ระบบดับเพลิงภายในอาคารที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ และพื้นที่เสี่ยงในการเกิดอัคคีภัยแบ่งออกได้กี่รูปแบบ

ระบบดับเพลิง และป้องกันอัคคีภัยภายในอาคาร (Fire Protection System) ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ออกแบบ และเจ้าของอาคารควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ การส่งสัญญาณเตือนภัย และการทำงานของระบบควบคุมเพลิงภายในอาคาร ล้วนมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานภายในอาคาร และตัวอาคารได้ ดังนี้

  • ในกรณีเพลิงไหม้ในระดับความรุนแรงเล็กน้อย-ปานกลาง ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยหยุดเหตุการณ์เพลิงใหม้ให้สงบลงได้
  • ในกรณีเพลิงไหม้ระดับรุนแรงสูงสุด ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยทุเลาความรุนแรง  และประวิงเวลาเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ที่ติดอยู่ในอาคารได้
  • ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยควบคุมพื้นที่การลุกลามของเปลวไฟไม่ให้ลามไปจุดอื่นๆ ของอาคาร ทำให้ความเสียหาย และความรุนแรงไม่กระจายลุกลามในวงกว้าง
  • ระบบหัวกระจายนํ้าดับเพลิงอัตโนมัติที่ถูกออกแบบอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรม จะให้ความรวดเร็วในการดับไฟ ทำให้ควบคุมเพลิงได้ทันท่วงที โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่นักผจญเพลิง และรถดับเพลิงเข้าถึงได้ยาก หรือ ต้องใช้เวลานานกว่าจะไปถึงจุดที่เกิดเพลิงไหม้ลุกลาม 

ในปัจจุบันระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในระดับสากลมี 2 รูปแบบหลักๆ  ได้แก่

  • ระบบท่อยืน และตู้หัวฉีดดับเพลิง
  • ระบบหัวกระจายนํ้าดับเพลิง

ระบบท่อยืน และตู้หัวฉีดดับเพลิง

แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ

  • ระบบท่อเปียกโดยอัตโนมัติ (Automatic wet) เป็นระบบท่อยื่นซึ่งต่อกับแหล่งจ่ายน้ำ และสามารถจ่ายน้ำได้อัตโนมัติ โดยมีความดันและปริมาณการไหลของน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการของระบบ
  • ระบบท่อเปียกควบคุมด้วยมือ (Manual wet) เป็นระบบท่อยืนที่ต่อกับแหล่งจ่ายน้ำประปาในอาคาร เช่น ระบบน้ำใช้ โดยมีความมุ่งหมายให้มีน้ำอยู่ในระบบท่อเท่านั้น ซึ่งแหล่งจ่ายน้ำในลักษณะนี้ไม่สามารถให้ความดันและปริมาณการไหลของน้ำเพียงพออย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการของระบบ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ระบบท่อนี้จะสามารถรับน้ำจากแหล่งน้ำภายนอกได้ เช่น เครื่องสูบน้ำดับเพลิงของรถดับเพลิง ซึ่งจะจ่ายน้ำเข้าสู่ระบบเพื่อให้ความดัน และปริมาณการไหลของน้ำตามความต้องการของระบบได้

    *** ห้ามไม่ให้ใช้ระบบท่อเปียกควบคุมด้วยมือกับอาคารสูง

หลักเกณฑ์การเลือกใช้วัสดุท่อนํ้าในระบบท่อยืน และตู้หัวฉีดดับเพลิง จะต้องเป็นท่อเหล็กผิวเรียบ ทาสีแดง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 ซึ่งจะต้องเป็นท่อที่ได้มาตรฐาน ASTM, JIS และ BS เท่านั้น

ระบบหัวกระจายนํ้าดับเพลิง

แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ

  • ระบบท่อเปียก (Wet pipe system) เป็นระบบที่นิยมใช้มากในอาคารทั่วไป เหมาะสมที่จะติดตั้งทั่วทุกพื้นที่ภายในอาคาร เพราะระบบจะมีน้ำอยู่ในเส้นท่อตลอดเวลา เมื่อใดที่เกิดเพลิงไหม้หัวกระจายน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งอยู่เหนือบริเวณนั้นจะแตกและฉีดน้ำออกมาดับเพลิงทันที
  • ระบบท่อแห้ง (Dry pipe system) เป็นระบบที่เหมาะสำหรับใช้งานในพื้นที่ ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ไม่ต้องการให้มีน้ำภายในระบบท่อตลอดเวลา เพราะอาจเกิดการแข็งตัวของน้ำในระบบ เช่น พื้นที่แช่เย็น (Refrigerated Area), ห้องเย็น (Cold Storage) เป็นต้น

หลักเกณฑ์การเลือกใช้วัสดุท่อนํ้าในระบบท่อยืน และตู้หัวฉีดดับเพลิง จะต้องเป็นท่อเหล็กผิวเรียบ ทาสีแดง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 ซึ่งจะต้องเป็นท่อที่ได้มาตรฐาน ASTM, JIS และ BS เท่านั้น

นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งหลักเกณฑ์สำหรับการพิจารณาประเภทพื้นท่ี ท่ีมีอันตรายน้อยไปยังอันตรายมาก เพื่อพิจารณาความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบและคํานวณมีความปลอดภัยต่อการใช้งานออกได้ 3 รูปแบบหลักๆดังนี้   

พื้นที่อันตรายน้อย (Light hazard occupancies) 

ได้แก่ที่พักอาศัย ,สํานักงานท่ัวไป ,ภัตตาคาร(ส่วนรับประทานอาหาร), โรงภาพยนตร์ และศูนย์การประชุม (ไม่รวมเวที และเวทีหลังม่าน), วัด, สถานศึกษา, สถาบันต่างๆ, โรงพยาบาล, ห้องสมุด (ยกเว้นห้องสมุดท่ีมีชั้นวางหนังสือขนาดใหญ่) และพิพิธภัณฑ์

พื้นที่อันตรายปานกลาง (Ordinary hazard occupancies) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ประกอบด้วย ที่จอดรถยนต์ และห้องแสดงรถยนต์, โรงงานผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์, โรงงานผลิตเครื่องดื่ม, ร้านทําขนมปัง, ร้านซักผ้า, โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง, โรงงานผลิตแก้ว, ภัตตาคาร (ส่วนบริการ) และโรงงานผลิตเครื่องบริโภคประจําวัน
  2. ประกอบด้วย โรงงานผลิตสินค้าที่ทําจากหนังสัตว์, โรงงานผลิตลูกกวาด, โรงงานผลิตสิ่งทอ, โรงงานยาสูบ, โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์ไม้, โรงพิมพ์และสิ่งพิมพ์โฆษณา, โรงงานที่ใช้สารเคมี, โรงสีข้าว, โรงกลึง, โรงงานประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ, โรงต้มกลั่น, อู่ซ่อมรถยนต์, โรงงานผลิตยางรถยนต์, โรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่อง, โรงงานกระดาษและผลิตเยื่อกระดาษ, โรงงานผลิตภัณฑ์กระดาษ, ร้านค้า, ท่าเรือ, โรงงานผลิตอาหารสัตว์, เวทีแสดง, ที่ทําการไปรษณีย์, ห้องสมุด (มีชั้นเก็บหนังสือขนาดใหญ่) และร้านซักแห้ง

พื้นที่อันตรายมาก (Extra hazard occupancies) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. พื้นที่กลุ่มน้ีจะมีลักษณะการใช้งานท่ีเกี่ยวข้องกับ ของเหลวติดไฟ (Combustible liquid) หรือของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) ในปริมาณไม่มาก ได้แก่ โรงเก็บและซ่อมเครื่องบิน, โรงงานผลิตไม้อัดและไม้แผ่น, โรงพิมพ์ (ใช้หมึกพิมพ์ที่มีจุดวาบไฟตํ่ากว่า 37.9 °C), อุตสาหกรรมยาง, โรงเลื่อย, โรงงานสิ่งทอรวมท้ังโรงฟอก ย้อม ปั่นฝ้าย เส้นใย สังเคราะห์ และฟอกขนสัตว์ และโรงทําเฟอร์นิเจอร์ด้วยโฟม
  2. พื้นที่กลุ่มนี้จะมีลักษณะการใช้งานที่เก่ียวข้องกับของเหลวติดไฟ (Combustible liquid) หรือของเหลวไวไฟ (Flammable liquid) ปริมาณมากๆ ได้แก่ โรงงานผลิตยางมะตอย, โรงพ่นสี, โรงกลั่นน้ํามัน, โรงงานผลิตนํ้ามันเครื่อง, โรงชุบโลหะที่ใช้นํ้ามัน, อุตสาหกรรมพลาสติก, พื้นที่ล้างโลหะด้วยสารละลาย หรือ การเคลือบสีด้วยการจุ่ม

ตัวอย่างการติดตั้งใช้งานท่อดับเพลิงมาตรฐาน ASTM ในอาคารสาธารณะ

สำหรับท่านที่สนใจท่อเหล็กที่ใช้ในงานระบบดับเพลิงภายในอาคาร

สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่ Cotco Call Center  02-285-2700​ ​

Website : www.cotcometalworks.co.th  ,FB Page : Cotco Metal Works Ltd.

บริษัท คอทโก้เมททอลเวอร์คส จำกัด / COTCO METAL WORKS LIMITED
ผู้ผลิตท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และศูนย์บริการเหล็ก ...
...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ