เพราะเหตุใด...? ในการสร้างโรงเพาะชำ และโซล่าร์ฟาร์ม จึงนิยมใช้ท่อสังกะสี (Pre-Zinc) ในการก่อสร้าง
โรงเพาะชำ (Nursery) และโซล่าร์ฟาร์ม (Solar Farm Plant) นั้น จะมีลักษณะโครงสร้างที่จะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอก (แดด ลม ฝน) ที่แตกต่างกัน สำหรับโรงเพาะชำตัวโครงสร้างจะไม่เผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกโดยตรง ตัวโครงสร้างจะอยู่ภายใต้หลังคาผ้าใบที่ปกคลุมอยู่ ในขณะที่โครงสร้างของโซล่าร์ฟาร์ม จะมีลักษณะเป็นโครงเปลือยทำเผชิญกับสภาพอากาศภายนอกโดยตรง
ในแง่ของการเลือกใช้วัสดุในการทำโครงสร้าง ถึงแม้สิ่งปลูกสร้างทั้ง 2 ประเภท จะมีลักษณะโครงสร้างที่จะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างกัน แต่จะมีอยู่ปัญหาหนึ่งที่พบได้เหมือนๆ กัน คือ ปัญหาเรื่องความชื้น และการกัดกร่อน
- โรงเพาะชำ จะเจอความชื้นและการกัดกร่อน จากละอองน้ำ หรือ การโดนน้ำเป็นเวลานานๆ จากระบบการให้น้ำพืชพรรณที่อยู่ในโรงเพาะชำ รวมไปถึงอุณหภูมิภายในโรงเพาะชำที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกัดกร่อนได้
- โซล่าร์ฟาร์ม จะเจอความชื้นและการกัดกร่อน จากสภาพอากาศที่สามารถพบเจอได้โดยตรง เช่น ฝนตก หรือ น้ำท่วม รวมไปถึงความแตกต่างด้านชีวภาพของสภาพพื้นดินที่นำโซล่าร์ฟาร์มติดตั้ง
เพราะเหตุใด...?
ในการสร้างโรงเพาะชำ และโซล่าร์ฟาร์ม จึงนิยมใช้ท่อสังกะสี (Pre-Zinc) ในการก่อสร้าง
โดยปกติแล้ววัสดุที่สามารถนำมาใช้ในการทำโครงสร้างโรงเพาะชำ และโซล่าร์ฟาร์ม จะใช้เป็นเหล็กกล่อง เหล็กฉากแบบต่างๆ หรือ ท่อสังกะสี ก็ได้ แต่ในแง่ของความคุ้มค่าในการใช้งานนั้น ท่อสังกะสี (Pre-Zinc) มักจะได้รับความนิยมมากกว่าการใช้เหล็ก เนื่องจาก
- ท่อสังกะสีมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กเล็กน้อยในขนาดหน้าตัดเท่าๆ กัน
- ท่อสังกะสีทนต่อการกัดกร่อนได้ในระดับมาตรฐาน และช่วยลดปัญหาเรื่องช่าง (ถ้าใช้เหล็กแล้วช่างทาสีเคลือบผิวไม่ดี จะทำให้เกิดสนิมได้เร็วกว่ามาก)
- ท่อสังกะสีไม่ต้องทำสีใหม่ ช่วยประหยัดงบประมาณในการตกแต่ง (ถ้าใช้เหล็กจะต้องทาเคลือบผิวเพิ่ม เพื่อป้องกันสนิม)
- ท่อสังกะสีมีผิวเรียบสม่ำเสมอ เป็นมันวาว ไม่ต้องทาสีเพิ่ม จึงนำมาใช้งานได้ทันที ทำให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งได้มากขึ้น (ถ้าใช้เหล็กจะต้องทาสีเคลือบ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการเก็บงานเพิ่มขึ้น)
ทำความรู้จักกับท่อสังกะสี (Pre-Zinc)
ท่อสังกะสี (Pre-Zinc) มีชื่อเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า เหล็กท่อ GI เป็นท่อเหล็กที่ได้จากการนำเหล็กแผ่นไปเคลือบสังกะสี (Galvanized steel sheets) และนำมาผ่านการตัดซอย (Slitting) ให้เป็นแถบตามขนาดที่ต้องการ แล้วจึงทำการม้วนขึ้นรูปให้เป็นทรงท่อ แล้วเชื่อมตะเข็บในแนวตรงโดยอาศัยหลักการของความต้านทานไฟฟ้า (Electric Arc Welding : ERW) และพ่นทั้งแนวเชื่อมภายนอกด้วยลวดสังกะสีหลอมละลาย
สำหรับมาตรฐานการผลิตท่อสังกะสีที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงเพาะชำและโซล่าร์ฟาร์ม จะต้องได้รับมาตรฐานการผลิตระดับสากล ได้แก่
- มอก.107-2561
- JIS
ท่อสังกะสี (Pre-Zinc) มีหน้าตัดกี่แบบ แต่ละแบบมีกี่ขนาด
ท่อสังกะสีที่นิยมนำไปใช้ทำโครงสร้างโรงเพาะชำและโซล่าร์ฟาร์มอย่างแพร่หลาย จะมีลักษณะพื้นที่ภาคตัดขวาง 3 รูปแบบ ได้แก่ ท่อกลม ท่อเหลี่ยม และท่อแบน
ท่อสังกะสีกลม
มีขนาดตั้งแต่ 15 mm. (1/2”) ,20 mm. (3/4”) ,25 mm. (1”) ,32 mm. (1-1/4”), 40 mm. (1-1/2”), 50 mm. (2”), 65 mm. (2-1/2”), 80 mm. (3”), 90 mm. (3-1/2”), 100 mm. (4”), 125 mm. (5”), 150 mm. (6”) และ 200 mm. (8”)
ท่อสังกะสีเหลี่ยม
มีขนาดตั้งแต่ : 25×25 mm. ,32×32 mm. ,38×38 mm. ,50×50 mm. ,60×60 mm. ,75×75 mm. ,100×100 mm. และ150×150 mm.
ท่อสังกะสีแบน
มีขนาดตั้งแต่ 50×25 mm. ,60×30 mm. ,75×38 mm. ,100×50 mm. และ 200×100 mm.
ข้อมูลผลิตภัณฑ์ท่อสังกะสี (ท่อกลม ท่อเหลี่ยม และท่อแบน)
องค์ความรู้การเลือกใช้ท่อเหล็ก สำหรับนำไปใช้ในงานก่อสร้างประเภทต่างๆ
ถ้าหากท่านใดที่สนใจท่อสังกะสี เพื่อนำไปใช้ในงานก่อสร้าง
สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center 02-285-2700
Website : www.cotcometalworks.co.th ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.
ผู้เขียนบทความ
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ... อ่านเพิ่มเติม