กระจกดัดแปลง ( Processed Glass) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

กระจกดัดแปลง ( Processed Glass)

3.1 กระจกฉนวน ( Insulated Glass)

กระจกฉนวนความร้อน ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการนำกระจก 2 แผ่น มา ประกอบกันโดยมี
เฟรมอลูมิเนียมคั่นกลาง ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่นำสมัยด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นกระจกที่ช่วยในด้านการประหยัดพลังงานป้องกันการถ่ายเทความร้อนระหว่าง ภายในกับภายนอกอาคารคุณสมบัติสามารถป้องกัน
การถ่ายเทความร้อนจากภายนอกก่อให้ เกิดบรรยากาศสบายแก่ผู้อยู่อาศัยป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก ก่อให้เกิดบรรยากาศ เป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย สามารถป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอก จึงช่วยลด ภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและพลังงาน ไม่ทำให้เกิดฝ้าหรือหยดน้ำ แม้ว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกแตกต่างกันมาก
รูปแบบการใช้งาน
- ใช้กับอาคารสูงระฟ้า อาคารสำนักงาน และอาคารพาณิชย์ทั่วไป ที่ต้องการควบคุมสภาพ แวดล้อมภายในด้านเสียง อุณหภูมิ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล สนามบิน สำนักงาน เป็นต้น
- ใช้ในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และพลังงาน
- ใช้ในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการตัดเสียงรบกวนจากภายนอก และภายใน เช่น ห้องบันทึก เสียง เป็นต้น

 

คุณสมบัติ

· ป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร ลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ

· ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกอาคารได้ดีกว่ากระจกธรรมดา

· สามารถรับแรงดันลมได้เพิ่มขึ้น

· ให้ความปลอดภัยในอาคาร ในกรณีที่ใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ หรือ กระจกนิรภัยหลายชั้นมาผลิตเป็นกระจกฉนวนความร้อน

 

ข้อแนะนำ
- ควรเก็บกระจกภายในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่มีแสงแดดส่องผ่านโดยตรง
- ไม่ควรใช้งานในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียสเนื่องจากอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
- ไม่ควรให้ลมจากเครื่องปรับอากาศกระทบกระจกโดยตรง

3.2 กระจกฮีตมิเรอร์ ( Heat Mirror Glass)

กระจกฮีตมิเรอร์ เป็นกระจกสองชั้นที่เคลือบสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำทั้ง 2 ด้านของฟิล์มที่อยู่ระหว่างช่องอากาศ โดยที่ช่องว่างอากาศทั้งสองข้างจะกลายเป็นช่องว่างอากาศสะท้อนรังสี

คุณสมบัติ

·  สามารถสะท้อนความร้อนออกไปจากกระจกได้มากถึงประมาณ 80% หรือยอมให้ความร้อนส่งผ่านเข้ามาเพียง 10% และที่เหลืออยู่อีก 10%จะถูกดุดกลืนเข้าไปในกระจก

·  ยอมให้แสงสว่างผ่านเข้ามาได้ดี ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้กระจกและฟิล์ม

·  ป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต โดยสะท้อนได้ประมาณ 98%

3.3 กระจกฮีทสต๊อป ( Heat Stop Glass)

เป็นกระจกสองชั้น ประกอบขึ้นด้วยกระจกสะท้อนแสงที่เคลือบด้วยสารที่ทำให้เกิดสภาพการแผ่รังสีต่ำเป็นกระจกด้านนอกและด้านในใช้กระจกใส สารที่เคลือบนั้นสามารถป้องกันความร้อนให้ผ่านเข้ามาได้เพียง 5% ช่องว่างตรงกลางใส่ก๊าซอาร์กอน

คุณสมบัติ

·  สามารถสะท้อนความร้อนออกจากกระจกได้มาก

·  ยอมให้แสงสว่างผ่านกระจกเข้ามามากถึงประมาณ 60%

·  ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ตโดยสะท้อนได้ประมาณ 95%

3.4 กระจกนิรภัยหลายชั้น( Laminated Safty Glass)

กระจกนิรภัยหลายชั้น ซึ่งเกิดจากการนำเอากระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมา ประกบติดกันโดยมี
แผ่นฟิล์ม ( Polyvinyl Butyral ; PVB ) ที่มีคุณสมบัติเหนียวคั่นกลางซึ่งทำหน้าที่ยึดแผ่นกระจกให้ ติดกัน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง และความปลอดภัยสูง

ฟิล์มPVBทั่วไปมีความหนาของแผ่น 0.38มม ถ้ากระจกที่มาประกบกันมีขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้จานวนชั้นฟิล์มเพิ่มขึ้น เราจึงเห็นได้ว่าการระบุความหนาของฟิล์มมีตั้งแต่ 0.38, 0.76. 1.14, หรือ 1.52มม. ซึ่งก็คือ 1, 2, 3, หรือ 4 ชั้นนั่นเอง กระจกลามิเนตอาจจะประกอบด้วยกระจกมากกว่า 2 แผ่นประกบกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์การใช้งาน การนำกระจกหลายๆ ชั้นมาประกบลามิเนตสามารถนำไปใช้เป็นกระจกกันกระสุน หรือพื้นกระจก

สิ่งที่สาคัญอีกประการของกระจกลามิเนตก็คือ เราสามารถนำกระจก A/N , H/S หรือ T/P มาประกบก็ได้ แล้วแต่รูปแบบการใช้งาน ดังนั้นถ้าเราพูดว่ากระจกลามิเนต 12มม โดยไม่ระบุอะไรเพิ่มเติม เราก็จะได้กระจก A/N ใส 6มม + 0.38มม PVB ใส + A/N ใส 6มม อันเป็นรูปแบบที่ราคาถูกที่สุด สาหรับการพูดลอยๆ ถึง กระจกลามิเนต 12มม.

ข้อควรพิจารณา

· แผ่นฟิล์มมีคุณสมบัติในการอมความร้อน จึงไม่ควรเลือกกระจกต่อไปนี้เข้ามาผนึกด้วยกัน

กระจกสีตัดแสง ผนึกกับ กระจกสีตัดแสง

กระจกสีตัดแสงเสริมลวด ผนึกกับ กระจกแผ่นเรียบ

กระจกสะท้อนแสง ผนึกกับ กระจกเสริมลวด

· มีความแข็งแรงต่อแรงอัดของลมน้อยกว่ากระจกธรรมดาที่หนาเท่ากัน

·   เมื่อเกิดการแตกเศษกระจกยังคงยึดติดกับแผ่นฟิล์มไม่ร่วงหล่นลงมาช่วยลดอันตราย จึงเหมาะกับการใช้งานบริเวณที่ลาดเอียงหรือบริเวณที่อยู่เหนือศีรษะ เช่น อาคารสูงและ หลังคา เป็นต้น

·  เมื่อกระจกนิรภัยเทมเปอร์มาผนึกเข้าด้วยกันควรใช้แผ่นฟิล์มที่ความหนาไม่ต่ำกว่า 0.76มม เป็นตัวยึดกระจก เพื่อป้องกันการเกิดฟองอากาศเนื่องจากผิวกระจกไม่เรียบ

คุณสมบัติ

·  สามารถช่วยลดแสง UV และเสียงรบกวนได้ดีสร้างความเป็นส่วนตัวแก่ผู้อยู่อาศัยมั่นใจในความปลอดภัย

·  ใช้ในการป้องกันการบุกรุกได้

·  ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ

รูปแบบการใช้งาน
- กระจกหน้าต่างอาคาร,ผนังภายใน
- ประตูทางเข้าอาคาร,ประตูภายในอาคาร
- ตู้กระจกแสดงสินค้า และสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการโจรกรรม เช่น พิพิธภัณฑ์,ร้าน เครื่องเพชร,พลอย เป็นต้น
- กระจกที่ติดตั้งอยู่เหนือศีรษะ หรือผนังลาดเอียง เช่น หลังคา

- ผนังห้องประชุม เพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอก
- ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ และสถานที่ ที่ต้องการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ
- ราวบันได ราวระเบียง ราวเฉลียง ซึ่งใช้ป้องกันการพลัดตกจากที่สูง
- กระจกกันกระสุน (.38 ซุปเปอร์อัตโนมัติ,.357 แมกนั่ม รีออริโอ, .44 แมกนั่ม รีออ ริโอ, .30 -.06 ปืนกลไรเฟิล)

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ