มาเรียนรู้อดีต เพื่อออกตามหาอนาคต ให้กับ “เบญจรงค์”

SACICT ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังเสวนาแนวทางส่งเสริมและพัฒนา “งานเบญจรงค์” 22 ธันวาคมนี้ เวลา 9.00 – 16.30 น. ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อ.บางไทร

หัวข้อเสวนา

“เรียนรู้อดีต เพื่อออกตามหาอนาคต” ของงานเบญจรงค์
“เข้าใจ ให้เข้าถึง” สถานการณ์เบญจรงค์ ด้านธุรกิจ การตลาด รูปแบบ และการผลิต
“พลิกคุณค่า เข้ามาในวิถี” Benjarong to Life กับ ปัจจัย 4 ในชีวิต
“ปลุกแรงบันดาลใจ คืนลมหายใจให้เบญจรงค์”

ถ่ายทอดความรู้โดยผู้มากประสบการณ์เรื่องเบญจรงค์ไทย อาทิ

- ครูวิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2559 จากปิ่นสุวรรณเบญจรงค์
- คุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์เครื่องกระเบื้องชามโบราณ
- ครูอุไร แตงเอี่ยม ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2557 ประเภทเครื่องเบญจรงค์ และประธานกลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์บ้านดอนไก่ดี
- อาจารย์ธีรพล อิ่มใจ หัวหน้าภาควิชาเครื่องปั้นดินเผา วิทยาลัยเพาะช่างฯ
- อาจารย์พนม เสมาทอง ศิลปินครูช่างศิลปาชีพบางไทร หัวหน้าแผนกเครื่องเคลือบดินเผาและเจ้าของรางวัลประเภทศิลปกรรมดีเด่น งานการแสดงเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติครั้งที่ 13 ปี 2549
- อาจารย์สุขุมมาลย์ เล็กสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชานฤมิตรศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผศ.อารยา ศานติสรร อดีตหัวหน้าสาขาผังเมืองและสภาพแวดล้อมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คุณสุทธิพงศ์ สุริยะ Food Stylist เจ้าของ Karb Studio
- คุณนวธันว์ รุ่งดิลกโรจน์ เจ้าของแบรนด์เครื่องประดับไทยร่วมสมัย “NAWATAN”
- คุณเอ็มโซเฟียน เบญจเมธา เจ้าของแบรนด์เซรามิค เบญจเมธา
- ผศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมัครฟรี...ได้ที่
035-367-054 ต่อ 1359 (คุณพันธิตรา)
094-2264954 , 02-1957402-4 (คุณกัญญารัศศ์)
Call Center 1289

*** ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 16 ธันวาคม 2559

**** ดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามภาพด้านล่างได้เลยครับ

#WAZZADU #SACICT #ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน) #เสวนาแนวทางส่งเสริมและพัฒนางานเบญจรงค์ #เบญจรงค์

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ