รวมไอเดียการออกแบบป้ายหาเสียง ที่เป็นมิตรต่อผู้สัญจรไปมา ไม่กีดขวางทางเท้า และไม่บดบังทัศนวิสัยในการจราจร

ไทยควรเอาอย่าง หรือไม่!!!

เมื่อถึงช่วงเลือกตั้งของไทย หลายๆ พื้นที่ ที่อยู่ในเขตการเลือกตั้ง ก็จะมีการติดตั้งป้ายหาเสียงของผู้สมัครแต่ละคนกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ซึ่งป้ายหาเสียงเหล่านั้นเมื่อดูรวมๆ แล้ว อาจจะไม่เป็นมิตรต่อผู้คนที่สัญจรผ่านไปผ่านมา ตามหลัก Universal Design หรือ การออกแบบเพื่อมวลชนมากนัก ก็เพราะว่า

  • มีขนาดใหญ่ ทั้งสูงและกว้าง ติดตั้งในตำแหน่งระดับสายตาที่อาจเป็นอัตราย ทำให้บดบังทัศนวิสัยผู้ที่สัญจรผ่านไปมา
  • กีดขวางทางเดินเท้า ป้ายหาเสียงในบางจุดทำให้ผู้คนทั่วไปที่สัญจรบนทางเท้า และผู้พิการที่ใช้วีลแชร์ ต้องสัญจรหลบป้ายหาเสียงลงไปบนถนนที่มีรถยนต์วิ่งไปมาแทน ซึ่งค่อนข้างอันตราย
  • บดบังทัศนวิสัยในการจราจร โดยเฉพาะเวลาขับรถออกจากซอย แล้วโดนป้ายหาเสียงบังมิด แทบมองไม่เห็นรถที่วิ่งมาจากอีกด้าน ซึ่งก็ค่อนข้างอันตรายเช่นกัน

แล้วป้ายหาเสียงที่ดีจะต้องเป็นอย่างไร...?

วันนี้จะพาทุกท่านไปชมไอเดียการออกแบบป้ายหาเสียงจากประเทศต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อผู้สัญจรไปมา ไม่กีดขวางทางเท้า และไม่บดบังทัศนวิสัยในการจราจร

ญี่ปุ่น 

มักนิยมติดตั้งป้ายหาเสียง ในลักษณะป้ายหาเสียงร่วม โดยจะติดโปสเตอร์ของสมาชิกทุกพรรคไว้ด้วยกันบนกระดานขนาดใหญ่ ทุกๆพรรคจะได้พื้นที่สื่อเท่าเทียมกัน และอยู่ในบริเวณเดียวกัน ประชาชนก็สามารถดูรายชื่อ และนโยบายของผู้สมัครแต่ละคนได้แบบจบครบในที่เดียว ที่สำคัญไม่กีดขวางทางเท้า และบดบังทัศนวิสัยในการจราจร

เกาหลีใต้

มักนิยมใช้ป้ายหาเสียงร่วมแบบเดียวกับญี่ปุ่น แต่ที่พิเศษกว่าก็คือตามสถานที่สำคัญๆ หรือ พื้นที่ ที่เป็นแลนด์มาร์คของเมือง จะมีการแขวนติดตั้งป้ายหาเสียงที่คล้ายกับการแขวนโคมไฟ ซึ่งจะมีการคุมโทนสีในภาพรวม มีขนาดที่จัดเจน ที่กลมกลืนไม่ขัดต่อบริบทรอบๆ นอกจากจะไม่กีดขวางทางเท้า และบดบังทัศนวิสัยในการจราจรแล้ว ยังช่วยเพิ่มความแปลกตาให้กับแลนด์มาร์คในบริเวณนั้นอีกด้วย

สหรัฐอเมริกา

มักนิยมติดตั้งป้ายหาเสียง ในลักษณะป้ายหาเสียงสนาม หรือ ป้ายสนาม ข้อดีของป้ายสนามคือมีขนาดเล็กกระทัดรัด โครงป้ายนิยมทำจากไม้ โครงเหล็ก หรือ โครงอะลูมิเนียมเล็กๆ ทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง รื้อถอน และเคลื่อนย้ายไปยังจุดอื่นๆ โดยจะติดตั้งในบริเวณ สนามหญ้าละแวกชุมชน หัวมุมถนน หรือพื้นที่วงเวียน โดยจะต้องปักป้ายห่างจากขอบถนนอย่างน้อย 5 ฟุต (ราวๆ 1.5 เมตร) แม้จะติดตั้งใกล้ๆกับถนนแต่ก็ไม่เป็นอันตราย เพราะมีขนาดเล็กต่ำกว่าระดับสายตา และไม่ได้ติดตั้งกีดขวางทางเท้าอีกด้วย

***ในบางรัฐกฎหมายสำหรับการประชาสัมพันธ์หาเสียงอาจมีความแตกต่างกัน

เยอรมนี

มักนิยมติดตั้งป้ายหาเสียงสนาม หรือ ป้ายสนามคล้ายสหรัฐอเมริกา แต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า โดยทำจากโครงเหล็ก หรือ โครงอะลูมิเนียม ที่ถูกออกแบบให้สามารถกางออกเพื่อติดตั้ง และพับเก็บได้อย่างสะดวก โดยจะติดตั้งในบริเวณสนามหญ้าริมถนนที่ห่างจากใหล่พอสมควร และไม่กีดขวางทางเดินเท้า 

เรียบเรียงโดย

Wazzadu.com

ดูเนื้อหาการออกแบบงานสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่

Wazzadu.com
วัสดุคือแพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางฟีเจอร์ต่างๆดังนี้

Search - ค้นหา และจัดเก็บ ทั้งไอเดีย และสินค้า และบริการสำหรับการออกแบบตกแต่ง
Sourcing - จัดหาสินค้า และเปรียบเทียบราคาโดยการติดต่อ ผ่านแบรนด์ต่างๆ หรือบริการในแพลตฟอร์ม
Spec - เครื่องมือสเปคข้อมูลวัสดุ โดยแสดงข้อมูลเพื่อการออกแบบ เปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงลึก ทั้งการติดตั้ง ขนาด ราคา และรีวิวการใช้งาน
แบรนด์ / ผู้จัดจำหน่ายสามารถเปิดโปรไฟล์ และอัพโหลดสินค้าได้ฟรี

ติดต่อเราที่ 02-714-0454
Email: contact@wazzadu.com ...

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ