การออกแบบพื้นที่ภายในบ้านแบบเล่นระดับ มีกี่รูปแบบ

บ้านเล่นระดับ หรือ Split-level house คือการออกแบบบ้านโดยใช้รูปแบบการเล่นระดับของพื้นที่ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการออกแบบภายนอกและภายใน ส่วนมากการออกแบบบ้านเล่นระดับ จะใช้รูปแบบของบันไดมาเป็นตัวช่วยในการสร้างสเต็ปของพื้นที่ โดยนิยมใช้ห้องนั่งเล่นเป็นพื้นที่หลัก และสร้างระดับไปสู่ห้องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องซักรีด เป็นต้น

บ้านเล่นระดับได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงปี 1950 และในปัจจุบันเทคนิคการตกแต่งโดยใช้รูปแบบของบ้านเล่นระดับก็ยังมีให้เห็นในงานออกแบบภายในอย่างแพร่หลาย เช่น การออกแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ที่จะมีการสร้างสเต็ปภายในบ้าน เพื่อแบ่งแยกพื้นที่การใช้งาน และทำให้ภายในบ้านดูมีมิติในการออกแบบที่น่าสนใจ

และถึงแม้ภายในประเทศไทยจะไม่ได้นิยมทำห้องใต้ดินเหมือนกับในต่างประเทศ แต่การออกแบบภายในโดยใช้รูปแบบการออกแบบบ้านเล่นระดับ ก็สามารถนำมาปรับใช้ได้เช่นกัน เหมาะกับที่อยู่อาศัยประเภท บ้านชั้นเดียว ห้องที่มีพื้นที่ขนาดกลางไปถึงใหญ่ การแบ่งพื้นที่โดยใช้เทคนิคนี้จะช่วยให้พื้นที่โดยรวมดูมีสัดส่วนที่ชัดเจน เป็นการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วนโดยไม่รู้สึกอึดอัด เพราะทั้งบ้านดูเชื่อมต่อเป็นบริเวณเดียวกัน 

ยกระดับพื้นที่นั่งเล่นแบบเปิดโล่งขนาดใหญ่

ยกระดับพื้นที่ห้องเล่นแบบเปิดโล่ง ด้วยบันไดสั้นประมาณ 1-2 ขั้น หรือประมาณ 10 - 15 ซม. เชื่อมต่อกับห้องครัว บริเวณห้องนั่งเล่นอยู่ในพื้นที่การยกระดับที่สูงกว่า โซนห้องครัวอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่า และเชื่อมต่อกับบริเวณประตูหลังบ้านซึ่งสามารถเปิดรับลมที่สามารถไหลเวียนเข้ามาสู่ภายในบ้านได้ การยกระดับพื้นบ้านด้วยระดับเดียวกับขั้นบันไดแบบสั้นนี้ เหมาะสำหรับที่พักอาศัยที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง แต่ยังคงต้องการความโปร่งโล่ง เพราะการยกระดับพื้นที่ห้องนั่งเล่นแยกจากโซนครัว จะช่วยให้พื้นที่ภายในบ้านดูเป็นสัดส่วนโดยไม่ต้องกั้นห้อง

ยกระดับแบ่งพื้นห้องนอนที่ด้วยขั้นบันได

การยกระดับพื้นที่ในห้องนอนเป็นอีกรูปแบบที่พบเห็นได้บ่อย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทบ้านชั้นเดียว หรือห้องประเภทคอนโดมิเนียม ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องการแบ่งพื้นที่เป็น 2 ชั้น การยกระดับพื้นแบบขั้นบันไดสเต็ปเล็กไปถึงกลาง หรือประมาณ 2-4 ขั้นบันได จะช่วยให้พื้นที่บริเวณเตียงนอนนั้นถูกแบ่งโซนสำหรับการพักผ่อนได้อย่างชัดเจน ทำให้ห้องดูน่าอยู่และดูเป็นสัดส่วนมากขึ้น สามารถใช้วิธีการตกแต่งแบบ Built-in Furniture ในส่วนของเตียงนอนให้มีพื้นที่สำหรับเก็บของหรือซ่อนของที่ไม่ได้ใช้งานให้เป็นระเบียบ

ยกระดับพื้นเพื่อแบ่งโซนห้องซักรีด

การยกระดับพื้นรูปแบบนี้ พบเห็นได้บ่อยในการออกแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ลักษณะจะเป็นการยกพื้นขึ้นสูงจากระดับพื้นประมาณ 1-2 ขั้นบันได และมักจะอยู่บริเวณด้านหลัง หรือด้านข้างของตัวบ้าน ในส่วนของพื้นที่ที่อยู่ระดับต่ำกว่า จะถูกใช้เป็นโซนสำหรับซักล้างหรือตากผ้าต่างๆ เพราะเวลาที่ต้องใช้น้ำบริเวณนี้ จะได้ไม่เปียกหรือเลอะไปยังโซนอื่นๆ ของตัวบ้าน พื้นที่ส่วนนี้อาจจะทำแบบเชื่อมต่อกับระเบียงหรือบริเวณประตูหลังบ้าน เพื่อให้สามารถรับแดดได้อย่างสะดวก

ยกระดับและกั้นผนังสำหรับพื้นที่การทำงาน

การยกระดับพื้นที่และกั้นผนังสำหรับแยกเป็นโซนทำงาน เหมาะสำหรับที่พักอาศัยพื้นที่ขนาดเล็กถึงกลาง ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ลักษณะการออกแบบ หากเป็นรูปแบบห้องที่มีความสูงของเพดานเป็นจุดเด่น มากกว่าพื้นที่ด้านกว้างของห้อง สามารถใช้ประโยชน์จากความสูงของเพดานโดยยกระดับพื้นให้สูงขึ้นประมาณ 3-6 ขั้นบันได จัดโซนเป็นพื้นที่ทำงานหรือชั้นวางหนังสือ

หรือจะใช้วิธี Built-in ชั้นลอย และใช้พื้นที่บริเวณด้านล่างเป็นเตียงนอนก็ได้เช่นกัน เพราะช่วยประหยัดพื้นที่ และยังได้ความเป็นส่วนตัว ดูเป็นสัดส่วน แต่ทั้งนี้ควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการ Built-in เฟอร์นิเจอร์เพื่อคำนวณน้ำหนัก การเลือกวัสดุ ให้ปลอดภับต่อผู้ใช้งาน

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก 

  • บ้านและสวน
  • www.masterclass.com

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ