ดีเทลการออกแบบและติดตั้งฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง (ชนิดม้วน) และฉนวนกันเสียงและดูดซับเสียง (ชนิดแผ่น) ในงานสถาปัตยกรรม
ฉนวนกันความร้อน (Thermal Insulation)
คือ วัสดุที่มีความสามารถในการสกัดกั้นความร้อนไม่ให้ส่งผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้ง่าย ฉนวนที่ดีจะทำหน้าที่ต้านทานหรือป้องกันมิให้พลังงานความร้อน ส่งผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้สะดวก
ฉนวนกันเสียง (Sound Insulation)
คือ วัสดุที่มีความสามารถในการกั้นเสียงให้ผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งให้น้อยที่สุด หรือไม่ให้เสียงผ่านเลย ฉนวนกันเสียง เป็นฉนวนที่มีลักษณะเป็นเซลล์เปิด (Open Cell) จึงช่วยในการดูดซับเสียงได้อย่างมาก จะช่วยลดระดับพลังงานของเสียงในผนัง Dry Wall และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกั้นเสียง STC (Sound Transmission Class) ให้มากขึ้น
ฉนวนดูดซับเสียง (Sound Absorption)
คือ วัสดุที่มีความสามารถในการดูดซับเสียง เป็นฉนวนที่มีลักษณะเป็นเซลล์เปิด (Open Cell) มีประสิทธิภาพลดทอนพลังงานเสียงภายในห้อง ไม่ให้ก้องและสะท้อนอยู่ภายใน วัสดุที่ดีจะต้องมีค่าการดูดซับเสียง NRC (Noise Reduction Coefficient) ที่มากช่วยลดระดับพลังงานของเสียงได้ดี
โดยการเลือกใช้ ฉนวนกันความร้อน (Thermal Insulation) และ ฉนวนกันเสียงและดูดซับเสียง (Sound Insulation, Sound Absorption) ต้องเลือกจากคุณสมบัติหลาย ๆ ปัจจัยเช่น
- ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อน
- ประสิทธิภาพการป้องกันเสียง
- ประสิทธิภาพการป้องกันดูดซับเสียง
- ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า
- ไม่ติด และไม่ลามไฟ
- ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- อายุการใช้งานยาวนาน
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ติดตั้งได้ง่าย
Wazzadu Encyclopedia x Microfiber จึงได้ร่วมมือกันเพื่อสร้างชุดข้อมูลองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อกระบวนการออกแบบ และการก่อสร้าง ในหัวข้อ รายละเอียดในการติดตั้งฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียงในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งจะมีรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ตามมาชมได้เลยครับ
ดีเทลการออกแบบและติดตั้งฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง (ชนิดม้วน) และฉนวนกันเสียงและดูดซับเสียง (ชนิดแผ่น) ในงานสถาปัตยกรรม
ดีเทลการออกแบบ และติดตั้งฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง ชนิดม้วนกับงานหลังคา (MicroRoof)
คือ ฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียงที่ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ สําหรับงานหลังคามีทั้งแบบชนิดม้วน และแผ่น เนื้อฉนวนใส่สารพิเศษ Non Water Absorption ที่ช่วยลดการอมน้ำ ไม่ดูดซับน้ำและความชื้น สามารถติดตั้งกับหลังคาเหล็กรีด หลังคากระเบื้อง หลังคาคอนกรีตทั้งหลังคาเก่า และหลังคาใหม่โดยมีวิธีการติดตั้งฉนวนในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะของหลังคา
การปูฉนวนในช่องแป (แบบมีตะแกรงลวดยึดติดระหว่างแป)
- นำฉนวนปูไปตามแนวของแปหลังคา โดยมีลวดตาข่าย (WIRE MESH) หรือ ลวดกรงไก่ (CHICKEN WIRE) ที่ติดตั้งอยู่ระหว่างแปหรือใต้แปรองรับฉนวนไว้ โดยสามารถติดตั้งกับหลังคาที่กำลังก่อสร้างใหม่
การปูฉนวนในช่องแป (แบบมีตะแกรงลวดยึดติดบนแป)
- นำฉนวนปูไปตามแนวของแปหลังคา โดยมีลวดตาข่าย (WIRE MESH) หรือ ลวดกรงไก่ (CHICKEN WIRE) ที่ติดตั้งอยู่บนแปรองรับฉนวนไว้ โดยสามารถติดตั้งกับหลังคาที่กำลังก่อสร้างใหม่
การปูฉนวนในช่องแป (แบบผูกลวด)
- นำฉนวนไปปูตามแนวของแป โดยมีลวดที่ผูกกับแปให้ระยะห่าง 30 ซม. รองรับฉนวนไว้ โดยสามารถติดตั้งได้กับหลังคาที่กำลังก่อสร้าง หรือติดตั้งกับหลังคาที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว
การปูฉนวนตามขวางแป (แบบมีตะแกรงลวดยึดติดบนแป)
- นำฉนวนปูไปตามแนวขวางกับแป โดยมีลวดตาข่าย (WIRE MESH) หรือ ลวดกรงไก่ (CHICKEN WIRE) ที่ติดตั้งอยู่รเหนือแปรองรับฉนวนไว้ โดยสามารถติดตั้งกับหลังคาที่กำลังก่อสร้างใหม่
การปูฉนวนตามขวางแป (แบบไม่มีตะแกรงลวดรองรับฉนวน)
- นําฉนวนปูไปตามแนวขวางกับแปโดยไม่มีลวดตาข่าย (WIRE MESH) หรือ ลวดกรงไก่ (CHICKEN WIRE) รองรับฉนวน เหมาะสําหรับหลังคาที่มีระยะห่างของแปไม่เกิน 1.5 เมตรโดยสามารถติดตั้งได้สะดวกและรวดเร็วกับหลังคาที่กำลังก่อสร้างใหม่
แบบปูฉนวนด้วยวิธียึดติดใต้พื้น Concrete Slab
- นําฉนวนยึดติดกับพื้น Concrete Slab ด้วย หนามเตย (Spindle pin) หรือ พุกพลาสติก ที่มีระยะห่างประมาณ 20 - 60 ซม. และใช้ลวดพันยึดติดกับ หัวสกรูที่เลยออกมาจากฉนวนเป็นรูปทแยงมุม โดยการเจาะฝังพุกจะต้องไม่กระทบกับโครงสร้างของอาคาร ซึ่งสามารถติดต้ังได้กับอาคารที่กําลังก่อสร้างใหม่ และอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว
ดีเทลการออกแบบ และติดตั้งฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง ชนิดม้วนกับงานฝ้าเพดาน No.5
ฉนวนใยแก้วชนิดม้วนหุ้มรอบด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ ป้องกันความร้อนและดูดซับเสียง สามารถติดตั้งได้กับฝ้าเพดานทุกชนิด เช่น ฝ้าเพดานแบบที-บาร์ ฝ้าเพดานยิปซั่มฉาบเรียบ ฝ้าเพดานกระเบื้องแผ่นเรียบ เหมาะสำหรับงานอาคารพักอาศัยที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว หรือกำลังก่อสร้าง
วิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง
มีทั้งหมด 3 ขั้นตอน คือ
- ทำการเปิดฝ้าเพดาน และนำฉนวนขึ้นไปบริเวณที่ต้องการติดตั้ง
- ปูฉนวนบริเวณที่ต้องการติดตั้ง โดยทำการกลิ้งม้วนฉนวนบนโครงคร่าวฝ้าเพดาน
- ปูจนเต็มพื้นที่และตรวจสอบความเรียบร้อย
ดีเทลการออกแบบ และติดตั้งฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง ชนิดแผ่นกับงานผนัง (MicroTone)
เป็นแผ่นอะคูสติกสำหรับการป้องกันเสียงที่ผลิต และออกแบบใช้ติดตั้งรวมกับผนังทุกประเภท เช่น ระบบผนังเบา ผนังอิฐมอญ ผนังอิฐมวลเบา ผนังไม้ และระบบผนังอื่นๆ เพื่อป้องกันการส่งผ่านของเสียงจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งได้เป็นอย่างดีเหมาะสําหรับอาคาร ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องนอน ห้องทํางาน ห้องประชุม ห้องฟังเพลง ห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องบันทึกเสียง และห้องอื่นๆที่ต้องการควบคุมเสียง
ระบบผนังยิปซั่ม (Regular - High Density)
- ระบบผนังยิปซั่ม 1 ชั้น 2 ด้าน สำหรับค่า STC 42-56 ใช้แผ่นยิปซั่มหนา 12 มม. ติดตั้งร่วมกับ โครงคร่าวโลหะ ขนาด C65 กรุช่องว่างด้วยฉนวนกันเสียงและดูดซับเสียง ความหนา 50 มม.
ระบบผนังไฟเบอร์ซีเมนต์
- ระบบผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ 1 ชั้น 2 ด้าน สำหรับค่า STC 51-61 ใช้แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์หนา 12 มม. ติดตั้งร่วมกับ โครงคร่าวโลหะ ขนาด C65 กรุช่องว่างด้วยฉนวนกันเสียงและดูดซับเสียง ความหนา 50 มม.
ระบบผนังอิฐมอญฉาบปูน
- ระบบผนังอิฐมอญฉาบปูน สำหรับค่า STC 65 ก่อผนังหนา 10 ซม. ทั้ง 2 ด้าน ติดตั้งร่วมกับ โครงคร่าวโลหะ ขนาด C65 ปิดทับด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หนา 8 มม.กรุช่องว่างด้วยฉนวน กันเสียงและดูดซับเสียง ความหนา 50 มม.
ระบบผนังอิฐมวลเบาฉาบปูน
- ระบบผนังอิฐมวลเบาฉาบปูน สำหรับค่า STC 68 ก่อผนังหนา 10 ซม. ทั้ง 2 ด้าน ติดตั้งร่วมกับ โครงคร่าวโลหะ ขนาด C65 ปิดทับด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หนา 8 มม.กรุช่องว่างด้วยฉนวน กันเสียงและดูดซับเสียง ความหนา 50 มม.
รายละเอียดผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียง (ชนิดม้วน) และฉนวนกันเสียงและดูดซับเสียง (ชนิดแผ่น)
-
Online
-
Online
-
Online
-
กันความร้อนและดูดซับเสียง Microfiber Noizelezz ชนิดแผ่น 0.60x1.20ม.
วัสดุฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน ,ฉนวนกันเสียง
350 บาท/แผ่น
Online -
กันความร้อนและดูดซับเสียง Microfiber ชนิดม้วน 1.22x30.50ม.
วัสดุฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน ,ฉนวนกันเสียง
3,870 บาท/ม้วน
Online -
กันความร้อนและดูดซับเสียง Microfiber ชนิดม้วน 1.22x30.50ม
วัสดุฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน ,ฉนวนกันเสียง
4,520 บาท/ม้วน
Online
ข้อมูลวัสดุศาสตร์ และหลักการออกแบบทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม