การติดตั้ง เฟอร์นิเจอร์ บิ๊วอิน (Built in furniture) ที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน
ขั้นตอนการทำเฟอร์นิเจอร์ บิ๊วอิน (Built in furniture)
1.เลือกชนิดของไม้โครง ไม้โครงมีทั้งเนื้ออ่อน เนื้อแข็ง การเลือกใช้ควรเลือกประเภทไม้เนื้อแข็ง เพราะมีความเหนียวและแข็งแรงกว่า
2. การอาบน้ำยากันปลวก ถึงแม้ว่าโรงงานผู้ผลิตจะอบน้ำยามาให้แล้วก็ตามไม้ ช่างจะทาน้ำยากันปลวกทุกด้านของไม้โครง เพื่อความมั่นใจ น้ำยากันปลวกมีแบบสีใส และสีน้ำตาลดำ หากมีเวลาดูช่างทำงานโดยช่างขึ้นชิ้นงานที่หน้างานเลยก็สามารถใช้น้ำยากันปลวกสีใสได้ แต่ถ้าช่างขึ้นงานที่โรงงานของช่างเอง ก็ให้ใช้น้ำยากันปลวกสีน้ำตาลดำ เพื่อให้เห็นชัดเจนว่าทาน้ำยาเรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงประเภทสักจ๊อยจะเป็นสักสวนป่า โครงไม้เนื้ออ่อน หลายคนเข้าใจว่าปลวกไม่กิน แต่จริงๆแล้วปลวกกินเพราะไม้สักสวนป่านั้นยังมีเนื้อที่อ่อนอยู่มาก ถ้าต้องการโครงไม้ที่ปลวกไม่กินเลยต้องเลือกไม้โครงสักเนื้อหรือสักแท้ แต่มีราคาแพงกว่าไม้โครงทั่วไป 3-4 เท่า
3.ประกอบโครงไม้ แล้วยิงตะปูยึดไม้อัดหน้า-หลัง เข้ากับโครงไม้ แล้วขึ้นประกอบเป็นตู้ ขั้นตอนนี้ช่างจะเช็คระยะต่างๆให้ได้ดิ่งได้ฉาก การเลือกใช้ไม้อัดก็ขึ้นอยู่กับสีสัน ลายไม้ที่ต้องการ หากต้องการงานสีพ่นก็สามารถเลือกใช้ไม้อัดยางได้ ราคาไม่แพงเพราะไม่ต้องการให้โชว์ลายแต่ต้องการสีที่เรียบ หากต้องการลายไม้ธรรมชาติก็สามารถเลือกไม้อัดสัก ไม้อัดแอช ฯลฯตามลายไม้ที่ต้องการ
4.ประกอบขึ้นเป็นตู้ต่างๆ ขั้นตอนนี้ช่างจะเริ่มประกอบร่างและยึดติดเข้ากับพื้นที่ หาผนังล้ม ไม่ได้ดิ่งหรือฉาก ช่างจะเสริมไม้แผ่นริมเพื่ออุดร่องระหว่างตู้ที่ได้ฉากกับผนังที่ล้ม ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งควรจะตรวจสอบและแก้ไขกันตั้งแต่ก่ออิฐผนัง
5 .การทำสี หรือปิดผิว การทำสีก็มีหลายรูปแบบหลายราคา ตั้งแต่สีด้านธรรมดา สี Hi-Gross สีธรรมชาติ
2.1 สีพ่นด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน
จะต้องเลือกใช้ไม้อัดเกรด AA เสี้ยนจะน้อย ไม้ไม่เป็นคลื่น นำมาขัดโป๊วลงไปในเสี้ยน เพื่อให้งานเรียบลื่น กลบเสี้ยนไม้ ขัดด้วยกระดาษทราย เมื่อชิ้นงานเรียบร้อยแล้วก็นำมาพ่นสีรองพื้น แล้วนำมาพ่นทับด้วยสีจริง ขั้นตอนสุดท้ายจะใช้ทินเนอร์ผสมแลคเกอร์พ่นทับ ก็จะได้ชิ้นงานสีพ่นที่ดูเรียบร้อยสวยงาม
2.2 สีพ่น Hi-Gloss
จริงๆแล้ว คำว่า “ไฮกรอส” เป็นคำเรียกลักษณะสี ที่มีความเงา 100 % และเนื้อสีใสเหมือนกระจก เท่านั้น
การพ่นด้วยโพลีเอทธิรีน PE (Polyethylene high-gloss)
เริ่มแรก มาจาก ในวงการโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว เริ่มมีต้องการสินค้า ที่มีความเงา 100% เนื้อสีใส และสามารถทนรอยขีดข่วนได้เป็นอย่างดี (ความเงา 100 % สามารถทำได้นานแล้ว ติดแค่กระบวนการทำให้เนื้อสีใส) สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ ที่ใช้ภายในโรงแรมต่างประเทศ (ขณะนั้น เป็นพิมพ์นิยม) จึงเริ่มพัฒนา สี PE ที่มีคุณสมบัติปกป้องรอยขีดข่วน ปรับขั้นตอนแต่ละขบวนการ ให้เนื้อสี มีความใส (ไม่ขุ่น) จนได้มา เป็นสีไฮกรอส (ซึ่งต่อมาอีก 10 ปี ถ้าพูดถึงไฮกรอส ในโรงงานจะหมายถึงสี PE เท่านั้น)
โพ ลียูรีเทน มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนต่อการขูดขีดและสารเคมีสูง ชั้นฟิล์มหนา เหนียว แข็ง ทนต่อการขัดสีสูง ยึดเกาะผิวหน้าดี ทนต่อสารเคมี ให้ค่าความเงาผิว 100% เป็นงานพ่นเคลือบที่แห้งช้า แต่ให้ความเงางามจนสามารถสะท้อนเงาได้ ทนความร้อน ความชื้น รักษาเนื้อไม้ไม่โป่งพอง ถ้าเอาเล็บขูดลงไปจะไม่เกิดรอยให้เห็น ต้องอาศัยช่างที่ชำนาญเป็นพิเศษในการทำ
เนื่อง จากโมเลกุลของโพลียูรีเทนมีขนาดที่เล็กมากจึงทำให้โมเลกุลของน้ำไม่สามารถ แทรกซึมผ่านชั้นสีได้ ทำให้หน้าบานที่พ่นด้วยโพลียูรีเทนอย่างถูกวิธีจะไม่ซีดหรือเปลี่ยนสี หรือในกรณีที่พ่นสีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้
การ พ่นในแต่ละครั้งต้องทิ้งให้แห้งราว 8 ชั่วโมง จึงจะสามารถพ่นทับชั้นต่อไปได้ การพ่นด้วยโพลียูรีเทนนั้นจึงต้องทำที่โรงงานเท่านั้น ไม่สามารถทำหน้างานได้เลย พบได้ในงานครัวคุณภาพสูง
ขั้นตอนการผลิตสีไฮกรอสทั่วไป ต้องมีการพ่นสีประเภทต่างๆ ทั้งหมดรวมแล้ว ไม่ต่ำกว่า 6 ขั้นตอน (ขั้นตอนงานที่ผลิตในต่างประเทศ จะต้องพ่นประมาณ 10-12 ขั้นตอน) ดังนั้น สีที่ใช้ในงานรับเหมาทั่วไป ส่วนใหญ่ จึงเป็นสีพ่นรถยนต์ ที่นำมาประยุกต์ใช้แทนสี PE Hi Gloss ซึ่งข้อแตกต่าง ที่น่าจะเห็นได้ชัดเจน คือ ในส่วนของสี PE Hi Gloss จะมีขั้นตอนการพ่นสีรองพื้นกันยาง และสี PE Hi Gloss เมื่อทำสีสำเร็จ จะมีคุณสมบัติปกป้องความร้อนได้ระดับที่ สามารถนำบุหรี่ หรือธูป ที่ติดไฟ มาดับบนพื้นผิว โดยไม่เกิดความเสียหายได้ สำหรับ ปัจจุบัน ด้วยเรื่องราคาต้นทุนต่างๆ ที่มีการแข่งขันกันอยู่รุนแรง จึงทำให้ได้มีการพัฒนา สีแลคเกอร์ และ สี PU ให้เป็นสีลักษณะ Hi Gioss เพื่อลดต้นทุนในการผลิตลง จะได้นำไปแข่งขันกับจีน และเวียดนามได้
การพ่นด้วยอะครีลิค แลคเกอร์ (acrylic lacquer high-gloss)
เนื่อง จากการพ่นด้วยโพลียูรีเทนนั้นมีราคาสูง ใช้เวลานาน และต้องมีความชำนาญพิเศษ ผู้ผลิตบางรายจึงหันมาใช้ acrylic lacquer ในการทำหน้าบานไฮกลอส เพื่อลดความยุ่งยากในการทำงานและลดต้นทุนเพื่อให้ลูกค้าเป็นเจ้าของงานไฮกลอสได้ง่ายขึ้น งานอะครีลิคไฮกรอสถือว่าเป็นงานที่อยู่ในเกรดเดียวกับการพ่นเคลือบเงารถยนต์ ข้อดีของอะครีลิค แลคเกอร์คือแห้งเร็วกว่า สามารถนำมาทำหน้างานได้ แต่จะเป็นรอยได้ง่าย มีโมเลกุลที่ใหญ่กว่าโพลียูรีเทนทำให้โมเลกุลของน้ำสามารถซึมผ่านชั้นสีไป ได้ ก่อให้เกิดปัญหาสีเปลี่ยนหรือหน้าบานเกิดปัญหาจากน้ำ และมีความเงางามที่ไม่สวยเท่างานโพลียูรีเทน
2.3การทำสีธรรมชาติ
การทำสีธรรมชาติให้เลือกลายไม้ที่ต้องการก่อน เช่น ไม้สัก ไม้โอ๊ค ไม้บีช ไม้แอชหรือไม้อัดต่างๆ แล้วนำมาเตรียมพื้นผิวไม้ด้วยการขัดให้ผิวเรียบละเอียดไม่สะดุด
การย้อมสีไม้ด้วยน้ำยาวู้ดเสตนนั้นเพื่อป้องกันแสงแดดและน้ำที่อาจซึมเข้าเนื้อไม้ แล้วตกแต่งผิวด้วยน้ำยาวานิชแล็กเกอร์ และเชลแลก เพื่อช่วยขับลายไม้ให้สวยงามลายชัดเจน
การเลือกใช้สีธรรมชาติ โชว์ลายไม้นั้นดีตรงที่เมื่อผิวถูกกระแทกจนมีริ้วรอย มักจะไม่ชัดเจนเท่าสีพ่น ทำให้ไม้ดูใหม่อยู่เสมอ
ชนิดและคุณสมบัติของสีที่ใช้เคลือบผิว
1. ชแลค มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
- ชแลคผง มีลักษณะเป็นผง เม็ดกลม สีเหลืองอ่อนๆ โดยทั่วไป นิยมเรียกว่า ชแลคขาว
- ชแลคเกล็ด มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ คล้ายกระดาษแก้ว เป็นแผ่นเล็กๆ ขนาดประมาณ 1” บางทีเรียกว่า ชแลคสีส้ม เพราะเกล็ดมีสีออกแดงส้ม
ขอบคุณที่มาเเละภาพประกอบ
http://www.hollywood88.com
http://www.thaicarpenter.com
https://teakyou.wordpress.com
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม