ระยะห่างที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางที่นั่งและจอโทรทัศน์ (The Recommended for Televisions Viewing Distance)

ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านความบันเทิงต่างๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีความหลากหลาย จนบาง Gen อาจจะตามไม่ทัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงชื่นชอบเหมือนกันไม่เปลี่ยนไปจากยุคอดีตมากนัก นั่นคือการได้นั่งดูโทรทัศน์กับคนในครอบครัวที่บ้าน ดูกับคนรัก หรือ ดูคนเดียวแบบชิลๆ 

โทรทัศน์ (Television) เป็นเทคโนโลยีที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 69 ปี นับตั้งแต่การออกอากาศครั้งแรกในชื่อสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในตอนนั้นยังเป็นเพียงจอขาว-ดำ จนมาถึงในยุคปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีความบันเทิงจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน โทรทัศน์ก็ยังมีอยู่เกือบทุกบ้าน นั่นก็เพราะวัฒนธรรมการใช้เวลาร่วมกันระหว่างการรับชมโทรทัศน์เป็นสิ่งที่สังคมไทยยังคงนิยมกัน

การดูทีวีร่วมกันเป็นกิจกรรมเล็ก ๆ ที่ทำให้เราได้รับความบันเทิงไปพร้อม ๆ กับการที่ได้คุยกันมากขึ้น บางบ้านก็ดูละครแย่งมรดกพันล้านและคนในครอบครัวก็นั่งลุ้นติดตามอย่างใจจดใจจ่อ ในขณะที่บางครอบครัว หรือ กลุ่มเพื่อนๆ ก็รวมตัวกันเพื่อเชียร์ฟุตบอล และกีฬาอื่นๆ อย่างเมามัน ทั้งหมดมันคือช่วงเวลาดีๆ และความสุขที่สร้างขึ้นร่วมกัน

แต่ทุกท่านทราบไหมครับ ว่าการรับชมโทรทัศน์นั้นมีองค์ประกอบที่ทำให้การรับชมมีประสิทธิภาพ ที่ไม่ใช่แค่ขนาดหน้าจอใหญ่แบบ 4k หรือ สีสันคมชัด แต่ยังมีสิ่งที่หลายๆ คนมักจะมองข้ามไป สิ่งนั้นก็คือ "การเว้นระยะห่างสำหรับการรับชมโทรทัศน์ที่เหมาะสม" นั่นเองครับ ซึ่งนี่คือปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้หลายๆ คน เผชิญกับปัญหาสุขภาพ จากระยะการรับชมโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสม

Wazzadu Encyclopedia By InnovatorX จึงได้รวบรวมข้อมูล การระยะห่างระหว่างที่นั่งและจอโทรทัศน์ที่เหมาะสม (The Recommended for Televisions Viewing Distance)  มาแบ่งปันให้กับท่านผู้อ่านได้นำไปประยุกต์ต่อยอดใช้งานด้านการออกแบบ หรือ นำไปปรับใช้ในการรับชมทีวีในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมีข้อมูลที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ติดตามชมได้เลยครับ

ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากระยะการรับชมโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสม

  • หากจัดวางโทรทัศน์และที่นั่งชม ไม่ตรงกับระดับสายตาในท่านั่งปกติ ทำให้เราต้องเงยหน้า หรือ ปรับศรีษะตามองศาที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ ยิ่งหากนั่งนาน ๆ และเป็นประจำอาจจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังในอนาคต
  • หากตั้งโทรทัศน์ในระยะที่ใกล้เกินไป จะทำให้เราจดจ่อกับแสงที่ส่งผ่านจอมากเกินไป จนไม่เกิดการขยับร่างกาย ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง นำมาซึ่งปัญหาสมาธิสั้น และทำให้ได้รับคลื่นรังสีมากเกินกว่าปกติ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพสายตาเป็นอย่างมาก

ลักษณะการจัดวางที่นั่ง และการจัดวางโทรทัศน์ที่เหมาะสม (Television & Seating Installation)

ก่อนอื่นเลย สิ่งแรกที่ควรทำคือการสำรวจดูว่าบ้านของเรา เหมาะสมกับโทรทัศน์แบบไหน ขนาดและระยะห่างของโทรทัศน์ที่เหมาะสมควรเป็นเช่นไร เพื่อเปิดประสบการณ์รับชมที่ดีที่สุด ถัดมาคือตำแหน่งการวางโทรทัศน์ ต้องวางให้ระดับสายตาและระดับความสูงของโทรทัศน์ที่อยู่ในระนาบเดียวกัน โดยให้ระดับสายตาตรงกับจุดกึ่งกลางของจอทีวีในลักษณะของการนั่งชมปกติ สังเกตุได้จากคอเราต้องไม่เงยขึ้น หรือ ก้มลงในขณะที่นั่งดู

และควรจัดวางโทรทัศน์ให้ตั้งห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อช่วยให้ระบายความร้อนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น

ระยะห่างระหว่างที่นั่งดูกับจอโทรทัศน์ ที่เหมาะสมกับการรับชม (Viewing Distance)

ระยะห่างขั้นต่ำ - ระยะห่างไกลสุด (Minimum & Maximum Distance)

  • ขนาด 32 นิ้ว  ระยะนั่งที่ใกล้ที่สุด 1.20 ระยะนั่งที่ไกลที่สุด 2.50 เมตร
  • ขนาด 40 นิ้ว  ระยะนั่งที่ใกล้ที่สุด 1.50 ระยะนั่งที่ไกลที่สุด 4.90 เมตร
  • ขนาด 43 นิ้ว  ระยะนั่งที่ใกล้ที่สุด 1.70 ระยะนั่งที่ไกลที่สุด 5.60 เมตร
  • ขนาด 50 นิ้ว  ระยะนั่งที่ใกล้ที่สุด 1.90 ระยะนั่งที่ไกลที่สุด 4.00 เมตร
  • ขนาด 55 นิ้ว  ระยะนั่งที่ใกล้ที่สุด 2.00 ระยะนั่งที่ไกลที่สุด 4.10 เมตร
  • ขนาด 60 นิ้ว  ระยะนั่งที่ใกล้ที่สุด 2.25 ระยะนั่งที่ไกลที่สุด 4.50 เมตร
  • ขนาด 70 นิ้ว  ระยะนั่งที่ใกล้ที่สุด 2.60 ระยะนั่งที่ไกลที่สุด 5.15 เมตร
  • ขนาด 75 นิ้ว  ระยะนั่งที่ใกล้ที่สุด 3.00 ระยะนั่งที่ไกลที่สุด 5.55 เมตร

แปลและเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

© Wazzadu Encyclopedia By InnovatorX

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ