วัสดุเเนะนำ : ไม้อัด (Plywood) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน

มาพบกันอีกแล้ว กับ WAZZADU Material Review ไม้อัด (Plywood) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาไม้แผ่นบางหรือวีเนียร์ (Veneer) โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือ ผ่าให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบางๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดตรึง แผ่นไม้ที่นำมาอัดเข้าด้วยกันจะต้องวาง ในลักษณะที่แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดการขยาย และหดตัวในแนวระนาบของแผ่นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด จำนวนชั้นของแผ่นไม้จะต้องเป็นจำนวนคี่เสมอไป เพื่อให้เกิดความสมดุล และแนวเสี้ยนไปในทางเดียวกัน อีกทั้งยังมี การติดตั้งที่ง่าย มีลวดลายของไม้อัดให้เลือกได้หลากหลาย แต่เช่นเดียวกันพื้นไม้อัดก็เป็นที่นิยมใช้ในเมืองไทยอีกทั้งยังมีผู้ผลิตได้พัฒนาไม้ชนิดต่างๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานและมีราคาที่หลากหลายให้เลือกใช้  ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบันมีไม้อัดชนิดต่างๆให้เลือกมากมาย

วัสดุเเนะนำ : ไม้อัด (Plywood)

บรรยาาศการตกเเต่งโซนตอนรับ ที่ตกแต่งด้วยวัสดุไม้อัด(Plywood) 

บรรยาาศการตกเเต่งพื้นที่พักผ่อน ที่ตกเเต่งวัสดุไม้อัด(Plywood)  ด้วยลวดลายของผิวไม้ที่มีเสน่ห์

ไม้อัด (Plywood) 

ไม้อัด (Plywood) เป็นวัสดุแผ่นจากไม้ตัวแรกที่ได้จากการนำเอาไม้วีเนียร์ซึ่งได้จากการปอก ด้วยเครื่องปอกไม้ (Rotary Lathe) หลายๆ แผ่นมาอัดให้เป็นแผ่นเดียวโดยการใช้กาวเป็นตัวประสาน โดยวีเนียร์แต่ละแผ่นที่นำมาประกอบเป็นแผ่นไม้อัดจะวางในลักษณะให้เสี้ยนไม้ตั้งฉากกันเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในเรื่องของความแข็งแรง และทำให้แผ่นไม้อัดไม่ยืดหรือหดตัวเมื่อความชื้นเปลี่ยนไป  

ไม้อัดคือ แผ่นไม้บางที่ประกอบกันตั้งแต่ 3 ชั้น ขึ้นไปเท่านั้น หรือ มีขนาดมาตรฐาน กว้าง 4 ฟุต (1220 มม.) ยาว 8 ฟุต (2440 มม.)  และมีความหนาให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 3, 4, 6, 10, 15 และ 20 มม. แต่ความหนาของไม้อัดนั้น จะไม่ตรงกับขนาดที่ระบุเสมอไป เช่น ไม้อัดหนา 20 มม. อาจจะมีความหนาจริงแค่ 17 มม. เท่านั้น เพราะฉะนั้น การใช้ไม้อัดควรคำนึงถึงความหนาจริงของไม้ด้วย

คุณสมบัติของไม้อัด และ ขั้นตอนการผลิต

ไม้อัด (Plywood) เป็นผลิตภัณฑ์ ที่คงใช้พื้นฐานทางวัตถุดิบธรรมชาติ โดยถูกพัฒนากรรมวิธีการผลิต ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการใช้ไม้จริง (Solid Wood) ที่มีขนาดหน้ากว้างมากๆ ที่ปัจจุบันการเจริญเติบโตของป่าไม้ในประเทศไทย ไม่ทันต่อการตอบสนองในการใช้งาน จึงต้องมีการพัฒนาการใช้ต้นไม้ ที่มีหน้ากว้างขนาดเล็ก, เป็นไม้ทั่วไป ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และหาได้ง่าย นำมาดัดแปลง เพื่อใช้งานแทน ไม้อุตสาหกรรมต่างๆ ที่นับวันเริ่มหาได้ยากขึ้นทุกทีภายในประเทศ ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านแทน

ขนาดของไม้อัด ความกว้าง และความยาว จะเป็นขนาดมาตรฐาน คือ ขนาด 4′ x 8′ (1220 x 2440 มม.) ส่วนความหนาของไม้อัด โดยส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน จะไม่ได้เป็นขนาดที่ระบุแน่นอน เท่ากับขนาดความหนาของไม้อัดนั้นๆ ที่ใช้กันอยู่ เพราะขนาดของไม้อัด ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และโรงไม้แต่ละโรงที่ผลิตออกมา เพราะฉะนั้นการเรียกไม้อัด บางครั้ง จึงต้องมีการเรียกคุณภาพของไม้กำกับไว้ด้วย เช่น ไม้อัดบางนา 10 มม., ไม้อัดเกรด A โรงใหม่ 15 มม.  ความหนาของไม้อัดในตลาดทั่วไป โดยทั่วไปที่นิยมเรียกกัน จะมีความหนาอยู่ที่ 3, 4, 6, 10, 12, 15 และ 20 มม

กรรมวิธีการผลิต จะแบ่งเป็นเกรด A (ไม้อัดบางนา), B (ไม้อัดโรงใหม่) และ C (ไม้แบบ)

1. เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้ โดยเครื่องเลื่อยสายพาน คือการตัดเปลือกนอกออก ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม

 

2. ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บางๆ (ซึ่งเรียกไอ้อีกอย่างว่าวีเนียร์) ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.2 มม.

 

3. นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัด เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไป

 

4. ขั้นตอนนี้ (โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไป ถ้าเป็นเกรดต่ำๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันโดยไม่ทำตามขั้นตอนนี้) นำวีเนียร์ ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน โดยใช้กระดาษกาวสำหรับปิดวีเนียร์ หรืออาจจะใช้เครื่องเย็บวีเนียร์ ที่เป็นลักษณะใช้เส้นกาวเย็บแทนเส้นด้าย จนได้หน้ากว้างประมาณ 1240 มม.,ความยาวประมาณ 2450 มม. และ หน้ากว้างประมาณ 2450 มม., ความยาวประมาณ 1240 มม.

 

5. นำวีเนียร์ที่ได้ทากาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม โดยมาวางเป็นชั้นๆ สลับลายตามแนวขวางลาย และตามแนวขนานลาย (ที่ต้องวางสลับลายระหว่างชั้นเช่นนี้ เพื่อให้เกิดการดึงตัวระหว่างผิวภายในที่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ไม่ให้เกิดการบิดตัวโก่งงอ เมื่อทำเป็นแผ่นสำเร็จ) จนได้ความหนาที่ต้องการ แต่จะวางทับเป็นชั้นเลขคี่เสมอ ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย มักจะวางชั้นให้ได้ความหนาเกินขนาดที่ต้องการไว้ก่อน

 

6. นำวีเนียร์ที่วางเสร็จแล้ว ขึ้น Hot Press (เครื่องอัดแรงดันสูง  เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน ถ่ายผ่านจากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป) อัดทับลงไป เพื่อให้แผ่นวีเนียร์อัดประสานติดกัน พร้อมเนื้อกาว (การอัดทับลงไป ทำให้เกิดการยุบตัวของเนื้อวีเนียร์ ซึ่งคำนวนเป็นค่ายุบตัวมาตรฐานค่อนข้างยาก สำหรับวัตถุดิบทางธรรมชาติ ทำให้แผ่นไม้อัดที่ผลิตออกมา ค่าความหนาไม่ค่อยคงที่)

ประเภทของ ไม้อัด (Plywood)

1.ไม้อัดนั้นแบ่งตามกาวที่ใช้

 ประเภทภายนอก

ใช้ กาวที่ทนทานต่อลมฟ้าอากาศ  ทนต่อน้ำ น้ำทะเล ละอองน้ำร้อน ละอองน้ำเย็น ทนต่อความชื้นอากาศ  น้ำเดือด ไอน้ำ และความร้อนแห้ง ได้ดี เหมาะสำหรับใช้ภายนอกอาคารหรือในที่ซึ่งถูกน้ำหรือละอองน้ำ  นิยมใช้ในงานก่อสร้าง งานป้าย advertise กลางแจ้ง งานแแบบก่อสร้าง งานพื้นเวทีการแสดง งานก่อสร้างริม ทะเล งาน furniture ผนังกันห้อง ใช้งานในเรือเดินทะเล ประโยชน์ใช้งานหลากหลาย จึงเป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะงาน แบบหล่อคอนกรีตและต่อเรือ

 

2.ไม้อัดกันน้ำ

ไม้อัดกันน้ำ  คือ  แผ่น ไม้สน,ไม้ยาง pine wood , rubber wood บาง นำมาอัดสลับชั้น หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการประกอบสมดุล โดยการนำไม้บางหลายแผ่นมาประกอบให้ยึดติดกันด้วยกาว ลักษณะที่สำคัญคือ การจัดให้ไม้บางแต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติ ความแข็งแรง ของไม้อัด มีความทนต่อแรงบิด แรงเฉือน shear force  แรงดัดตัว bending force คุณสมบัติกันน้ำได้ พอสมควร  และลดการขยายตัว และ หดตัวในระนาบของแผ่นให้น้อยที่สุด

 

 3.ไม้อัดฟิล์ม 

ไม้อัดฟิล์ม ผลิตจาก แผ่นไม้สน,ไม้ยาง pine wood , rubber wood บาง นำมาอัดสลับชั้น ยึดติดกันด้วยกาว แล้วปิดผิวไม้ด้วยฟิล์ม phenolic  หรือ melamine สี น้ำตาล สีดำ [ brown  or black ] .  Film  ชนิดนี้กันน้ำ   ละอองน้ำร้อน ละอองน้ำเย็น น้ำทะเล ความชื้นสูง ได้ดี  film ลื่นเงา ไม่เกาะปูน คอนกรีต ผิวของไม้อัดเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มบางๆ อัดด้วยความร้อนสูง มีความลื่น จึงสามารถนำมาใช้ในงานหล่อแบบได้จำนวนหลายครั้งต่อหนึ่งหน้า 

ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ , น้ำตาล จึงได้รับความนิยม ใช้ในงานแบบ ก่อสร้าง งาน ต่อเรือ ลักษณะที่สำคัญคือ การจัดให้ไม้บางแต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติ ความแข็งแรง ของไม้อัด ความทนต่อแรงบิด แรงเฉือน shear force  แรงดัดตัว bending force คุณสมบัติกันน้ำได้ พอสมควร และลดการขยายตัว และ หดตัวในระนาบของแผ่นให้น้อยที่สุด

 

เทคนิคการใช้งาน ไม้อัดกันน้ำ,ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ

 

ก่อนใช้งานไม้อัดกันน้ำ, ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำ ควรใช้ผ้าเช็ด ทำความสะอาดผิวไม้อัด ก่อน. เนืองจากเศษฝุ่น เศษดิน เศษปูน ที่ติดผิวไม้อัดกันน้ำ จะมีผลต่อความเรียบเงา ของผิวคอนกรีต 

- ไม้อัดที่ใช้งานแล้ว อาจมีเศษปูน ดิน ติดอยู่ควรทำความสะอาด ก่อนเก็บรักษา

- เมื่อมีการตัดเจาะ ไม้อัดกันน้ำความใช้ สีกันน้ำทาขอบเพื่อกันน้ำซึมเข้า เพื่อยีดอายุการใช้งาน ในยาวนาน เป็นการ save cost ทางหนึ่ง

- ไม้อัดใช้ ไม้อัดกันน้ำ, ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำได้ 2 หน้าสลับกันไป.  เพื่อเป็นการลดแรงstress ของผิวไม้ และเนื้อไม้ด้านที่เพิงใช้งานเสร็จ

- การเก็บรักษา ใน store ในที่ร่ม แห้ง เป็นการเพิ่มอายุการใช้งาน ได้มาก. กรณีวางกลางแจ้ง ควรมีผ้ายางคลุมไว้ 

 หากเก็บรักษาดีจะทำให้ไม้อัดใช้งานได้ นานนับปีเป็นการ save cost ทางหนึ่ง

 

การแบ่งเกรดของไม้อัด (Plywood) 

เนื่องจากไม้อัดมีการนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม การจำแนกเกรดไม้จึงมักจะใช้ประเภทการใช้งานเป็นตัวแบ่งเกรด ดังนี้        

เกรด AA หรือเกรดเฟอร์นิเจอร์ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการทำสี พ่นสีหรือมีราคาสูง เช่นในงานเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินหรืออุตสาหรรมต่อเนื่องเช่น นำไปผลิตไม้อัดสัก, ไม้อัดแอช เป็นต้น 

เกรด A มีคุณสมบัติด้อยกว่าเกรด AA เล็กน้อย ในเรื่องของความเรียบ ใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ทั่วไป พื้นเวทีคอนเสิร์ทเป็นต้น เกรดไม้แบบ A ไม้อัดเกรดนี้จะใช้ไม้วีเนียร์ที่ผลิตจากไม้โตเร็ว อาจขัดหน้าแผ่วๆหรือไม่ขัดหน้า มีความแข็งแรง ไส้ไม้แน่นสามารถตัดได้,ขึ้นรูปได้ ส่วนใหญ่ใช้ทำแบบหล่อคอนกรีต, ทำชั้นวางของ พื้นชั่วคราวเป็นต้น

เกรดไม้แบบ B ไม้อัดเกรดนี้จะใช้ไม้วีเนียร์ที่ผลิตจากไม้โตเร็ว อาจขัดหน้าแผ่วๆหรือไม่ขัดหน้า ไส้ไม่แน่น ไม่สามารถตัดได้ ส่วนใหญ่จะใช้ในงานแพ็กสินค้า,บ้านพักคนงานเป็นต้น

คุณสมบัติที่น่าสนใจ ของไม้อัด (Plywood ) 

คุณสมบัติที่น่าสนใจ ของไม้อัด (Plywood) 

ไม้อัด หรือ ไม้บางนั้นผลิตควบคู่กันเพื่อใช้งานทั้งในประเทศ และเพื่อการส่งออกทั้งไม้อัดและไม้บาง ซึ่งในตลาดโลกมีภาวะ การแข่งขันสูงเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ต่างก็มีมาตรฐานการส่งเสริมเพื่อการส่งออกและพุ่งปริมาณเข้าสู่ตลาดโลกอย่างมากมาย แผ่นไม้อัดนั้นเป็นที่นิยมเพราะมีคุณสมบัติที่ดีในการก่อสร้างที่เห็นได้ชัดคือแผ่นกว้างใหญ่ น้ำหนักเบาเมื่อเปรียบเทียบกับไม้จริง แต่แนวโน้มโรงงานไม้อัดไม้บางคงจะมีน้อยลงเนื่องจากไม้หายากขึ้น และภาวะ การแข่งขันในตลาดโลกสูง โรงงานที่มีอยู่จะต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้สามารถปอก (Peeling) หรือฝาน (Slicing) ไม้ท่อนเล็ก ๆ ได้ อีก วัตถุดิบไม้ที่ใช้ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้ตองจิง ไม้จำปา ไม้สยา ไม้กะบาก ฯลฯ

ขั้นตอนการนำไปใช้งานของ ไม้อัด (Plywood) 

ไม้อัดในปัจจุบันนี้ได้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ได้ถูกนำไปใช้สารพัดวัตถุประสงค์ ทั้งยังสะดวกในการใช้งาน และให้ความสวยงามตามลวดลายไม้ที่แผ่นลายไม้นั้นๆ ซึ่งไม้อัด ได้ จำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

 

1.ไม้อัดชนิดใช้ภายใน (Interior Plywood)

2.ไม้อัดชนิดใช้ภายนอก (Exterior Plywood)

3.ไม้อัดชนิดใช้งานชั่วคราว (Temporary Plywood)

 

1.ไม้อัดชนิดใช้ภายใน (Interior Plywood)

ไม้อัดชนิดนี้เป็นการนำแผ่นไม้บาง มาประสานด้วยกาวชนิดที่กันน้ำได้ในเวลาจำกัด ซึ่งกาวชนิดนี้จะเรียกว่า กาวยูเรีย ฟอร์มาดีไฮล์ เป็นวัสดุยึดตรึงผิวระหว่างแผ่นไม้ เหมาะสมกับงานภายในอาคาร หรือไม่ถูกระอองฝนหรือไม่เปียกชื้น เป็นเวลานาน เช่น ใช้ทำการกั้นห้อง ฝ้าเพดาน เครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ชั้นวางของ  ฯลฯ และแต่ละโรงงานยังแบ่งเกรดของไม้อัดเป็นเกรดอีกหลายเกรด เช่น เกรด AAA , AA , A , AB , B , C เป็นต้น

2.ไม้อัดชนิดใช้ภายนอก (Exterior Plywood)

ไม้อัดชนิดนี้เป็นการนำแผ่นไม้บาง มาประสานด้วยกาวชนิดที่กันน้ำได้ ซึ่งกาวชนิดนี้จะเรียกว่า กาวฟีนอล ฟอร์มาดีไฮล์ เป็นวัสดุยึดตรึงผิวระหว่างแผ่นไม้ เหมาะสมกับงานภายนอกอาคาร หรือถูกระอองฝนหรือเปียกชื้น เป็นเวลานาน เช่น ใช้ทำเรือ ใช้ทำป้ายโฆษณา แบบหล่อคอนกรีต ทำการกั้นห้อง ฝ้าเพดาน เครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ ชั้นวางของ  ฯลฯ และแต่ละโรงงานยังแบ่งเกรดของไม้อัดเป็นเกรดอีกหลายเกรด เช่น เกรด AAA , AA , A , AB , B , C เป็นต้น    และโรงงานจะประทับตราเป็น สีแดง ซึ่งหมายถึงการทนน้ำ

3.ไม้อัดชนิดใช้งานชั่วคราว (Temporary Plywood)

ไม้อัดชนิดนี้เป็นการนำแผ่นไม้บาง มาประสานด้วยกาวชนิดทั่วไป เป็นวัสดุยึดตรึงผิวระหว่างแผ่นไม้ เหมาะสมกับงานภายในอาคาร หรือไม่ถูกระอองฝนหรือไม่เปียกชื้น เช่น ใช้ทำป้ายโฆษณาชั่วคราว ทำลังไม้ หรืองานที่ใช้ครั้งเดียว ใช้ทำการกั้นห้อง ฝ้าเพดาน ชั้นวางของ  ฯลฯ แต่ละโรงงานนั้นแบ่งเกรดของไม้อัดเป็นเกรดอีกหลายเกรด เช่น เกรด  B , C เป็นต้น

วิธีการดูแลรักษา ไม้อัด หรือ เฟอร์นิเจอร์ประเภทไม้

1. ควรจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในจุดที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ปราศจากแมลง เช่น มด ปลวก มอด 

2. เมื่อเฟอร์นิเจอร์เปียกน้ำควรเช็ดให้แห้งทันที 

3. ทำความสะอาดด้วยแปรงปัดฝุ่น ผ้านุ่มแห้งเช็ดเบาๆ หากเกิดคราบสกปรกให้ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำพอหมาด เช็ดทำความสะอาดแล้วตามด้วยผ้านุ่มแห้งเช็ดให้แห้งอีกครั้ง 

 

ข้อควรระวัง 

1. ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ในตำแหน่งที่แสงแดดแรง ความชื้นสูง ใกล้ห้องน้ำ หรือใต้แอร์ 

2. ไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์ไว้ในห้องที่ไม่มีอากาศถายเท หรือ อับชื้นเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา 

3. ไม่ควรนำวัสดุร้อนหรือเย็นจัด วางลงบนเฟอร์นิเจอร์ โดยไม่มีวัสดุรองรับ และหลีกเลี่ยงการขูดขีดจากปากกา และของมีคม 

4. ไม่ควรนำวัสดุที่แข็งหรือหยาบ, ผ้าเปียก, น้ำยาหรือสารเคมีมาเช็ดทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ 

5. ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากจนเกินไปลงบนเฟอร์นิเจอร์ 

6. เมื่อต้องการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ไม่ควรใช้วิธีการลากหรือผลัก

ข้อดีของ และข้อเสียของ ไม้อัด (Plywood) 

ข้อดีของ ไม้อัด

ข้อดี เป็นไม้แผ่นที่มีความสวยงามที่สุดมีลวดลายไม้ต่อเนื่องเป็นแผ่นใหญ่ โดยไม่ต้องติดแผ่นลามิเนต มีความแข็งแรงกว่าไม้ในกลุ่มไฟเบอร์บอร์ดและสามารถรับแรงได้ทั้งสองทาง ในขณะที่ไม้จริงรับแรงได้ดีในทิศทางเดียว ความแข็งแรงในการรับแรงสูงและมีความเสถียรทางด้านขนาดมาก (หมายถึงแทบไม่มีการยืดหดตัวในทิศทางใดเลย) จึงทำให้ไม้อัดเป็นวัสดุที่เราสามารถนำมาสร้างสรรค์งานได้หลากหลายมาก

 

ข้อเสียของ ไม้อัด 

ข้อเสีย ถึงแม้จะมีลวดลายบนหน้าไม้สวยงาม แต่ไม้อัดยังมีข้อด้อยที่สู้ไม้จริงไม่ได้ คือมีขอบที่ไม่สวยงาม รวมถึงไม่เหมาะกับการเซาะร่อง เพราะการตัดเจาะใดๆจะทำให้เห็นชั้นของไม้อัดที่ไม่สวย โดยปกติเมื่อนำไม้อัดมาใช้ เราจะต้องปิดขอบด้วยวีเนียร์ไม้จริง หรือชิ้นส่วนของไม้จริงเพื่อความสวยงาม

ราคารเฉลี่ยของไม้อัด (Plywood) 

 

ไม้อัด (Plywood)  ตามท้องตลาดปัจจุบันแล้ว มีสินค้าราคาเกรดสูง-ตำ่ ราคารเฉลี่ยของ ไม้อัดจะอยู่ที่ราคาประมาณ 280 - 900 บาท  (ราคารขึ้นอยู่กับขนาดความหนา เเละความยาวของไม้อัด)

 

แหล่งร้านค้า/เเบรนด์/ตัวเเทนจำหน่ายสินค้า

มีเเหล่งร้านค้าและตัวแทนจำหน่าย : plywoodthai,stnplywood,suksawadplywood,yellowpages.co.th,108plywood.com

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก

http://www.hopibreton.com

http://fibersmartboardscg.blogspot.com

https://www.app.builk.com

http://www.adelto.co.uk

http://www.banidea.com

https://meplushobby.com

http://prime-wood.com

http://www.apkgroup.net

 

#WAZZADU #WazzaduMaterialEncyclopedia #CollectionMaterialIdea #WoodFlooring  #Plywood #ไม้อัด

 

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ