กระจกนิรภัยเทมเปอร์ / กระจกลามิเนต มีคุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการใช้งานที่ต่างกันอย่างไร

“กระจก” ถือเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีการนำมาใช้ในงานก่อสร้างอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการใช้เพื่อป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง ให้ความปลอดภัย และเพิ่มความสวยงามสร้างอัตลักษณ์เด่นให้กับงานสถาปัตยกรรม 

วันนี้ Wazzadu จึงหยิบยกข้อมูลพื้นฐานของกระจกที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง มานำเสนอด้วยกัน 2 ประเภท นั่นก็คือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ และกระจกลามิเนต นั่นเอง เราไปดูกันครับว่ากระจกทั้ง 2 ประเภทนี้ จะมีคุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการนำไปใช้งานต่างกันอย่างไรบ้าง

กระจกนิรภัยเทมเปอร์

หรือ ที่เรียกว่ากระจกอบ คือการนำกระจกธรรมดาไปผ่านกระบวนการอบที่ความร้อนสูงประมาณ 650 องศาเซลเซียส แล้วนำมาเป่าด้วยลมแรงดันสูงให้เย็นตัวลงทันที

ข้อดี

  • มีความแข็งแรงกว่ากระจกธรรมดา 4-5 เท่า
  • ทนความร้อนได้สูงถึง 290ºC โดยกระจกไม่แตก
  • เมื่อกระจกแตก จะแตกเป็นชิ้นเล็กๆคล้ายเม็ดข้าว โพดทั่วทั้งแผ่น จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน

ข้อเสีย

  • กระจกนิรภัยเทมเปอร์ไม่สามารถตัด เจีย เจาะ ได้
  • กระจกนิรภัยเทมเปอร์มีโอกาสปริแตกด้วยตัวเอง หากเนื้อกระจกที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตมีสารนิเกิ้ลซัลไฟล์ปนเปื้อน

การนำไปใช้งาน

  • ใช้ทำเป็นกระจกงานเฟอร์นิเจอร์
  • ใช้ทำเป็นหน้าต่างกระจก ผนังกระจกทั่วไป

ราคา

  • ราคาเริ่มต้นประมาณ 90-600 บาท/ตารางฟุต

กระจกลามิเนต

จัดเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง โดยเป็นการนำเอากระจกนิรภัยเทมเปอร์ หรือ กระจกประเภทอื่นๆจำนวน 2 แผ่น หรือมากกว่า แล้วนำมาประกบติดกันโดยมีชั้นฟิล์มคั่นกลางระหว่างกระจก

ข้อดี

  • เมื่อกระจกได้รับความเสียหายจนเกิดการแตก เศษกระจกจะไม่ร่วงหล่นลงมา
  • ทนต่อแรงดันลมในที่สูง ทนต่อแรงอัดกระแทก

ข้อเสีย

  • ฟิล์ม PVB มีคุณสมบัติดูดความชื้น จึงทำให้ถ้าหากใช้กระจกประเภทนี้บริเวณที่มีความชื้นสูง จะทำให้การยีดเกาะระหว่างกระจกและฟิล์มไม่ดี และอาจเกิดการแยกตัวออกจากกันได้

การนำไปใช้งาน

  • ใช้เป็นกระจกอาคารสูงตามกฎหมายควบคุมอาคาร
  • ใช้ทำระเบียงราวกันตก หลังคากระจก กันสาดกระจก

ราคา

  • ราคาเริ่มต้นประมาณ 310 บาท/ตารางฟุต

อิฐมอญ / อิฐเซรามิก มีคุณสมบัติ ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการใช้งานที่ต่างกันอย่างไร

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ