วิวัฒนาการภูมิปัญหาท้องถิ่นที่ช่วยให้บ้านเย็น สู่นวัตกรรมผนังประหยัดพลังงานเพื่อ Green Building
ประเทศไทย เป็นหนึ่งใน 11 ประเทศอาเซียน ที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอยู่ใกล้แนวเส้นศูนย์สูตร มีลักษณะเป็นประเทศเขตร้อน ที่มีอากาศแบบร้อนชื้นเป็นส่วนใหญ่ และบางภูมิภาคก็มีฝนตกชุก ดังนั้นการออกแบบก่อสร้างที่พักอาศัยในอาณาเขตประเทศไทยในอดีต จึงค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ชัดเจนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ยุคโบราณ
ภูมิปัญญาด้านการสร้างที่พักอาศัยของชาวไทยในอดีต หรือที่เราเรียกว่ะ และตามอัตภาพการดำรงชีพในยุคนั้นๆ โดยมีองค์ประกอบอาคารที่สำคัญ เช่น จันทัน, อกไก่, อเส, ขื่อ, พรึงไม้ ,รอดไม้ ,ราไม้ ,ฝาปะกน ,แปลาน ,ปันลม ,แผงหน้าจั่ว ,ค้ำยัน ,เหงาไม้ ,ค้างคาวไม้ ,สะพานหมู ,ผักมะขามไม้ ฯลฯ
ชาวไทยโบราณในภูมิภาคต่างๆ จะนิยมปลูกสร้างที่พักอาศัยในลักษณะยกใต้ถุนสูงเพื่อถ่ายเทอากาศ ป้องกันน้ำท่วม และเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานในร่มแบบเอนกประสงค์ เช่น เลี้ยงสัตว์ ทำหัตถกรรม เก็บของ หรือ เป็นพื้นที่พักผ่อนในช่วงกลางวัน
นอกจากนี้ยังออกแบบให้จั่วสูงเพื่อช่วยในการระบายความร้อน และความอับชื้น ทำให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้ดี อีกทั้งยังระบายน้ำฝนได้ดีอีกด้วยในฤดูมรสุม
บ้านพักของชาวบ้านทั่วไปจะเน้นไปที่ฟังก์ชั่นการใช้งานเป็นหลัก จะไม่ได้เน้นในเรื่องความงดงามมากนัก โดยมักนิยมใช้วัสดุก่อสร้างตามธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
ในขณะที่พักอาศัยของระดับเจ้าขุนมูลนาย พ่อค้า หรือ ผู้มียศศักดิ์ จะมีการตกแต่งที่สวยงามประณีตมากขึ้น โดยได้รับอิทธิพลด้านสถาปัตยกรรมจากเปอร์เซียและยุโรป วัสดุที่นิยมใช้จะเป็นไม้เนื้อแข็ง การก่ออิฐถือปูน และของประดับตกแต่งชั้นดี ที่บางชิ้นได้จากเรือสำเภาสินค้าจากต่างประเทศที่ได้เข้ามาทำการค้า ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย รวมไปถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น
ยุคสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เฟื่องฟูในไทย
ยุคนี้เริ่มมีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยเข้ากับสถาปัตยกรรมตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะอิทธิพลโมเดิร์นที่ได้แพร่กระจายในไทยอย่างแพร่หลาย ที่สำคัญเริ่มมีการประยุกต์นำตำราทฤษฏีการออกแบบทางสถาปัตยกรรมมาใช้อย่างเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ดังเช่น
การวางตำแหน่งอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางแดดและกระแสลม
เพราะอาคารจะต้องอยู่คู่กับเราไปอีกหลายสิบปี ฉะนั้นควรวางแผนในการออกแบบให้ดีเพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบายตลอดอายุการใช้งานของตัวอาคาร
- ทิศตะวันตก และทิศใต้ จะได้รับผลกระทบจากแสงแดดที่รุนแรงเป็นเวลา 8-9 เดือนต่อปี เพราะมุมของแสงแดดที่ส่องนั้นเป็นมุมต่ำที่สามารถเข้าสู่อาคารได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการสร้างอาคารที่หันไปในทิศตะวันตก และทิศใต้ โดยออกแบบให้พื้นที่ในทิศดังกล่าวเป็นส่วนหลังบ้าน ,ห้องเก็บของ ,ห้องน้ำ ,โถงบันได ,ห้องครัว ,ที่จอดรถ หรือ พื้นที่ซักล้าง
- ทิศเหนือ และทิศตะวันออก จะเป็นทิศที่ได้รับลมมากที่สุด และโดนแสงแดดน้อยที่สุดตามลำดับ จึงเหมาะที่ออกแบบให้พื้นที่ในทิศดังกล่าวเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องใช้เวลาอาศัยอยู่เกือบทั้งวัน หรือ เป็นฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องการความผ่อนคลาย เช่น ห้องนอน ,ห้องนั่งเล่น หรือ ส่วนรับประทานอาหาร
การเจาะช่องเปิดในทิศที่เหมาะสม
ทิศที่ควรหลีกเลี่ยงการเจาะช่องเปิด หรือ ช่องหน้าต่าง
- ในทิศใต้ และทิศตะวันตก สามารถมีหน้าต่าง หรือ ช่องเปิด ไม่ควรเกิน 20% ของพื้นที่ระนาบผนังทั้งหมด
- ในด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก จะเป็นด้านที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนและแสงจ้าค่อนข้างมาก ฉะนั้นการออกแบบตำแหน่งของหน้าต่าง หรือ ช่องเปิดภายในอาคารควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งในทิศตะวันออกให้มากที่สุด
ทิศที่สามารถเจาะช่องเปิด หรือ ช่องหน้าต่าง ได้อย่างเหมาะสม
- ในทิศเหนือ และทิศตะวันออก สามารถมีหน้าต่าง หรือ ช่องเปิด ได้ตั้งแต่ 50-75% ของพื้นที่ระนาบผนังทั้งหมด
- การติดตั้งหน้าต่างช่องเปิดควรติดตั้งในทิศตะวันออก และทิศเหนือ โดยออกแบบให้หน้าต่าง หรือช่องเปิดที่มีขนาดเท่ากันอยู่ตรงข้ามกันเพื่อให้ลมพัดผ่านถ่ายเทได้ตลอดเวลา ซึ่งช่วยให้บรรยากาศภายในห้องมีความปลอดโปร่ง ให้ความสว่างที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการสะสมเชื้อโรคจากความอับทึบ
การสร้างร่มเงา
- ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน ต้นไม้สามารถช่วยสร้างร่มเงาเพื่อบังแดด และยังช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารได้โดยเฉพาะในทิศใต้ และทิศตะวันตก แต่ทว่าในการปลูกต้นไม้ใหญ่ ควรเว้นระยะจากตัวอาคารไม่น้อยกว่า 5 เมตร เพราะว่ารากไม้นั้นสามารถสร้างความเสียหายกับโครงสร้างของอาคารได้
- ทำระแนง หรือ กันสาด เพื่อกรองแสงให้กับหน้าต่างกระจก หรือช่องเปิดโดยระแนง หรือ กันสาดในระนาบแนวนอนจะเหมาะสมกับหน้าต่าง ที่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศใต้ เพราะสามารถบังแสงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงและช่วง บ่ายได้ ส่วนกันสาดในระนาบแนวตั้งเหมาะสมกับหน้าต่าง หรือช่องเปิดที่อยู่ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก
ยุคสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืน
เป็นยุคที่วงการสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างของไทยเริ่มตระหนักในด้านการใช้พลังงาน และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมก็จะมีมาตรฐานที่เป็นข้อกำหนด ที่ถูกนำมาใช้ประเมินมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นระบบอาคารเขียวที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลก รวมถึงใช้เฉพาะในประเทศไทย เช่น LEED certification, TREES ฯลฯ
ในด้านการพัฒนาวัสดุ ผู้พัฒนาวัสดุเพื่องานก่อสร้างและตกแต่งในไทย ก็ได้มีการพัฒนาคุณสมบัติของตัววัสดุให้สามารถช่วยประหยัดพลังงาน ไม่มีสารตกค้าง มีส่วนผสม และมีกระบวนการผลิตที่คำนึงต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เช่นเดียวกับ อิฐมวลเบา Smartblock G4 จากแบรนด์ Smartblock ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมวัสดุผนังประหยัดพลังงานเพื่อสำหรับ Green Building โดยเฉพาะ ซึ่งจะสามารถช่วยให้อาคารประหยัดพลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Eco & Energy Saving) โดยมีคุณสมบัติสำคัญ คือ
- มีคุณสมบัติเป็นฉนวน จึงช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกก่อนที่จะเข้าสู่ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี
- สามารถป้องกันความร้อนจากภายนอกได้มากกว่าผนังที่ก่อด้วยอิฐมอญ 4-8 เท่า
- มีค่าการนำความร้อน และค่าการถ่ายเทความร้อนรวมที่ต่ำ จึงทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดี ไม่สะสมความร้อน
- ช่วยรักษาสมดุลอุณหภูมิภายในอาคาร จึงทำให้พื้นที่ภายในอาคารมีสภาวะน่าสบาย ไม่อบอ้าว ช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศ
- ผ่านมาตรฐานการทดสอบ ASTM C177-04
นอกจากจะช่วยป้องกันความร้อนแล้ว อิฐมวลเบา Smartblock G4 ยังช่วยป้องกันเสียงรบกวนได้อีกด้วย เนื่องจากผลิตโดยผ่านกระบวนการอบไอน้ำที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และความดันอย่างเหมาะสม (Autoclaved) จึงทำให้รูพรุนที่เกิดขึ้นในมวลโครงสร้างของอิฐมวลเบา มีคุณสมบัติเป็นเสมือนฉนวนป้องกันความร้อน และเสียงรบกวนจากภายนอก จึงช่วยลดทอนความดังของเสียงจากภายนอกอาคาร และภายในระหว่างห้องได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งยังผ่านเกณฑ์รับรอง และได้รับการติดฉลากเบอร์ 5 ประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ในกลุ่มวัสดุอิฐมวลเบา จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่า อิฐมวลเบา Smartblock G4 เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีในการอยู่อาศัย และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม