ประตูหนีไฟ ที่ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องเป็นอย่างไร ?

ประตูหนีไฟ (Emergency Exit Door) ถือ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดอัคคีภัยภายในอาคาร ซึ่งจะถูกใช้ในกรณีฉุกเฉินทดแทนประตูปกติที่อาจขัดข้องไม่สามารถทำงานได้ เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าในขณะเกิดเพลิงไหม้

หากอ้างอิงจากกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ.2543 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 กฎหมายเกี่ยวกับประตูหนีไฟจะคลอบคลุมไปถึงบันไดหนีไฟด้วย โดยมีรายละเอียดข้อกำหนดสำคัญที่สามารถสรุปโดยย่อได้ ดังนี้

ลักษณะอาคารที่จะต้องมีบันไดหนีไฟ

อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป (สูงไม่เกิน 23 เมตร) รวมไปถึงอาคารที่สูง 3 ชั้นและมีดาดฟ้าอยู่เหนือชั้น 3 (ดาดฟ้ามีพื้นที่ตั้งแต่ 16 ตารางเมตรขึ้นไป) จะต้องมีบันไดหนีไฟอย่างน้อย 1 จุด ที่ใช้งานได้ปกติ ไม่อยู่ในสภาพชำรุด ไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยจะต้องใช้วัสดุในการผลิตที่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย

ความลาดชันของบันไดหนีไฟ

อาคารที่มีความสูงมากกว่า 4 ชั้น ความชันของบันไดต้องไม่เกิน 60 องศา และต้องมีชานพักทุกชั้น แต่ถ้าหากเป็นอาคารที่มีความสูงน้อยกว่า 4 ชั้น ความชันจะสามารถเกิน 60 องศาได้ เพื่อให้สามารถเดินขึ้นลงได้อย่างปลอดภัย และผนังในบริเวณที่บันไดหนีไฟพาดผ่านจะต้องก่อสร้างจากวัสดุถาวรที่มีคุณสมบัติทนไฟ

บันไดหนีไฟภายในตัวอาคาร 

บันไดหนีไฟจะต้องมีความกว้างตั้งแต่ 80 เซนติเมตรขึ้นไป ผนังในส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านจะต้องก่อสร้างจากวัสดุถาวร ที่มีคุณสมบัติทนไฟ ยกเว้นส่วนของช่องระบายอากาศ โดยประตูหนีไฟ จะต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกได้สะดวก ไม่มีอะไรขีดขวางทางเดินอากาศ แต่ละชั้นของอาคารจะต้องมีช่องระบายอากาศที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.4 ตารางเมตร ที่สามารถเปิดออกสู่ภายนอกอาคารได้ และต้องมีไฟที่ทางเดินทั้งกลางวันกับกลางคืน

บันไดหนีไฟที่อยู่ภายนอกตัวอาคาร 

บันไดหนีไฟจะต้องมีความกว้างตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป และผนังในส่วนที่บันไดหนีไฟพาดผ่านจะต้องก่อสร้างจากวัสดุถาวร ที่มีคุณสมบัติทนไฟ

ประตูหนีไฟบริเวณบันไดหนีไฟ 

ประตูหนีไฟต้องทำจากวัสดุที่ทนไฟได้เป็นอย่างดี มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่ต่ำกว่า 1.90 เมตร และจะต้องเป็นชนิดที่สามารถผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น (หากเป็นการดึงเข้าหาตัวจะทำให้การหลบหนีทำได้ยาก) และจะต้องติดอุปกรณ์กลไกปิดประตูอัตโนมัติเมื่อไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้ประตูปิดทันทีเมื่อมีคนหลบหนีออกได้แล้ว ป้องกันไฟลามออกไปภายนอกตัวอาคาร

ข้อควรระวังในการใช้งานประตูหนีไฟ

ห้ามตกแต่งดัดแปลงประตูหนีไฟ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันอัคคีภัยลดลง ควรหลีกเลี่ยงการเปิดประตูหนีไฟด้วยวิธีการงัดเด็ดขาด เนื่องจากอาจจะทำให้กลไกของประตูหนีไฟไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ เนื่องจากประตูหนีไฟจะทำจากวัสดุเหล็กกล้า หรือ วัสดุที่มีความทนทาน และแข็งแรงมากๆ จนอาจไม่สามารถเปิดได้ด้วยแรงมนุษย์หากกลไกไม่ทำงาน 

วิธีการใช้ประตูหนีไฟที่เหมาะสม

ประตูหนีไฟที่อยู่ในสภาพดีจะต้องปิดประตูสนิทอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาความดันอากาศ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เปลวไฟและควันไฟจากภายในอาคารลุกลามไปด้านนอกอาคาร

จากข้อกำหนดประตูหนีไฟที่ได้กล่าวไปในข้างต้น Wazzadu Encyclopedia By InnovatorX จึงร่วมกับ Skulthai United ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาประตูหนีไฟ ได้นำข้อมูลสเปคนำประตูเหล็กทนไฟ SCL (Fire Rated Steel Door) มาแบ่งปัน เพื่อให้ทุกท่านนำไปใช้ประโยชน์ หรือ นำไปต่อยอดใช้ในงานออกแบบก่อสร้าง

ประตูเหล็กทนไฟ SCL (Fire Rated Steel Door) ผลิตจากเหล็กรีดเย็น ด้านในของประตูบรรจุฉนวน Rockwool ซึ่งมีหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนและมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการลามของไฟ จากผลทดสอบโดยศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประตูรุ่น GD 1สามารถทนไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมงซึ่งมากกว่าที่กฎหมายกำหนดถึง 2 เท่า

 

รูปแบบของประตูเหล็กทนไฟ (Door Design) มีให้เลือก 4 แบบด้วยกัน

แบบ F ประตูเหล็กบานตัน

แบบ V ประตูเหล็กแบบมีช่องกระจกขนาดเล็ก

แบบ G ประตูเหล็กแบบมีช่องกระจกขนาดใหญ่

แบบ N ประตูเหล็กแบบมีช่องกระจกแนวตั้ง

กระจกสำหรับประตูเหล็กทนไฟ

กระจกที่ใช้นั้นจะเป็นกระจกทนไฟหรือกระจกเทมเปอร์กลาสเสริมลวด ซึ่งช่วยทำให้มองเห็นด้านในบันไดได้ เนื่องจากกระจกใสจะทำให้รู้สึกโปร่งมากกว่าประตูเหล็กบานทึบ หรือใช้เฉพาะบริเวณชั้นล่างสุดที่เป็นประตูออกสู่ภายนอกอาคารเนื่องจากจะช่วยทราบว่าชั้นนั้นเป็นชั้นที่สามารถหนีไฟออกไปได้ ในขณะเดียวกันหน่วยกู้ภัยก็สามารถมองเห็นคนที่อาจติดอยู่ภายในได้เช่นกัน

ขนาดของประตู

กว้าง 1,220 มม. (max) x สูง 2,440 มม. (max) 

มี 3 ความหนาให้เลือกใช้คือ 3.5 มม., 4 มม., 4.5 มม.

องค์ประกอบของประตูทนไฟ ที่ต้องพิจารณาก่อนการเลือกใช้

วงกบเหล็ก (Frame) 

ผลิตจากเหล็กรีดเย็นเช่นเดียวกับบานประตู นำมาพับขึ้นรูปเป็นวงกบประตู มีฐานรอบสำหรับรับบานพับและเสริมแผ่นเหล็ก (Reinforcement) ที่ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ประตู 

Hardware & Accessories มีให้เลือกแบบ Knock down เพื่อความสะดวกในการขนย้าย ประหยัดเนื้อที่ ดูแลรักษาง่าย โดยมีแบบมาตรฐานให้เลือก 4 แบบคือ บังใบเดี่ยว(SR), บังใบเดี่ยวมีร่อง (CF-S), บังใบคู่ (DR), บังใบคู่มีร่อง (DF-D)

ธรณีประตู (Threshold) 

มีให้เลือก 3 แบบคือ เหล็ก, สเตนเลส (SCL), อลูมิเนียม (Pemko)

ยางกันควัน (Weather stripe)

มีให้เลือกทั้งของ Neoprene และ Pemko

โช้คอัพ (Door Closer) 

ใช้ติดตั้งเพื่อหน่วงเวลาในการเปิด ปิดประตู เนื่องจากประตูเหล็กค่อนข้างหนักโช้คอัพจะช่วยลดแรงกระแทกในการปิดประตูได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยทำให้ประตูปิดไว้ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัย มีให้เลือก 2 รุ่นคือ Briton Surface Mounted และ LCN Surface Mounted

บานพับ (Hinge)

บานพับที่ใช้กับประตูหนีไฟนั้นต่างจากบานพับสำหรับประตูทั่วไปเนื่องจาก จะต้องรับน้ำหนักที่มากกว่าและต้องทนไฟได้นานกว่าด้วย บานพับจากสกุลไทย ยูไนเต็ดนั้นผลิตจากสเตนเลสและมีจุดยึดด้านละ 4 จุด 

คานผลักประตูหนีไฟ (Panic Exit Device)

ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ ประตูหนีไฟจะต้องเปิดออกได้ตลอดเวลา อุปกรณ์คานผลักจะช่วยให้ผลักประตูหนีไฟจากภายในห้องออกสู่ทางหนีไฟได้ (กฎหมายอาคารสูงกำหนดให้ประตูหนีไฟต้องมีคานผลัก)

ลูกบิดและมือจับ (Knob and Lever)

ใช้ติดตั้งเสริมในกรณีที่ต้องการใช้ประตูหนีไฟเป็นประตูที่ใช้งานประจำได้ด้วย

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ