วัสดุเเนะนำ : แผ่นไม้อัด (Particle board) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน
มาพบกันอีกแล้ว กับ WAZZADU Material Review (Particle board) พาร์ติเกิ้ลบอร์ด หรือ บางประเทศมีการเรียกว่า ชิปบอร์ด (chipboard) เป็นไม้วิศวกรรมประเภทหนึ่ง สร้างมาจากเศษชิ้นไม้ หรือ แม้แต่ขี้เลื่อย มาประสานกันโดยสารเคมี และนำมาทำการบดอัดด้วยความดันสูง พาร์ติเกิลบอร์ดจัดเป็นไฟเบอร์บอร์ดชนิดหนึ่ง และ particle board จะใช้ไม้ยางพาราสับเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับกาว แล้วนำไปอัดขึ้นรูปเป็นแผ่นไม้ เนื้อไม้จะ “เหนียวแต่ไม่แน่น” ได้เปรียบตรงความเหนียวที่ได้จากเส้นใยที่ประสานกัน แต่เนื้อไม้ก็จะฟู หยาบ ไม่แน่น ถ้าเอาอะไรแข็งๆ มาขูดลงไปบนเนื้อไม้ เนื้อไม้จะยุ่ยขึ้นมา ในเนื้อไม้จะมีโพรงอากาศเล็กๆ เต็มไป ทำให้ไม้เบากว่าไม้จริง มักนิยมเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ หรือโครง Built-in furniture ไม่นิยมพ่นสีแต่จะใช้การปิดผิวด้วยวัสดุอื่นแทน
กรรมวิธีการผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด ( Particle board )
กรรมวิธีการผลิต เริ่มจากขั้นตอนการเตรียมชิ้นไม้ เมื่อได้ไม้ท่อนมาจะถูกส่งเข้าเครื่องตัดเป็นชิ้นแต่ถ้าเป็นเศษไม้จะส่งเข้าเครื่องตัดชิ้นไม้อีกแบบหนึ่ง หลังจากนั้นจะถูกส่งเข้าไปเก็บในยุ้งเก็บชิ้นไม้ชื้นและส่งไปอบด้วยเครื่องอบชิ้นไม้จนเหลือความชื้นประมาณ 2-3% จึงถูกส่งไปเก็บในยุ้งชิ้นไม้แห้งและส่งต่อไปเข้าเครื่องคัดขนาด (AIRSEPARATOR) ชิ้นไม้ที่ใหญ่เกินขนาดจะถูกส่งเข้าเครื่องย่อยชิ้นไม้ (KNIFFLINK FLAKER)ให้ได้ขนาดที่ต้องการก่อนถูกส่งผ่านไปยุ้งพักและเครื่องชั่งควบคุมน้ำหนัก ส่วนชิ้นไม้ที่ได้ขนาดพอดีก็ถูกส่งผ่านไปยังเครื่องชั่งควบคุมน้ำหนักจากนั้นถึงขั้นตอนการผสมกาวเข้ากับชิ้นไม้แล้วผ่านเข้าเครื่องทำแผ่นชนิดพิเศษ MATHFORMING MACHINE เมื่อได้แผ่นชิ้นไม้ที่ทำเรียบร้อยแล้วจะเคลื่อนตัวบนสายพานเหล็กใต้เครื่องทำแผ่นไปเข้า MENDE PRESS ซึ่งจะถูกอักระหว่างลูกกลิ้งร้อนตัวใหญ่ (HEATED PRESS DRUM)กับตับลูกกลิ้งอัดเล็ก (PRESSURE ROLLS) ต่อเนื่องกันไปที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียสซึ่งจะได้ PARTICALEBOARD ที่มีความยาวต่อเนื่องกันไปการผลิต PARTICLE BOARDจะเกิดฝุ่นอันเนื่องจากการขัดแผ่นPARTICLE BOARD โรงงานเหล่านี้ มีการติดตั้งเครื่องดูดฝุ่น เพื่อกำจัดมลภาวะทางอากาศอันอาจจะทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจและฝุ่น ฝุ่นเหล่านี้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยส่วนหนึ่งจะทำเป็นเชื้อเพลิงในขบวนการผลิต อีกส่วนหนึ่งจะนำกลับมาใช้ผลิตแผ่น PARTICLE BOARDใหม่และฝุ่นที่ละเอียดสามารถจำหน่ายให้กับผู้ผลิตธูปได้อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและภาวะสิ้งแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
วัตถุดิบการผลิต
วัตถุดิบที่สำคัญในการผลิต PARTICLE BOARDได้แก่
-ไม้หรือวัสดุที่มีลิกนินหรือ เซลลูโลส(เช่นชานอ้อย)ซึ่งแหล่งวัตถุดิบเหล่านี้หาได้ภายในประเทศ
-ไม้ยางพารา มีมากในแถบภาคใต้และภาคตะวันออก
-ไม้ยูคาลิปตัสพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
-เศษไม้ มีอยู่ทั่วไปจากโรงเลื่อยและโรงงานไม้แปรรูปที่มีอยู่ทั่วประเทศ
-กาว ใช้เป็นตัวประสานให้ชิ้นไม้ประสานกัน โดยใช้กาวชนิดยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ หรือกาวสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ซึ่งสามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถซื้อได้จากประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย-WAX และสารเคมีอื่น ๆสามารถจัดซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศ
คุณสมบัติของแผ่นไม้ ( Particle board )
ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนั้น เป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบาสุดในบรรดาไฟเบอร์บอร์ด ซึ่งความแข็งแรงก็น้อยกว่าเอ็มดีเอฟ และฮาร์ดวูด ข้อด้อยอีกอย่างของปาร์ติเกิ้ลบอร์ดคือ ตัวเนื้อไม้มีการขยายตัวได้ง่าย เนื่องจากความชื้นโดยเฉพาะไม้ที่ไม่ได้มีการ ทาสี หรือว่าเคลือบซีลเลอร์ อย่างไรก็ตามปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนิยมนำมาใช้ในงานไม้ที่ใช้ในตัวอาคาร แทนที่งานภายนอกอาคารที่มีความชื้นสูง ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนำมาใช้ตามเคาน์เตอร์ นำมาใช้เป็นฉนวนมีขนาดตั้งแต่
ขนาดมาตรฐานของ ไม้ ( Particle board )
Particle Board คือแผ่นไม้ที่ผลิต จาก การนำไม้ตามธรรมชาติมาบดย่อย เป็นชิ้นขนาดเล็กๆและนำมาอัดเข้ารูปเป็นแผ่นด้วยความร้อน กาวพิเศษ และแรงอัด พร้อมการผ่านกระบวนการทางเคมี เพื่อให้สามารถป้องกันความชื้นและปลวก โดยจะผลิตเป็นแผ่นสำเร็จรูปขนาด 1200 x 2400 มม. และ ขนาด 1800 x 2400 มม. และมีขนาดความหนาต่างๆกัน เช่น ขนาดหนา 3 มม. , 9 มม.,16 มม., 19 มม., เป็นต้น
โดยแผ่นที่ผลิตได้ยังเป็นแผ่นเปลือย ที่จะต้องนำไปปิดผิว ภายนอกก่อนนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์
ความหนามาตรฐาน : 9, 12, 15, 16, 18, 19 และ 25 มม.
ขนาดมตารฐาน : 1220 x 2440 มม.
ความหนาแน่น : 160-450 กก./ม³
ประเภทของ ไม้ ( Particle board )
ไม้ปาร์ติเกิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากชิ้นไม้ยางพาราที่ไม่สามารถให้น้ำยางพาราได้แล้ว โดยนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นภายใต้แรงดันและใช้กาวเป็นตัวประสาน แผ่นไม้ปาร์ติเกิลจะมี 3 ชั้น คือ ชั้นผิวบน ชั้นผิวล่าง มีความละเอียด และชั้นไส้ตรงกลาง มีความหยาบกว่า วัตถุดิบที่นำมาผลิตไม้ปาร์ติเกิล ได้แก่ ไม้ยางพาราที่หมดอายุการใช้งานแล้ว
ไม้ปาร์ติเคิลจะเคลือบผิว 4 ประเภท ดังนี้
1. ฟรอยด์ = กระดาษเคลือบด้วยเรซิน (ตามร้านเฟอร์ที่ขายถูก ๆ ทั่ว ๆ ไป) ใช้เล็บกรีดเป็นรอยไม่กันน้ำ
2. ปิดด้วย pvc ถ้าลองแงะดูจะเป็นแผ่นยางแข็ง ๆ กันน้ำได้กรณีเอาแก้วน้ำวางไว้ น้ำหก แต่ไม่กันร้อน
3. เมลามีน ใช้กันทั้วไปราคาสมเหตุสมผล กันน้ำได้ ทั้งร้อน / เย็น
4. ลามิเนต ทนร่อน / เย็น คราบ ทำความสะอาดง่าย
คุณสมบัติที่น่าสนใจของไม้ ( Particle board )
( Particle board ) ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดเมื่อเปรียบเทียบกับไม้จริงและไม้อัด จะมีราคาที่ถูกกว่า ความหนาแน่นมากกว่า และมีเนื้อไม้ที่มีลักษณะเดียวกันทั้งชิ้น ขณะที่ความแข็งแรงของปาร์ติเกิ้ลบอร์ดจะน้อยกว่า โดยเมื่อนำมาใช้งานนิยมนำวีเนียร์มาติดเป็นผิวหน้าเพื่อแสดงลายไม้ หรือบางครั้งนิยมนำมาทาสีตกแต่ง
การเปรียบเทียบคุณสมบัติ Particle board กับ MDF หรือ Medium Density Fiber Board
กระบวนการผลิตหรือต้นกำเนิดของ particle board กับ MDF จะคล้ายกัน ใช้เศษไม้มาย่อย แล้วผสมกาว นำไปอัดเป็นแผ่น แล้วทำ finishing อีกชั้นเพื่อความสวยงามด้วยวัสดุปิดผิว เช่น ลามิเนต กระดาษ หรือเมลามีน แต่ที่ทำให้ทั้งคู่ต่างกัน ก็คือ เรื่องของคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ที่ทำให้เหมาะกับการนำไปใช้ที่ต่างกัน
แผ่น particle board จะใช้ไม้ยางพาราสับเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับกาว แล้วนำไปอัดขึ้นรูปเป็นแผ่นไม้ เนื้อไม้จะ “เหนียวแต่ไม่แน่น” ได้เปรียบตรงความเหนียวที่ได้จากเส้นใยที่ประสานกัน แต่เนื้อไม้ก็จะฟู หยาบ ไม่แน่น ถ้าเอาอะไรแข็งๆ มาขูดลงไปบนเนื้อไม้ เนื้อไม้จะยุ่ยขึ้นมา ในเนื้อไม้จะมีโพรงอากาศเล็กๆ เต็มไป ทำให้ไม้เบากว่าไม้จริง มักนิยมเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ หรือโครง Built-in furniture ไม่นิยมพ่นสีแต่จะใช้การปิดผิวด้วยวัสดุอื่นแทน
ส่วน MDF หรือ Medium Density Fiber Board หรือแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ส่วนใหญ่จะใช้ทำบานเปิดเฟอร์นิเจอร์ หรือแม้แต่บานประตู แต่จะมีน้ำหนักมากกว่า แผ่นไม้จะให้เนื้อละเอียด เนียนเรียบเพราะหลังจากที่นำไม้มาสับละเอียดแล้วขึ้นเป็นแผ่น จะนำแผ่นนั้นมาบดเป็นผงอีกทีหนึ่ง แล้วจึงนำไปผสมกับกาวอบให้แห้ง เพื่อนำไปอัดแผ่น ด้วยความร้อนอีกครั้ง
ตัวอย่างวิธีการติดแผ่นลามิเนต (ฟอร์เมการ์) กับไม้ Particle board
วัตถุดิบและวัสดุ ที่นิยมมาปิดทับด้วยแผ่นลามิเนท กับไม้ Particle board แผ่นวัสดุที่จะนำแผ่นลามิเนทมาปิดทับ ส่วนใหญ่นิยมแผ่นวัสดุที่มีความหนาและเรียบ ประโยชน์ใช้สอยส่วนใหญ่ใช้กับแผ่นหน้าโต๊ะ เคาท์เตอร์ หรือตู้ต่างๆ ที่มีการวางของหรือชิ้นงานสัมผัสบ่อยๆ หรือมีการเปียกน้ำต้องคอยเช็ดทำความสะอาดบ่อยๆ หรือแม้แต่บนผนังก็อาจมีการตกแต่งปิดด้วยแผ่นลามิเนทเช่นกัน
โฟเมการ์ หรือแผ่นลามิเนท เป็นวัสดุสังเคราะห์ ที่สร้างมาสำหรับงานปิดผิว เป็นที่นิยมมาก เพราะมีคุณสมบัติที่แข็ง ทนต่อแรงกระแทก ความร้อน และทำความสะอาดง่าย เป็นกรรมวิธีการเคลือบพลาสติก ลงบนแผ่นแบคกิ้ง อาจจะมีการพิมพ์ลาย หรือปิดวัสดุบางประเภท เช่น แสตนเลส ก่อนเคลือบทับภายนอกด้วยวัสดุเคลือบผิว จำพวกเรซิน, สีอะมิโน, สีPU อีกครั้ง และนำออกขายเป็นแผ่นลามิเนท ความหนาของแผ่นประมาณ 0.8-1 มม. การนำแผ่นลามิเนทใช้งาน โดยส่วนมาก ผู้รับเหมา จะนำไปทากาว ปิดทับบนแผ่นผลิตภัณฑ์ ที่กำหนด เช่นไม้อัด Particle board สำหรับวัสดุที่ใกล้เคียง คือ การเคลือบเมลามีน จริงๆแล้ว คือ การใช้วัสดุประเภทเดียวกัน แต่เปลี่ยนเป็นการเคลือบลงบนแผ่นผลิตภัณฑ์โดยตรงซึ่งวิธีนี้ ต้องผ่านกระบวนการ จากโรงงานเท่านั้น
การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์
1.สิ่ว ใบกบ ใบคัทเตอร์ หรือโลหะที่มีมุมแหลมคม ใช้สำหรับตัดแผ่นลามิเนท
2.Trimmer ใช้สำหรับกัดขอบลามิเนทให้เสมอกับขอบงาน
3.ตะไบ ใช้สำหรับปาดให้แผ่นลามิเนทที่เกิน เสมอกับขอบงาน
4.แผ่นปาดกาวยาง (อาจทำจากเศษแผ่นลามิเนท) ควรทำร่องเพื่อให้กาวสามารถผ่านได้
5.แผ่นไม้เรียบและตรง สำหรับวาง เป็นแนวในการตัดแผ่นลามิเนท
วิธีการติดแผ่นลามิเนท (ฟอร์เมการ์) กับไม้ Particle board
1.ทำความสะอาดผิวหน้าของชิ้นงานที่จะติดแผ่นลามิเนทให้สะอาด ปราศจาคคราบไขมันต่างๆ โดยขัดเบาๆด้วยกระดาษทราย
2.ทำการตัดแผ่นลามิเนทตามต้องการ โดยใช้แผ่นไม้ที่เรียบตรง วางลง และอาจใช้แคลมป์ บีบที่หัวและท้ายของแผ่นประคอง (ขอบที่เรียบและตรงอาจเป็นขอบของไม้อัด ด้านที่ผลิตมาจากโรงงาน) เมื่อกรีดจนเปิดผิวหน้าของแผ่นลามิเนทออก ก็ค่อยๆหักโดยดึงขึ้นหรือถ้าแผ่นลามิเนทหนามากก็ให้หักลง(โดยเลือกริมขอบโต๊ะ)ที่มีพื้นที่ว่างเปล่า
3.ทากาวลงบนแผ่นไม้ และผิวของลามิเนต ผึ่งทิ้งไว้ให้แห้งหมาดๆ วิธีการทากาวค่อยๆใช้แผ่นปาดกาว ปาดไล่กาวยางให้ติดบนผิวงานอย่างทั่วถึง ไม่บางและหนาเกินไป สามารถทาทับได้หากเห็นว่าเนื้อกาวน้อยเกินไป
4.ประกบแผ่นลามิเนทเข้ากับแผ่นที่ต้องการจะปิดทับ โดยควรมีแผ่นไม้มาช่วยรอง ก่อนที่จะรีดให้แผ่นทั้งสองติดกัน
5. การนำไม้มากั้นไม่ให้แผ่นทั้งสองติดกันนั้นช่วยให้กะระยะได้ และหากมั่นใจว่าระยะนั้นตรงตามต้องการแล้ว ก็ค่อยๆดึงแผ่นไม้รองออก และไล่กดและรีดด้วยผ้าแห้งเพื่อไม่ให้เกิดฟองอากาศขึ้น
6.ทำการเก็บแผ่นลามิเนทที่ล้นจากขอบงาน โดยสามารถใช้เครื่อง Trimmer ใช้ร่วมกับดอกกัดตรง ปลายติดลูกปืน หรือ อาจใช้ตะไบที่ขอบผิวงานก็ได้ ส่วนใหญ่ช่างนิยมเอาฉากตายที่ไม่ใช้มาปาดขอบแผ่นลามิเนท
7.เมื่อแผ่นลามิเนทเสมอกับขอบหน้าโต๊ะแล้ว อาจลูบด้วยกระดาษทรายละเอียดเพื่อลบคม และอาจทำการแต่งสีตามต้องการ
ราคารเฉลี่ยของแผ่รไม้ Particle board
Particleboard ตามท้องตลาดปัจจุบันแล้ว มีสินค้าราคาเกรดสูง-ตำ่ ราคารเฉลี่ยของ ไม้ Particle board จะอยู่ที่ราคาประมาณ 400 - 800 บาท (ราคารขึ้นอยู่กับขนาดความหนา เเละความยาวของไม้)
ตัวอย่างของรายละเอียดสินค้า
-ปาร์ติเกิ้ลเคลือบเมลามีน - สีขาว ขนาด 12มม.
-ปาร์ติเกิ้ลเคลือบเมลามีน ปิด 2หน้า สีขาว ขนาด 12มม.
แหล่งร้านค้า/เเบรนด์/ตัวเเทนจำหน่ายสินค้า
มีเเหล่งร้านค้าและตัวแทนจำหน่าย : dream-boards, thanawoods ,HomePro,redwood-shop,ไทยวัสดุ
ข้อดีของแผ่นไม้ ( Particle board )
-มีข้อดีคือราคาถูก,สามารถปิดผิวได้ แต่มีข้อด้อยในเรื่องของความแข็งแรงและความต้านทานต่อศัตรูของไม้ เช่น ความชื้น,แมลงกินไม้,ปลวก ทำให้อายุการใช้งานสั้นกว่าไม้อัดมาก
-มีราคาที่ถูกกว่าไฟเบอร์บอร์ดชนิดอื่นๆ มีเนื้อไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันทั้งชิ้น มีน้ำหนักเบาสุดในบรรดาไฟเบอร์บอร์ดเนื่องจากมีความหนาแน่นน้อย มีโพรงอากาศอยู่มาก
ข้อเสียของแผ่นไม้ ( Particle board )
-ตัวเนื้อไม้มีการขยายตัวได้ง่ายเนื่องจากความชื้นโดยเฉพาะไม้ที่ไม่ได้มีการ ทาสี หรือว่าเคลือบซีลเลอร์ ไม่ทนต่อความชื้น มาทนต่อปลวก แมลงกินไม้ อายุการใช้งานสั้น การขันเกลียวทำได้ ไม่เกิน 2ครั้งเกลียวจะหลวม การติดตั้งบานพับเฟอร์นิเจอร์จึงไม่ทนทานเท่าไม้อัด
-ความแข็งแรงน้อยกว่าไฟเบอร์บอร์ดชนิดอื่นๆ ตัวเนื้อไม้มีการขยายตัวได้ง่ายเนื่องจากความชื้น จึงนิยมนำมาใช้ในงานไม้ที่ใช้ในตัวอาคารที่ไม่มีความชื้นสูง ทนความชื้นได้น้อยที่สุดในกลุ่มไม้แผ่น
วิธีการดูแลรักษาไม้ Particle board
เฟอร์นิเจอร์ไม้นั้นเป็นวัสดุที่มีราคาแพงเพราะวัตถุดิบคือไม้ซึ่งมีราคาแพงและยังหายากในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงชื่นชอบวัสดุตกแต่งบ้านที่ทำมาจากไม้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้และเครื่องเรือนต่างๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม้เป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ หรือใกล้ชิดธรรมชาติมากกว่าวัสดุทดแทนประเภทอื่นๆ นอกจากนั้นไม้ยังมีลายที่สวยงามหลากหลาย เพียงแต่ใช้วัสดุเคลือบเงา ไม่จำเป็นต้องทาสีก็ดูสวยงาม
ไม้ยังมีความแข็งแรงคงทนและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานแต่การที่จะให้ไม้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้นั้นจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาที่ดีและถูกวิธี
1. เครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้ต้องไม่วางใกล้แหล่งความร้อนหรือในที่ที่มี อุณหภูมิสูง
2. ไม่วางบนพื้นที่เปียกชื้น และไม่ควรให้ถูกแสงแดด แสงจากดวงโคมหรือแสงสปอตไลท์โดยตรง
3. ควรระวังรักษาไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนบนเนื้อไม้ และระวังไม่ให้มีน้ำหยดลงบนเนื้อไม้เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำลายความสวยงามของเนื้อไม้และลายไม้ ทำให้ผิวของไม้ซีดจางลง
4. ศัตรูที่สำคัญของไม้ คือ ปลวกและแมลงต่างๆที่กัดกินเนื้อไม้จึงต้องหมั่นตรวจตราดูแลเสมอเพื่อที่จะช่วยให้สามารถรักษา ความสวยงามตามธรรมชาติและให้ไม้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก
www.designmag.fr
www.rockyfurniture.com
www.community.akanek.com
www.shopperfectonlinefurniture.blogspot.com
www.pwood.co.th
www.meidead.lnwshop.com
www.lsx.co.th
www.freetradeplywood.com
#WAZZADU #WazzaduMaterialEncyclopedia #CollectionMaterialIdea #WoodFlooring #Particleboard
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม