หลักการออกแบบภูมิทัศน์แบบ Hardscape (Hardscape Architecture Detail Design)
โอลิมปิก 2024 มหกรรมกีฬาครั้งยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นในกรุงปารีสตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2024 โดยมีฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในรอบ 100 ปี ถือเป็นโอลิมปิกครั้งที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศส เจ้าภาพอย่างฝรั่งเศสจึงตั้งเป้าสร้างชื่ออีกครั้งในรอบศตวรรษ ผ่านการจัดงานโดยผสมผสานวัฒนธรรมและกีฬาเข้าด้วยกัน ภายใต้คอนเซปต์งานที่เน้นอารมณ์ความรู้สึก การมีส่วนร่วมของชุมชน ดึงอดีตเข้าสู่ปัจจุบันและส่งต่อความยั่งยืนสู่อนาคต ผ่านการแสดงออกทั้งทางศิลปะและกีฬา โดยการจัดงานครั้งนี้มีเป้าประสงค์ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างให้มากที่สุดและแน่นอนว่าต้องรองรับผู้คนจำนวนมาก
ฝรั่งเศสได้มีการปรับปรุงพื้นที่และสนามสำหรับจัดแข่งขันกีฬาในปีนี้หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นสนามชั่วคราวรอบสถานที่สำคัญใจกลางเมืองฝรั่งเศส เช่น Eiffel Tower stadium สนามกลางแจ้งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจัดการแข่งขันกีฬาบีชวอลเลย์บอลบริเวณสวน Champ de Mars หน้าหอไอเฟล หรือ จัตุรัสคองคอร์ด La Concorde พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ สำหรับจัดการแข่งขันสเก็ตบอร์ด, จักรยานผาดโผน BMX, บาสเก็ตบอล 3x3
และในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อการแข่งขันกีฬากลางแจ้งในจุดต่าง ๆ รวมไปถึงพื้นที่สันทนาการสำหรับรองรับผู้ชมและนักท่องเที่ยว Hardscape design คือหนึ่งในองค์ประกอบด้านการออกแบบที่มีบทบาทในการเนรมิตพื้นที่เป็นอย่างมาก วันนี้ Wazzadu encyclopedia ร่วมกับแบรนด์ CPS ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างสำหรับงานทางเท้าและงานภูมิทัศน์ จึงอยากจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับหลักการออกแบบ Hardscape design ให้ลึกขึ้นพร้อมภาพตัวอย่างการออกแบบเบื้องต้น ซึ่งจะมีรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามชมกันได้เลยครับ
Hardscape คืออะไร?
ฮาร์ดสเคป (Hardscape) เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ในส่วนที่เป็นโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างต่างๆ เช่น ทางเดิน ศาลา ที่นั่ง ฯ โดยมีส่วนช่วยให้งานภูมิสถาปัตยกรรมมีความน่ามองและคงทนไม่ว่าจะผ่านไปกี่ฤดูก็ตาม จะต่างจากซอร์ฟสเคป (Softscape) ซึ่งเป็นการตกแต่งสวนด้วยการนำต้นไม้มาจัดวางให้เกิดความสวยงาม
แนวทางในการออกแบบ
- ต้องรองรับกิจกรรม มีประโยชน์และคุ้มค่ากับงบประมาณ
- ต้องเหมาะกับรูปแบบและแนวคิดของพื้นที่นั้น ๆ
- ขนาด รูปทรง สีและพื้นผิวของฮาร์ดสเคปจะต้องเหมาะกับพื้นที่และการใช้งาน
- แข็งแรง คงทน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- หลีกเลี่ยงการวางฮาร์ดสเคปขนาดใหญ่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก เพราะได้รับแสงอาทิตย์สูงสุดเฉลี่ยในรอบปี
- เลือกพืชพรรณมาให้เหมาะกับฮาร์ดสเคปที่สร้างขึ้น
- การออกแบบสวนไม่ว่าจะสไตล์ไหนต้องให้งานฮาร์ดสเคปเป็นตัวนำเสมอ แล้วค่อยเติมส่วนซอร์ฟสเคปเข้ามา
Hardscape สำคัญอย่างไร?
- ช่วยให้เกิดความสร้างสรรค์และสื่อความหมายทางแนวคิด เช่น รูปปั้น, อนุสาวรีย์, ประติมากรรมต่าง ๆ ที่ใช้ Hardscape มาช่วยในการสื่อสารเพราะรับรู้ได้ง่ายกว่าการใช้ Softscape
- เพิ่มคุณค่าและความสวยงามให้กับสวน รับรู้ได้ถึงแรงบัลดาลใจ นำมาซึ่งคุณค่าทางจิตใจของเจ้าของและผู้พบเห็น
- เพิ่มประสิทธิภาพด้านประโยชน์ใช้สอยในสวน เช่น มีทางเดินที่เดินสะดวกแทนการเดินบนหญ้า
- ช่วยให้การเข้าถึงพื้นที่แล้วปลอดภัย กำแพง ไฟส่องสว่าง ที่หยุดล้อรถยนต์ ฯ
- เป็นอีกหนึ่งการออกแบบที่เข้ากับแนวคิดการออกแบบที่ยั่งยืน (Sustainable Landscape) คือการลดการใช้พลังงานในการดูแลสวน เช่น ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของน้ำ อุปกรณ์ดูแลรักษาอื่น ๆ
- ช่วยแก้ปัญหาพื้นที่จัดสวนอื่น ๆ เช่น การทำพื้นบล็อกปลูกหญ้า (Grass Block) ในพื้นที่ที่เป็นที่จอดรถหรือใช้สอยหนัก ๆ แต่ก็ยังได้ความเขียวและลดอุณภูมิ เป็นต้น
- สร้างจุดสนใจให้กับพื้นที่และแก้ปัญหาความซ้ำของต้นไม้
- ช่วยสื่อถึงรูปแบบหรือสไตล์ของสวน เช่น สวนอังกฤษ สวนญี่ปุ่น ซึ่งจะมีรูปแบบลักษณะเฉพาะ Hardscape จะช่วยให้สื่อสารได้ง่ายขึ้น
- ลดปัจจัยเรื่องเงิน เพราะอยู่ได้นาน ไม่ต้องดูแลรักษาเยอะ
รู้จักหลักการออกแบบฮาร์ดสเคปแล้ว มาดูกันว่าองค์ประกอบของ Hardscape มีอะไรอีกบ้าง
บล็อกปูพื้น แผ่นทางเท้าและบล็อกหญ้า (Concrete Block)
สามารถเลือกใช้เป็นบล็อกคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีขนาด รูปทรงและสีสันให้เลือกหลายหลาย ใช้สำหรับปูเป็นทางเดินหรือลานจอดรถ ที่จะต้องมีความแข็งแรง ทนกับสภาพอากาศ ปลอดภัยไม่ลื่นล้มง่าย อีกทั้งสะดวกต่อการติดตั้ง ประหยัดเวลาและแรงงาน ส่วนบล็อกหญ้ามีลักษณะพิเศษคือมีรูสำหรับให้หญ้าเติบโต เพื่อสร้างความเขียวให้กับพื้นที่ ลดอุณหภูมิและนำความมีชีวิตชีวิตมาให้
การติดตั้งบล็อกทางเท้า
- บดอัดชั้นดินในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการให้แน่น
- วางขอบคันหินเพื่อป้องกันการแยกตัวของบล็อกคอนกรีต
- ปูแผ่นใยสังเคราะห์รองทราย
- วางบล็อกคอนกรีต
ในกรณีที่มีจุดรองรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่จอดรถจุดนี้จะเกิดพื้นยุบตัวได้ง่ายกว่าจุดอื่น ควรจะเทคอนกรีตเสริมเหล็กให้เรียบร้อยก่อน ค่อยปรับระดับพื้นด้วยปูนทรายแล้วจึงติดกระเบื้องคอนกรีตทับ
ที่หยุดล้อรถยนต์ (Wheel Stopper)
มีไว้เพื่อจัดการความเรียบร้อย และป้องกันอุบัติเหตุในลานจอดรถ สามารถช่วยจัดสรรพื้นที่ แบ่งเลนจอดรถทำให้ผู้ใช้รู้ว่าควรจอดรถในแนวใดและที่ไหน วัสดุที่นิยมนำมาทำผลิตภัณฑ์หยุดล้อรถยนต์มี 4 ประเภท คือ เหล็ก, พลาสติก, ยางและคอนกรีต ส่วนใหญ่นิยมใช้ที่หยุดล้อรถยนต์แบบคอนกรีตเพราะแข็งแรง ทนต่อทุกสภาพอากาศ อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการเสริมโครงสร้างคอนกรีตที่เรียกว่า C-Bar Technology ป้องกันการเกิดสนิมและติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงสีเหลือง (Reflective tape) เพื่อช่วยในการมองเห็นที่หยุดล้อรถยนต์ได้ชันเจนในตอนกลางคืนอีกด้วย
นอกเหนือจากนั้นยังมีองค์ประกอบสำคัญคือระบบระบายน้ำ (Drainage system หรือ Drainage solution) ที่ถือว่าเป็นฮาร์ดสเคปเช่นกัน มีส่วนสำคัญทำให้พื้นที่ไม่เกิดน้ำขังซึ่งจะสร้างปัญหาตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินเกาะบนผนัง คราบตะไคร่จากความชื้นทำให้พื้นลื่นอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง มีโอกาสที่แมลงและสัตว์เลื้อยคลานจะเข้ามาในพื้นที่
รางระบายน้ำและฝารางระบายน้ำ (Spoon Drain)
ปกติแล้วการระบายน้ำจากในอาคารออกสู่ท่อสาธารณะจะมีองค์ประกอบหลัก ๆ คือรางระบายน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่สำหรับระบายน้ำไปสู่บ่อพัก บ่อบำบัด หรือเชื่อมต่อกับแนวท่อระบายน้ำหลักของเมือง เป็นต้น โดยจะต้องมีความแข็งแรงใช้งานได้ยาวนานจึงนิยมใช้แบบคอนกรีต
มีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น
- รางระบายน้ำรูปตัวยู U-DITCH มีขนาดที่นิยมใช้งาน 10 – 360 เซนติเมตร
- รางระบายน้ำรูปตัวโอ O-GUTTER มีร่องเปิดเป็นเส้นยาวด้านบน เนื่องจากมองเห็นรางระบายน้ำแค่ร่องเล็ก ๆ เท่านั้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นดูเรียบร้อยและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการได้ เหมาะที่จะใช้กับโครงการทั่วไป เช่น หมู่บ้านจัดสรร ออฟฟิศสำนักงาน พื้นที่สาธารณะ และอื่นๆ
- รางระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำทั่วไป ท่อระบายน้ำคอนกรีตชนิดท่อกลมจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 30 - 250 เซนติเมตร โดยมีความยาวต่อท่อน 1 เมตร (นิยมผลิต)
ร่องระบายน้ำตื้น (Spoon Drain)
มีลักษณะโค้งเว้าเล็กน้อยไม่ลึกมากสำหรับลำเลียงน้ำลงท่อสาธารณะและให้รถวิ่งผ่านได้ เหมาะสำหรับร่องสวน สวนอุตสาหกรรม หมู่บ้าน และคลังสินค้า
ร่องระบายน้ำแบบตื้นสำเร็จรูปมี 2 แบบคือ
- ร่องระบายน้ำแบบตื้นรางเหลี่ยม (Shallow Drain หรือ Spoon Drain) หรือบางท่านเรียกรางยู
- ร่องระบายน้ำแบบตื้นรางวี (Spoon Drain V)
การติดตั้งรางระบายน้ำตื้นมีวิธีการดังนี้
- ปรับระดับดินให้มีความเสมอกันตลอดแนวถนนที่ต้องการ
- เทคอนกรีตหยาบปรับระดับ โดยให้มีสโลป 1:100 ลงสู่ที่ต่ำกว่า ปลายสโลปเชื่อมไปยังบ่อพักน้ำหรือรางน้ำย่อยอื่น ๆ ได้
- วางรางระบายน้ำสำเร็จรูปเรียงขนานขอบถนนตามแนวยาว โดยให้ขอบร่องระบายน้ำเสมอกับปลายขอบถนน
ฝารางระบายน้ำ (Spoon Drain cover)
มีไว้ปิดรางระบายน้ำไม่ให้เศษดินทราย ใบไม้ กิ่งไม้ต่าง ๆ ตกลงไป และเพื่อให้สามารถเปิดเพื่อเข้าดูแลรางรางระบายน้ำได้ มี 3 รูปแบบคือ
- ฝารางวี
- ฝาสำเร็จรูป (แผ่นเรียบ) สำหรับทางเท้า
- ฝาตะแกรง
บ่อพักน้ำ (Manhole)
มีไว้สำหรับดักเศษขยะ เศษดิน เศษทราย หรือขยะและซ่อมกรณีท่อระบายน้ำทิ้งแตก เราก็สามารถมาเปิดดูในบ่อพักได้ โดยสังเกตขณะใช้งานปกติน้ำก็จะไหลมาที่บ่อพักด้วย ดังนั้นหากบ่อพักลูกไหนไม่มีน้ำหรือแห้ง แสดงว่าท่อน้ำทิ้งที่วิ่งมาบ่อพักลูกนี้อาจแตกน้ำเลยไหลลงดิน โดยทั่วไปบ่อพักจะเป็นบ่อคอนกรีต ขนาดประมาณ 0.40×0.40 เมตร หรือ 0.5x 0.5 เมตร และมีระยะห่างกันประมาณ 4-8 เมตร* หรือทุกจุดที่มีการหักเลี้ยวเกิน 90 องศา
*ขนาดของบ่อพักขึ้นอยู่กับขนาดบ่อพักและท่อระบายน้ำด้วย
ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปสำหรับใช้ในงาน Landscape ได้ เพราะนอกเหนือจากความสวยงามแล้วยังง่ายต่อการติดตั้ง ประหยัดแรงและเวลา แถมยังทนทานใช้งานได้นานอีกด้วย
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม