หลักการออกแบบแปลนห้อง ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้ใช้งาน

การออกแบบภายในที่อยู่อาศัยนั้นส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก เพราะมนุษย์รับรู้ความรู้สึกผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ การนำองค์ประกอบ เช่น เส้น แสง สี สไตล์ มาใช้ในการตกแต่ง ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยทั้งสิ้น ดังนั้น การออกแบบแปลนห้องที่ดีและเหมาะกับผู้อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้ Wazzadu Encyclopedia จึงได้ทำการรวบรวมไอเดียการออกแบบแปลนห้อง ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้ใช้งาน มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่าน ติดตามในบทความนี้ได้เลยครับ

การวางแปลนห้องนั่งเล่น

ห้องนั่งเล่น จัดเป็นห้องที่อยู่ในหมวดหมู่โซนสาธารณะ โดยส่วนมากบ้านที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก-กลาง มักจะทำห้องนั่งเล่นติดกับประตูเข้าออก ซึ่งเมื่อมีการเปิดประตูเข้าออกก็จะต้องเดินผ่านห้องนั่งเล่น ดังนั้น จึงมีโอกาสที่ผู้ใช้งานมักจะเดินผ่านทางนี้บ่อยๆ การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ จึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นทางเดินเชื่อมระหว่างประตูเข้าออก เพื่อให้บริเวณทางเดินมีพื้นที่ในการเดินเข้าออกที่สะดวกและไม่รบกวนผู้อยู่อาศัยที่กำลังใช้งานในโซนนั่งดูโทรทัศน์

การจัดวางเฟอร์นิเจอร์

  • ควรหลีกเลี่ยงโซนทางเดิน จัดวางเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบตัว L หรือ U เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานโซนนี้ได้อย่างสะดวก และเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
  • วางโต๊ะกลางห่างจากโซฟาอย่างน้อย 40 เซนติเมตร ให้เดินผ่านได้สะดวก
  • ผนังด้านที่วางทีวีและผนังฝั่งตรงข้ามควรเป็นผนังทึบเพื่อไม่ให้มีแสงแยงตาและแสงสะท้อน
  • สำหรับผู้อยู่อาศัยจำนวน 2- 4 คน ควรมีพื้นที่ห้องนั่งเล่นอย่างน้อย 9-16 ตรม. จะสามารถใช้งานพื้นที่ได้สะดวกสบาย

ขนาดความห่างของการจัดวางโทรทัศน์ให้พอดีกับสรีระ

  • ขนาดหน้าจอ 26 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1 เมตร
  • ขนาดหน้าจอ 32 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1.25 เมตร
  • ขนาดหน้าจอ 42 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1.60 เมตร
  • ขนาดหน้าจอ 50 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1.90 เมตร
  • ขนาดหน้าจอ 52 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 2 เมตร
  • ขนาดหน้าจอ 60 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 2.20 เมตร
  • ขนาดหน้าจอ 70 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 2.63 เมตร

การวางแปลนห้องนอน

"ผังห้องแบบหน้ากว้าง" เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า "ผังห้องแบบหน้าแคบ"

การเลือกผังห้องก็เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความอึดอัดของผู้อยู่อาศัย ถึงแม้ในกรณีที่ห้องจะมีขนาดพื้นที่เท่ากัน เช่น ขนาดพื้นที่ 21 ตรม. กลับพบว่าผังห้องที่มีรูปแบบหน้ากว้าง ส่งผลให้ผู้ที่อยู่อาศัยอึดอัดน้อยกว่าผังห้องที่มีรูปแบบหน้าแคบ การจัดห้องของผังห้องรูปแบบนี้สามารถทำได้หลากหลาย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดที่ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดเล็กใหญ่คละกัน เพื่อลดทอนความเป็นกล่องของผังห้องแบบหน้ากว้างหรือสีเหลี่ยม และไม่ควรกั้นห้องแบบก่อกำแพงปิดกั้น เพราะจะทำพื้นที่ซึ่งน้อยอยู่แล้วยิ่งคับแคบมากกว่าเดิม

1.ห้องนอนทั่วไปที่อยู่สบายควรใช้พื้นที่ประมาณ 18-24 ตารางเมตร ขึ้นอยู่ขนาดของเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง

2. ควรเว้นทางเดินข้างเตียงควรกว้างอย่างน้อย 60 เซนติเมตร เพื่อสะดวกต่อผู้ใช้งานหากต้องการลุกไปเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน

3.หัวเตียงควรเป็นผนังทึบเพื่อความรู้สึกปลอดภัยในการพักผ่อน

การวางแปลนห้องครัว

การออกแบบแปลนห้องครัวให้สะดวกต่อผู้ใช้งาน อย่างแรกคือการเลือกรูปแบบเคาน์เตอร์ครัวให้เหมาะกับพื้นที่ เช่น

การจัดวางผังครัวแบบ I หรือ I-Shaped Kitchen

เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็ก  3-5 ตร.ม. ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นห้องในอาคารชุด เช่น อพาร์เม้นท์ คอนโดมิเนียม หรือ ทาวน์เฮ้าส์ 

การจัดวางผังครัวแบบ L หรือ L-Shaped Kitchen

เหมาะกับพื้นที่ตั้งแต่  6 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียมที่มีขนาดใหญ่ หรือ บ้านพักอาศัยทั่วไป แต่การจัดผังครัวในลักษณะนี้มักไม่มีรูปแบบการวางฟังก์ชั่นที่ตายตัว 100% ดังนั้นการจะจัดวางตำแหน่งฟังก์ชั่นใดๆ จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากตำแหน่งพื้นที่ตั้ง จำนวนช่องเปิด และบริบทสภาพแวดล้อมเป็นหลัก

การจัดวางผังครัวแบบ U หรือ U-Shaped Kitchen 

เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะกับพื้นที่ขนาด  9 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย หรือ อาคารสาธารณะ เช่น ครัวโรงแรม หรือ ครัวในร้านอาหาร 

 

ทริคการออกแบบเคาน์เตอร์ครัวให้พอดีกับสัดส่วนของสรีระ

ใช้วิธีการคำนวนโดยนำส่วนสูงของผู้ใช้งานมาเป็นหลักในการหาขนาดความสูงของเคาน์เตอร์ครัวที่พอดีกับสรีระ โดยสูตรการคำนวนคือ ส่วนสูงหาญด้วย 2 และบวก 5 เซนติเมตร เช่น 160÷2+5 = 85 ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร เหมาะกับการเลือกใช้เคาน์เตอร์ที่มีความสูงประมาณ 85 เซนติเมตร จะเป็นความสูงที่พอดีในการใช้งาน ทำให้ไม่ต้องโค้งตัวจนเกินไป หรือสูงจนทำครัวไม่ถนัด

ลักษณะพื้นที่ใช้สอยแบบต่างๆ ของห้องครัว (Function Zoning)

สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

Zone 1 : พื้นที่จัดเตรียมวัตถุดิบ

Zone 2 : พื้นที่ประกอบอาหาร

Zone 3 : พื้นที่เก็บของหรือเก็บล้าง

Zone 4 : โซนโต๊ะรับประทานอาหาร

 

การวางแปลนห้องน้ำ

  • ควรมีแสงสว่างอย่างเพียงพอ เพื่อบรรยากาศที่สว่างปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด 
  • ควรออกแบบช่องระบายอากาศให้สามารถถ่ายเทอากาศได้อย่างเหมาะสม อย่างน้อย 1 จุด เพื่อเพิ่มอากาศดีไล่อากาศเสีย ซึ่งจะช่วยลดความอับชื้น และการสะสมของเชื้อโรคภายในห้องน้ำได้
  • ฟังก์ชันทั่วไปของห้องน้ำจะเหมือนกันทุกบ้าน จะแตกต่างกันเมื่อมีการเพิ่มฟังก์ชันพิเศษ เช่น อ่างอาบน้ำ อ่างน้ำวน หรือเป็นห้องน้ำผู้สูงอายุ 
  • ประตูห้องน้ำทั่วไปควรเปิดเข้า เพื่อไม่ให้น้ำหยดออกมานอกห้อง แต่ถ้าเป็นห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ควรใช้ประตูแบบเปิดออกหรือบานเลื่อน 
  • ควรแยกพื้นที่ส่วนแห้ง คือ อ่างล้างหน้าและโถสุขภัณฑ์ เพื่อให้ทำความสะอาดง่าย และลดอันตรายจากพื้นที่เปียกน้ำ
  • พื้นที่ส่วนเปียกสำหรับยืนอาบน้ำควรกว้างอย่างน้อย 80 เซนติเมตร และลดระดับพื้นลง 10 เซนติเมตร อาจแบ่งสัดส่วนด้วยผนังกระจก ม่าน หรือตู้อาบน้ำ
  • บริเวณผนังด้านที่ติดตั้งสุขภัณฑ์ ควรให้ทำเป็นผนัง 2 ชั้น เพื่อฝังท่อน้ำ และลดเสียงรบกวนไปยังห้องข้างเคียง 

ข้อมูลวัสดุศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก 

  • บ้านและสวน

 

 

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
ระบบสุขาภิบาลในอาคาร Building sanitary system

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ