รูปแบบระบายอากาศในงานสถาปัตยกรรม (Natural ventilation in architecture)
การระบายความร้อนในงานสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในระยะแรกของการออกแบบ เนื่องจากปัจจัยทางธรรมชาติอย่างแสงแดด ทิศทางลม หรือแรงลอยตัวของอากาศร้อนจะส่งผลต่ออุณหภูมิในอาคาร ซึ่งหากมีการออกแบบที่ดีก็จะช่วยให้อากาศภทยในอาคารไหลเวียน ลดการใช้พลังงานภายในอาคารไปได้มาก
การระบายอากาศภายในอาคาร
Natural ventilation
สามารถทำได้โดยการติดตั้งช่องเปิดอย่าง ประตู หน้าต่าง ที่เปิดปิดได้เพื่อระบายอากาศ
Mechanical ventilation
การระบายอากาศเชิงกล ติดตั้งระบบท่อหรือช่องระบายอากาศที่นำอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในอาคารแล้วกำจัดอากาศเสียออกไป เช่น ระบบ HVAC systems, พัดลมดูดอากาศ (exhaust fans) และ heat recovery ventilation systems
Hybrid ventilation
คือการใช้ทั้งการระบายอากาศทางธรรมชาติและเชิงกลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของอากาศบริสุทธิเข้ามาสู่พื้นที่
Passive Ventilation
หมายถึงระบบปรับอากาศแบบที่ไม่ใช้กลไก เช่น ห้องโถงกลาง สกายไลท์และปล่องไฟพลังงานแสงอาทิตย์
ประเภทของระบบระบายอากาศ (Types of ventilation)
การระบายอากาศโดยให้มวลอากาศร้อยระบายออกในส่วนบนของอาคาร (Stacked ventilation)
อาศัยหลักการทางธรรมชาติของมวลอากาศร้อนที่จะลอยตัวขึ้นที่สูงเสมอ ดังนั้นการระบายอากาศประเภทนี้ควรเป็นอาคารที่มีหลังคาทรงสูงและมีช่องระบายอากาศอยู่ข้างบนเพื่อระบายมวลอากาศร้อนออกจากอาคาร ส่วนกลางของอาคารเปิดช่องเปิดเพื่อนำมวลอากาศเย็นเข้ามาแทนที่
การระบายอากาศโดยอาศัยแรงลมพัดความร้อนและความชื้นไปยังช่องเปิดฝั่งตรงข้าม (Cross Ventilation)
เป็นการระบายอากาศที่ไม่ต้องใช้ระบบเชิงกลเข้ามา ด้วยการเปิดช่องเปิดเพื่อให้ลมไหลเข้าผ่านช่องเปิดหนึ่งและออกผ่านอีกช่องหนึ่ง อาศัยกระแสลมพัดเอาความร้อนและความชื้นออกไป
การระบายอากาศผ่านช่องเปิดด้านเดียว (Single-sided ventilation)
เป็นการระบายอากาศผ่านช่องเปิดโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ความดันและความชื้น คือการที่อากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสู้ด้านบนทำให้อากาศเย็นไหลเข้ามาแทนที่ในด้านล่าง ซึ่งการระบายอากาศรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพน้อยกว่าแบบ Cross Ventilation เพราะไม่มีแรงลมมาช่วยให้อากาศไหลเวียน
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม