แค่ใบเดียวก็เอาอยู่! นวัตกรรมจากสตาร์ตอัปจากเนเธอร์แลนด์ Touchwind กังหันลมผลิตไฟฟ้าแบบใหม่

ถ้าพูดถึง "กังหันลม" เพื่อนๆ นึกถึงรูปร่างหน้าตาว่าเป็นยังไงกันบ้าง?

 

คงคุ้นตากับใบกังหันลม 3 ใบ สีขาว ใบเรียวยาวขนาดยักษ์ที่อยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้าลานกว้าง โบกใบพัดเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าใช่หรือไม่

 

แต่วันนี้มีนวัตกรรมจากสตาร์ตอัปแห่งหนึ่ง "Touchwind" จากประเทศเนเธอร์แลนด์ มาแนะนำถึงกังหันลมแบบใหม่ที่ ผลิตในต้นทุนที่ถูกกว่า แต่ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าไม่มีดรอป แถมยังใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ไม่หวั่นว่าจะเจอพายุฝนลมแรงแค่ไหนก็ตาม

Touchwind เป็นกังหันลมที่ใช้นอกชายฝั่ง มีใบพัดเพียงหนึ่งใบที่ยาวประมาณ 200 เมตร ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับกังหันลมทั่วไปที่มีกำลังการผลิต 12 เมกะวัตต์ (MW) จึงทำให้สามารถขนย้ายผ่านท่าเรือทั่วไปได้สะดวก โดยตัวใบพัดนี้จะรองรับการใช้งานแม้อยู่กลางกระแสลมที่มีความเร็วถึง 252 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่างจากกังหันลมทั่วไปเมื่อลมแรงเกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กังหันลมจะต้องหยุดทำงาน 

 

สำหรับลำตัวกังหันมีลักษณะเป็นเสาเอียง ปลายจุดหมุน (Rotor) และสายร้อยลูกตุ้มถ่วงที่ไว้ปล่อยลงทะเล ส่วนตัวฐานเป็นทุ่นลอยทรงกระบอกขนาดใหญ่ ที่มีโซ่ร้อยเข้ากับสมอที่ถ่วงใต้ทะเลสำหรับยึดตำแหน่งตัวกังหันลมอีกที

เพราะจำนวนใบพัดเหลือเพียงใบเดียวจึงทำให้ประหยัดต้นการผลิตได้มากกว่าแบบเดิม กังหันลมของ Touchwind ได้รับการออกแบบให้ยกตัวโดยอาศัยแรงลมพายุแบบไม่ต้องมีกลไกไฟฟ้าใด ๆ เพื่อให้ยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติ แม้ว่าจะมีลมพายุที่แรงมากขึ้นก็ตาม และเมื่อลมสงบ ลูกตุ้มที่ถ่วงจุดหมุนเอาไว้จะค่อยๆ ดึงกังหันลมลงเพื่อให้ทำมุมกับกระแสลมปกติตามเดิม

จากประสิทธิภาพของกังหันลม Touchwind แบบใหม่ที่มีใบพัดเดียวตัวนี้ สามารถปั่นกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง และลดต้นทุนการผลิตใบพัดถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับการผลิตใบพัดกังหันลมฃที่ต้องผลิตถึง 3 ใบ 

 

ทางสตาร์ตอัปผู้ผลิตเองมีการทำการทดสอบของตัวต้นแบบแล้ว จากการใช้แบบลอยน้ำ (Floating wind turbine) และแบบปักเสากับพื้นดิน โดยกังหันลมแบบใหม่ของพวกเขายังอยู่ในช่วงการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งล่าสุดในปี 2023 นี้ มีการทดสอบระบบทุ่นลอยตัวที่สถาบันมาริน (MARIN: Maritime Research Institute Netherlands) ซึ่งทดสอบตัวต้นแบบฐานสำหรับใบพัดขนาด 150 เมตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจุดเด่นจะเป็นเรื่องต้นทุนการผลิตที่คุ้มค่า แต่ก็แลกมาด้วยการใช้ชั่วโมงการผลิตที่มากขึ้น ทั้งนี้ก็ยังคงต้องรอคอยดูว่า Tounchwind จะพัฒนากังหันลมผลิตไฟฟ้านี้ต่อไปอย่างไร และในอนาคตจะมาเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานได้แพร่หลายหรือไม่

 

ขอบคุณข้อมูลและรูปประกอบจาก

https://www.tnnthailand.com

https://www.springnews.co.th

Architecture & Building Innovation ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ