Embodied Carbon คืออะไร? และทำไมสถาปนิกต้องใส่ใจ

เราพอจะทราบกันว่าอุตสาหกรรมการก่อสร้างกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง และหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นคือ “Embodied Carbon” หรือปริมาณคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของวัสดุ ซึ่งเป็น Subset หนึ่งในเรื่องของ Low Carbon Material เพราะเมื่อพิจารณาถึงเป้าหมาย Net Zero และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว การทำความเข้าใจ Embodied Carbon และแนวทางลดการปล่อยคาร์บอนจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สถาปนิกและนักออกแบบต้องให้ความสำคัญมากขึ้น

 

หากใครยังไม่ชินกับคำๆ นี้ Wazzadu Low Carbon Material Library จะมาอธิบายในบทความนี้ครับ

Embodied Carbon คืออะไร?

คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากวัสดุนั้นๆ ที่ปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของวัสดุ ตั้งแต่การสกัดวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การก่อสร้าง จนถึงการรื้อถอน ตลอดจนการกำจัดวัสดุเมื่อหมดอายุการใช้งาน โดยการวัดค่า Embodied carbon จะมาจากวงจร Value chain ที่ได้มาสู่วัสดุที่ใช้ในอาคาร ดังนี้ 

1. วัตถุดิบในการผลิตวัสดุนั้นๆ (Extract Raw Material) 

2. กระบวนการผลิตวัสดุนั้นๆ (Manufacture Product) 

3. การขนส่งวัสดุนั้นๆ (Transport to Site) 

4. การติดตั้งวัสดุนั้นๆ (Use and Maintain) 

5. การทำลายซากหรือการย่อยสลายวัสดุนั้นๆ (Demolish) 

6. ความสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycling)                          

ย้อนกลับไปที่เรื่อง Life Cycle Assessment (LCA) หรือวัฏจักรชีวิตของวัสดุ ที่เป็นกระบวนการคำนวณและวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์นั้น ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการกำจัด วิธีนี้ช่วยให้รู้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาในแต่ละขั้นตอนว่ามีปริมาณสูง-ต่ำแค่ไหน แล้วก็พบว่าวัสดุจากอุตสาหกรรมก่อสร้างและวัสดุตกแต่งอาคารนี่แหละที่มีค่าการปล่อยคาร์บอนสูง

 

ยิ่งเมื่ออาคารถูกสร้างเสร็จแล้ว เราไม่สามารถลดคาร์บอนจาก Embodied carbon ได้หลังสร้างเสร็จ ต่างจาก Operational Carbon ที่สามารถลดได้ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนหรืออัปเกรดเทคโนโลยี แต่ Embodied Carbon ถูกปล่อยออกมาก่อนอาคารจะเริ่มใช้งาน ทำให้การเลือกวัสดุที่ปล่อยคาร์บอนต่ำหรือ Low Carbon Material มีความสำคัญมาก

วิธีที่สถาปนิกและนักออกแบบ สามารถลด Embodied Carbon ได้

  • เลือกวัสดุที่มี Embodied Carbon ต่ำ เช่น วัสดุรีไซเคิล วัสดุทดแทนคอนกรีต และไม้จากแหล่งที่ยั่งยืน
  • ใช้แนวคิด Circular Design ออกแบบอาคารที่สามารถรื้อถอนและนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ได้
  • ลดการใช้วัสดุเกินความจำเป็น ผ่านการออกแบบที่มีประสิทธิภาพและใช้วัสดุให้น้อยลง
  • ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ลดของเสีย เช่น Modular Construction หรือ Prefabrication เพื่อลดการใช้วัสดุเกินความจำเป็น

 

Embodied Carbon จึงเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ และสถาปนิกกับนักออกแบบจะมีบทบาทสำคัญในการลดปริมาณคาร์บอนส่วนนี้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบกับการเลือกวัสดุ เมื่อพวกเขาคำนึงถึง Embodied Carbon จะไม่เพียงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับโครงการและสร้างอาคารที่ยั่งยืนมากขึ้นในระยะยาวอีกด้วย

 

Wazzadu Low Carbon Material Library เองก็คาดหวังว่าในประเทศไทยจะมีวัสดุและการสร้างอาคารที่พัฒนาไปจนถึงขั้น Low Carbon Architecture และกลายเป็น Net Zero Architecture ได้ในอนาคต

Wazzadu Low Carbon Material Library คือ ห้องสมุดวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับงานสถาปัตยกรรม ที่รวบรวมความรู้และสเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ ทั้งจากนักวิจัย, สตาร์ทอัพ และผู้ผลิต เพื่อให้สถาปนิกและเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้สเปควัสดุคาร์บอนฯ ต่ำ สำหรับนำไปออกแบบอาคาร หรือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนได้ ช่วยสร้างความมีส่วนร่วมในการเร่งสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น โดยเร็วเพื่อช่วยลดการแก้ปัญหาโลกร้อน

ด้วยการเกณฑ์การประเมินคาร์บอนฯ ที่แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Low Carbon CFO (Carbon Footprint for Organization) : การประเมิน carbon footprint ขององค์กร
2. Low Carbon CFP (Carbon Footprint of Product) : การประเมิน carbon footprint ของผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้พัฒนาวัสดุที่มีความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนจากวัสดุที่จำหน่าย มุ่งสู่เส้นทาง Low Carbon material ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโครงการมีการแบ่งเฟสที่บอกระดับว่าแต่ละองค์กรอยู่ที่จุดไหนแล้วบ้าง ได้แก่

Phase 1 : Committed เข้าร่วมโครงการ Wazzadu Low Carbon Material Library สู่เส้นทาง Low Carbon
Phase 2 : On-Track ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Phase 3 : Achieved สามารถปล่อยคาร์บอนฯ ต่ำได้แล้วเมื่อเทียบจากครั้งก่อนๆ

หวังว่าห้องสมุดที่รวมวัสดุคาร์บอนฯ ต่ำนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้พบกับวัสดุที่สามารถใช้ออกแบบให้เกิดเป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำได้จริง ...

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ