดย www.habitusliving.com

ผู้สนับสนุน

 

6. Building Form & Facade

ส่วนใหญ่มาจากการออกแบบรูปทรงทางสถาปัตยกรรมของคาร โดยทำให้ Facade กลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวอาคารได้อย่างกลมกลืน และผสานเป็นแมสเดียวกัน วัสดุหลักที่ใช้ เช่น ปูน ไม้ และเหล็ก เพราะวัสดุเหล้านี้ล้วนเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร ในด้านการใช้งานสามารถระบายอากาศได้ดี ป้องกันความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง แสงสว่างสามารถผ่านเข้ามาได้อย่างเหมาะสม

รูปภาพประกอบโดย www.dezeen.com

7. Perforated Metal Facade

ทำมาจากวัสดุตะแกรงเหล็ก เหมาะกับงานออกแบบที่ต้องการความเรียบง่าย ทันสมัย มีจุดเด่นในเรื่องการระบายที่ค่อนข้างดี แสงสามารถส่องผ่านได้เหมาะสม ป้องกันความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องระวังเรื่องสนิม ควรเลือกวัสดุเกรดสูง และพ่นสีเคลือบอีกชั้น จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้มากขึ้น

รูปภาพประกอบโดย www.archdaily.com

8. Wooden Facade

ทำมาจากวัสดุไม้ หรือวัสดุทดแทนเช่นอะลูมิเนียมลายไม้ เป็นการนำระแนงมาจัดวางในรูปแบบ Pattern แนวตั้ง ไม่ซับซ้อนอะไรมาก มีความเรียบง่าย แต่ดูดี สามารถทำได้ไม่ยากจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  ในด้านการใช้งานสามารถกรองแสง และระบายอากาศได้อย่างเหมาะสม ช่วยชะลอความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง

รูปภาพประกอบโดย www.architonic.com

9. Wooden Window Facade

สามารถใช้วัสดุในการทำได้อย่างหลากหลาย เช่น ไม้ อะลูมิเนียม ฯลฯ แต่ความพิเศษของ Facade ประเภทนี้ คือ กรอบบานที่มีลักษณะเป็นเฟรมโครงเหล็ก สามารถเปิดปิดได้คล้ายหน้าต่าง ซึ่งนอกเหนือจากการกรองแสง และความร้อนแล้ว ยังให้ความสะดวกสะบายในการใช้งานตามความต้องการได้เป็นอย่างดี

รูปภาพประกอบโดย www.plataformaarquitectura.cl

10. Standard Tropical Facade 

ทำมาจากวัสดุไม้ หรือวัสดุทดแทนเช่นอะลูมิเนียมลายไม้ เป็นประเภท Facade ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันพอสมควรในประเทศไทย เนื่องจากทำได้ไม่ยากจึงได้รับความนิยมค่อนข้างมาก โดยมีการจัดวางระแนงแบบ Pattern แนวนอนเพื่อป้องกันแสง และความร้อนจากดวงอาทิตย์ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถระบายอากาศได้สะดวก ให้ความเรียบง่าย สวยงามอย่างมีสไตล์

Wazzadu Academy : ข้อมูลวัสดุศาสตร์ในหมวดอื่นๆที่น่าสนใจ​

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ