หลักการออกแบบเส้นทางสัญจรภายในพิพิธภัณฑ์ และอาร์ตแกลอรี่ (Circulation design in museum and art gallery)

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ และอาร์ตแกลอรี่ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และทำกิจกรรมในวันหยุดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นที่พักผ่อน ยังเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ และแรงบันดาลใจของคนในยุคนี้อีกด้วย โดยทั้งสองสถานที่นี้มีความแตกต่างกัน ดังนี้

พิพิธภัณฑ์ คือ สถานที่เก็บรวบรวม และจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม หรือความรู้อื่น ๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้ชม

อาร์ต แกลอรี่ คือ สถานที่จัดนิทรรศการ และการขายงานศิลปะ มักเรียกว่า หอศิลป์ บางแห่งมีทั้งนิทรรศการถาวรที่จัดแสดงตลอดทั้งปีมีการนำเสนอคอลเลกชันเดียวกันเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถชื่นชมผลงานที่หลากหลาย และนิทรรศการชั่วคราวที่ต่ออายุเป็นระยะ ถึงแม้ทั้งสองสถานที่นี้จะจัดแสดงผลงานแตกต่างกัน แต่การออกแบบเส้นทางสัญจรนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกัน 

โดยวันนี้ Wazzadu Encyclopedia ได้ทำการสรุปข้อมูล หลักการออกแบบเส้นทางสัญจรภายในพิพิธภัณฑ์ และอาร์ตแกลอรี่ (Circulation design in museum and art gallery) เพื่อให้นักออกแบบ สถาปนิก และผู้ที่สนใจ สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ และต่อยอดในการทำงานได้ โดยเนื้อหาจะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ติดตามชมได้เลยครับ

หลักการออกแบบเส้นทางสัญจรภายในพิพิธภัณฑ์ และอาร์ตแกลอรี่ (Circulation design in museum and art gallery)

การจัดทางสัญจร (Circulation) ภายในห้องแสดงเมื่อพิจารณาตามลักษณะแกนสัญจร หลักสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ

1. ทางสัญจรแบบ Centralized System of Access : ข้อได้เปรียบ คือความสะดวกต่อการควบคุม และการดูแล คือ ผู้ชมถูกชักนําไปตามเส้นทาง ข้อเสียเปรียบ คือถ้าสิ่งของต่าง ๆ ที่จัดแสดงก่อนไม่เกิดความประทับใจแก่ผู้ชมจะมีผลต่อสิ่งแสดงที่ต้องการชมโดยเฉพาะ

ข้อดี 

  • ควบคุม และรักษาความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้บุคลากรจํานวนน้อย และกําหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของผู้ชมได้ทั่วถึง 

ข้อเสีย

  • ไม่มีอิสระการเดินชม ต้องชมตามลําดับที่จัด

การวางผังจัดตามเส้นทางเลื่อนไหลของผู้ชมเดินตามเส้นทางตามแผนที่ตายตัวจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย อาจหยุดดูเป็นช่วง ๆ ระบบ Centralized System of Access แบ่งออกเป็นแบบย่อย ๆ ดังนี้

 

1.1 เส้นทางสัญจรแบบ Rectilinear Circuit

Rectilinear Circuit คือ การเคลื่อนที่ชมงานศิลปะ หรือนิทรรศการเป็นแนวเส้นตรง ผลงานมักจัดแสดงอยู่สองข้างทาง เหมาะกับการจัดช่วงเดินในระยะสั้น ๆ เพราะอาจทำให้รู้สึกเบื่อขณะชมผลงาน

  • จัดแสดงผลงาน และแสงไฟได้ง่าย
  • ประหยัดพื้นที่ สามารถวางผลงานได้ทั้งสองข้างทาง
  • ผู้ชมอาจรู้สึกเบื่อหากเป็นเส้นทางตรงที่ยาวเกินไป

Centralized System of Access - Rectilinear Circuit

1.2 เส้นทางสัญจรแบบ Twisting Circuit

Twisting Circuit คือ เส้นทางเดินที่เป็นวงจรแบบรอบโถงกลาง จากบันได หรือทางลาดกลางอาคารที่เชื่อมต่อระหว่างชั้นแต่ละชั้น เหมาะกับเฉพาะพื้นที่ที่จําเป็นต้องใช้แสงธรรมชาติ หรือมีพื้นที่หลายชั้น ตัวอย่างเช่น พื้นที่จัดแสดงทางลาดเวียนของ Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

  • เหมาะกับพิพิธภัณฑ์ หรืออาร์ตแกลอรี่ที่ต้องการแสงธรรมชาติ 
  • สามารถใช้พื้นที่บันได หรือทางลาดเวียนได้เกิดประโยชน์
  • หากมีคนจำนวนมาก อาจเกิดการกีดขวางเส้นทางเดิน จำเป็นต้องมีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง

Centralized System of Access - Twisting Circuit

1.3 เส้นทางสัญจรแบบ Weaving Freely Lay out

Weaving Freely Lay out คือ ผังรูปสานไปมาอย่างอิสระ ปกติมักใช้ทางลาดเข้าช่วย และใช้องค์ประกอบที่น่าสนใจเป็นตัวชักนําให้ผู้คนเกิดความสนใจในผลงาน ผังแบบนี้ผู้ชมอาจหลงทางได้ ถ้าลักษณะแปลนเป็นรูปเลขาคณิตเป็นแบบต่อเนื่องกันหมด

  • ผังเป็นรูปสานไปมาอย่างอิสระ ทำให้กระตุ้นความสนใจของผู้ชม
  • ผู้ชมอาจจะหลงทางได้ง่าย หากผังเป็นเรขาคณิตแบบต่อเนื่องกันมากเกินไป

Centralized System of Access - Weaving Freely Lay out

1.4 เส้นทางสัญจรแบบ Comb Type Lay out

Comb Type Lay out เป็นการจัดวางผังที่มีทางเดินกลางเป็นหลัก มักมีส่วนให้เลือกชมในเวลาเดียวกัน ทางเข้าอาจเป็นด้านท้ายด้านใดด้านหนึ่ง หรือมีทางเข้าอยู่ตรงกลาง ผู้ชมสามารถไปทางซ้าย หรือขวาได้ ผังสัญจรแบบนี้ถือเป็นการเพิ่มขอบเขตให้แก่ผู้ชม

  • โดยผู้ชมสามารถเลือกดูได้หลายส่วน 
  • ไม่เกิดการแออัดของผู้ชม หากมีผู้ชมจำนวนมาก เนื่องจากมีพื้นที่จัดแสดงให้ดูหลายส่วน ไม่จำเป็นต้องดูเป็นลำดับ
  • เนื่องจากมีพื้นที่ให้เลือกหลายส่วน อาจทำให้ผู้ชม ชมผลงานได้ไม่ครบ

Centralized System of Access - Comb Type Lay out

1.5 เส้นทางสัญจรแบบ Chain Lay out

Chain Lay out เป็นการวางผังแบบต่อเนื่อง จัดโดยจุดแสดงที่แตกต่างกันมาเชื่อมต่อกัน มักมีทางสัญจรไหลเวียนเป็นวงกลม โดยไล่ดูไปเป็นลำดับ ๆ 

  • ทำให้มีหลากพื้นที่จัดแสดง สามารถแบ่งโซนผลงานแต่ละประเภทได้ 
  • ผู้ชมสามารถเลือกดูผลงานแต่ละพื้นที่ได้ 
  • เนื่องจากมีหลายพื้นที่จัดแสดงอาจทำให้ผู้ชม ชมผลงานได้ไม่ครบ

Centralized System of Access - Chain Lay out

1.6 เส้นทางสัญจรแบบ Fan Shape

Fan Shape คือ ทางสัญจรที่มีทางเข้าจากกลางผังรูปพัด การจัดแบบนี้ทําให้มีโอกาสมากต่อการเลือกชม แต่ผู้ชมต้องตัดสินใจในการเลือกชมค่อนเร็ว ในด้านจิตวิทยาผู้ชมอาจไม่ชอบผังสัญจรลักษณะนี้ เพราะรู้สึกว่าเป็นการบังคับเกินไป และที่จุดรวมตรงกลางทางเข้ามักจะเป็นจุดที่วุ่นวาย

  • การจัดผังสัญจรรูปพัดจะทำให้ผู้ชมสามารถเลือกชมได้ง่าย 
  • มีทางเข้าตรงกลาง หันหน้าเข้าหาจุดแสดงทำให้มองเห็นผลงานได้ง่าย
  • การจัดแบบนี้จะทำให้ผู้ชมรู้สึกอึดอัดได้ง่าย เพราะบังคับให้ตัดสินใจเลือกชมผลงาน
  • จุดทางเข้ามักกลายเป็นจุดที่วุ่นวาย มักมีผู้ชมมายืนบริเวณนี้ค่อนข้างมาก

Centralized System of Access - Fan Shape

1.7 เส้นทางสัญจรแบบ Star Shape

Star Shape เป็นผังสัญจรที่มีลักษณะคล้ายดาว หรือหวี การเลือกใช้ผัง Star Shape ผู้ชมจะไม่สามารถเลือกชมได้ หรือเดินแยกได้สะดวกมากนัก การออกแบบผังให้แกนมีความสมดุลถือเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกใช้ผังลักษณะนี้เพราะอาจทำให้ผู้ชมเกิดปัญหาสับสนได้

  • สามารถจัดวางผลงานได้หลายส่วน
  • ผู้ชมสามารถเดินชมผลงานแบบสลับซ้าย-ขวาได้ 
  • เหมาะสำหรับพิพิธภัณฑ์ หรืออาร์ตแกลอรี่ที่ต้องการเพิ่มลูกเล่นการเดิน

 

Centralized System of Access - Star Shape

2. ทางสัญจรแบบ Decentralized System of Access : มีทางออก และทางเข้าสองทางหรือมากกว่า ผู้ชมอาจไม่ได้ไปตามเส้นทางที่กําหนด สามารถเดินไปมาอย่างอิสระ ลักษณะเป็นทางเดินในใจกลางเมือง (พิพิธภัณฑ์อาจเป็นส่วนหนึ่งของตัวเมือง)

วิธีนี้ผู้ชมอาจชมไม่ครบต่อการชม ครั้งหนึ่ง ๆ อาจเข้าชมครั้งต่อไป ถือประโยชน์ด้านสังคมจิตวิทยา (จิตวิทยาเกี่ยวกับการเข้าชม) มักเรียกเส้นทางสัญจรนี้ว่า ถนนนิทรรศการ

 ข้อดี

  • มีความน่าสนใจต่อการจัดแสดง
  • สามารถแบ่งกั้นห้องทําให้เกิดพื้นที่จัดแสดงมากขึ้น
  • เกิดการกระตุ้นให้เดินดูการแสดงอย่างรวดเร็วมากขึ้น 

ข้อเสีย

  • ผู้เข้าชมอาจไม่รู้ตําแหน่ง ควรมี Landmark
  • เกิดมุมบังไม่สามารถมองเห็นห้องต่างๆ ทําให้ดูแลไม่ทั่วถึง

 

Decentralized System of Access

องค์ความรู้ทฤษฏีการออกแบบสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  • portico.space/
  • issuu.com/jew

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ