หลักการจัดไฟตกแต่งสวน หรือไฟตกแต่งภูมิทัศน์ภายนอกอาคาร (Landscape Lighting Design)

Lighting Design หรือการออกแบบแสงสว่าง สามารถแยกย่อยได้ทั้ง Interior Exterior Landscape ไปจนถึง Light art installation ความสำคัญของการออกแบบแสงนั้น ไม่ใช่เพียงแค่วัตถุประสงค์ในการให้แสงสว่างเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมคุณค่าของงานสถาปัตยกรรม และงานภูมิทัศน์

อีกทั้งยังสร้างความรู้สึกอภิรมย์ให้แก่ผู้อยู่อาศัย ไปจนถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานในเวลากลางคืน และวันนี้ Wazzadu Encyclopedia x Box Bright ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักการจัดไฟตกแต่งสวน หรือไฟตกแต่งภูมิทัศน์ภายนอกอาคาร (Landscape Lighting Design)  มาฝากผู้อ่านทุกท่าน ติดตามในบทความนี้ได้เลยครับ...

ในการนำไปติดตั้งใช้งาน อาจมีการออกแบบขาตั้งหรือฐานไฟ

ตามลักษณะการออกแบบและตามความต้องการของผู้ใช้งาน

ไฟส่องต้นไม้ (Landscape Tree Lighting)

การติดตั้งไฟส่องต้นไม้ขนาดเล็ก

ต้นไม้ขนาดเล็กถึงกลาง ที่มีความสูงประมาณ 2 – 4 เมตร หรือต้นไม้ที่โตไม่เร็ว นิยมปลูกเพื่อตกแต่งที่พักอาศัยซึ่งมีพื้นที่ไม่มากนัก การติดตั้งไฟส่องต้นไม้จึงมักจะติดตั้งแบบเน้นแสงเพียงจุดเดียวแบบทำมุม 45 องศา ให้แสงไฟสาดขึ้นไปที่ส่วนบนของต้นไม้ เล็มใบไม้ส่วนเกินบริเวณลำต้นเพื่อเปิดทางให้แสงไฟสาดส่องไปได้ทั่วถึง

การติดตั้งไฟส่องต้นไม้ขนาดกลาง

ต้นไม้ขนาดกลาง ที่มีความสูงประมาณ 5 – 6 เมตร ที่นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา ถึงแม้จะสามารถเลือกใช้ไฟส่องต้นไม้แบบที่ทำมุม 60 องศาได้ แต่การติดตั้งไฟส่องต้นไม้แบบทำมุม 45 องศา แบบเล็ก โดยติดตั้ง 2 ฝั่งของต้นไม้ ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ดีเช่นกัน เพราะช่วยให้แสงไฟสาดส่องทั่วถึงและดูมีความสมดุลมากกว่าแสงไฟที่ส่องจากฝั่งเดียว

การติดตั้งไฟส่องต้นไม้ขนาดใหญ่

ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีความสูงประมาณ  15 เมตรขึ้นไป นิยมปลูกในสวนสาธารณะ พื้นที่สาธารณะ ด้วยความที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้น ตอนกลางคืนหากไม่มีไฟส่องต้นไม้ จะทำให้บริเวณนั้นดูมืดกว่าปกติ การติดตั้งไฟส่องต้นไม้สำหรับต้นไม้ขนาดใหญ่คือการเน้นการให้แสง 3-4 จุด เช่น ด้านข้าง 2 ฝั่ง ติดตั้งไฟส่องต้นไม้ที่ทำมุม 45 องศา ด้านหน้าติดตั้งไฟส่องต้นไม้ที่ทำมุม 15 องศา เพื่อส่องแสงบริเวณส่วนล่างของลำต้น ในกรณีที่ต้นไม้ใหญ่มากๆ และต้องการให้แสงสว่างไปถึงส่วนบนของต้นไม้ ควรติดตั้งไฟส่องต้นไม้ที่ทำมุม 60 องศาไว้ที่บริเวณด้านหลัง

ในการนำไปติดตั้งใช้งาน อาจมีการออกแบบขาตั้งหรือฐานไฟ

ตามลักษณะการออกแบบและตามความต้องการของผู้ใช้งาน

ไฟส่องสว่างสำหรับสวนแบบเสาไฟ (Landscape Lighting Poles) 

เป็นการออกแบบแสงด้วยการใช้เสาไฟหลากหลายขนาด เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ทางเดินในสวน มีให้เลือก 3 แบบใหญ่ ๆ คือ 1. แบบฝังติดไว้บริเวณลูกตั้งของบันได หรือฝังบนทางเท้าเลย (Inground) หรือ 2. เสาไฟแบบเตี้ย (Bollard) ที่จะติดตั้งขนานไปกับทางเดินเป็นระยะ และ 3. แบบเสาสูงที่จะให้แสงกระจายในวงกว้าง

ไฟทางเดินที่ส่องให้พื้นที่สว่าง มองเห็นทางเดินได้สะดวกจึงเป็นส่วนสำคัญ โดยเฉพาะในบริเวณกว้างๆ อย่างในสวนที่เห็นอยู่นี้ได้ติดตั้งไฟทางเดินหรือที่เรียกกันว่า Bollard Light ทั้งประเภทเตี้ย ความสูงราว 0.5 เมตรบริเวณขอบทางเดิน เพื่อส่องให้เห็นเส้นทางเดินในสวนและกำหนดแนวถนน ส่วนอีกประเภทเป็นไฟทางเดินประเภทเสาความสูงราว 1 เมตร ใช้ตกแต่งตรงเกาะกลางของแนวทางเดิน ขณะเดียวกันไฟทางเดินแบบหลังนี้ ยังทำหน้าที่เป็นไฟส่องเหนือแนวต้นไม้ โชว์แนวพุ่มของกอไม้ประดับที่อยู่ตรงฐานเสาไฟอีกด้วย

ในการนำไปติดตั้งใช้งาน อาจมีการออกแบบขาตั้งหรือฐานไฟ

ตามลักษณะการออกแบบและตามความต้องการของผู้ใช้งาน

ไฟหลืบไฟซ่อน บริเวณทางเดิน (Indirect Landscape Lighting)

การออกแบบไฟหลืบไฟซ่อนใต้บันไดทางเดินสวน หรือราวจับติดผนัง มักจะใช้เพื่อตกแต่งสร้างบรรยากาศ หรือ การใช้งานในบางพื้นที่ ที่ไม่ต้องการให้แสงสว่างจ้ามากเกินไป รวมไปถึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานยามค่ำคืน 

ในการติดตั้งแหล่งกำเนิดแสง (นิยมใช้ LED Strip Light) อาจไม่จำเป็นต้องติดเข้าไปในช่องหลืบลึกจนเกินไป และไม่จำเป็นต้องใส่ปีกบังแสงสำหรับบังแสงสว่างจ้าจากหลอดไฟไม่ให้แยงตา เนื่องจากระดับของหลอดไฟอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาอยู่แล้ว สำหรับการออกแบบไฟหลืบไฟซ่อนตามแนวทางเดินนิยมใช้กับงานออกแบบแสงสว่างบริเวณทางเดิน หรือ จุดนั่งพัก เพื่อสร้างบรรยากาศที่สวยงาม ช่วยเพิ่มความสะดวก และให้ความปลอดภัยในการใช้งานทางเดินยามค่ำคืนมากขึ้น

ในการนำไปติดตั้งใช้งาน อาจมีการออกแบบขาตั้งหรือฐานไฟ

ตามลักษณะการออกแบบและตามความต้องการของผู้ใช้งาน

โคมไฟฝังพื้น (In-ground Uplight)

รูปแบบทั่วไปของโคมไฟฝังพื้น มักมีลักษณะเป็นวงกลมและสี่เหลี่ยมจตุรัส เพื่อติดตั้งได้ง่ายและให้ดูกลมกลืนกับบริเวณทางเดิน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงโคมเริ่มที่ 10 ซม. ตัวโคมไฟส่วนใหญ่ทำจากวัสดุอลูมิเนียม เป็นการส่องแสงสว่างแบบวงเล็กๆ พอให้มีแสงสว่างเป็นประปราย เน้นสร้างบรรยากาศให้ดูสวยงาม

นิยมนำไปใช้สำหรับไฮไลท์วัตถุในรูปแบบแนวตั้ง เช่น บริเวณป้ายที่ตั้งพื้น กำแพงอาคาร หรือตกแต่งบริเวณพื้นระเบียงหรือทางลาดยาว การเลือกโคมไฟฝังพื้นควรเลือกค่ามาตรฐานที่ IP67 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่บ่งบอกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นสามารถป้องกันน้ำจากการจุ่มลงน้ำในระดับ 1 เมตร ไม่เกิน 30 นาที ซึ่งก็คือโคมไฟที่สามารถป้องกันฝุ่นและน้ำฝนได้

โคมไฟฝังผนัง (Uplight Wall)

เทคนิคการติดตั้งโคมไฟฝังผนัง หากอยากให้บริเวณที่ติดตั้งดูโล่ง มักจะใช้วิธีทำช่องว่างเพื่อใส่ตัวโคมไฟเข้าไป ผลลัพธ์ที่ได้คือบริเวณที่ติดตั้งจะไม่มีโคมไฟโผล่ออกมา ดูกลมกลืนไปกับรอบข้าง ซึ่งแสงของโคมติดผนังมีหลายแบบเช่นโคมไฟกิ่งส่องขึ้นและลง หรือโคมไฟกิ่งให้แสงสว่างรอบโคม มีรูปแบบดวงโคมให้เลือกหลากหลายทั้งแบบ ทันสมัยและคลาสสิก

ประเภทของ "โคมไฟ"  ที่มักจะได้รับความนิยมนำมาใช้งานภายนอกอาคาร หรือ งานจัดภูมิทัศน์

สามารถเลือกมาตรฐานของโคมไฟแต่ละประเภทได้จากการดูค่า IP Standard หรือก็คือค่ามาตรฐานที่บ่งบอกถึงการป้องกันฝุ่นละออง หรือน้ำ ละอองน้ำในระดับความแรงต่างๆ ของอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ เครื่องจักรกลต่างๆ  

1. โคมไฟ สำหรับใช้งานพื้นที่ภายในอาคาร 100%  สามารถใช้โคมไฟ IP20 ได้เนื่องจากยังมีโอกาสที่จะเจอฝุ่น

2. โคมไฟ สำหรับใช้งานในพื้นที่กึ่งภายนอก เช่น ระเบียงบ้าน ชายคา ห้องน้ำ ทางเดินใต้อาคาร เหมาะกับการเลือกใช้โคมไฟ IP44 ขึ้นไป  มาตรฐานการป้องกันฝุ่นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร และป้องกันปริมาณน้ำสาดกระเด็นหรือพรม จะพบมากในอุปกรณ์ไฟฟ้าจำพวกดาวน์ไลท์LED ที่ใช้ภายในอาคาร

3. โคมไฟ สำหรับใช้งานบริเวณสนามหรือพื้นที่กลางแจ้ง เช่น บริเวณสวน กำแพงบ้าน เหมาะกับการเลือกใช้โคมไฟ IP54 ขึ้นไป ซึ่งคือมาตรฐานการป้องกันฝุ่นได้ แต่อาจมีฝุ่นเล็กน้อยเล็ดลอดเข้าไป โดยฝุ่นที่เล็ดลอดเข้าไปนั้นต้องไม่มีผลใดๆ ต่อการทำงานของอุปกรณ์ และมีความสามารถที่จะป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง

4. โคมไฟ  สำหรับใช้งานกรณีใช้งานใต้น้ำ กรณีใช้งานใต้น้ำ เช่น สระว่ายน้ำ ควรใช้โคมไฟ IP68 ขึ้นไป ซึ่งเป็นมาตรฐานที่บ่งบอกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือนั้นๆ สามารถป้องกันฝุ่นได้ และสามารถที่จะป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้แบบถาวร

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ไฟตกแต่งภูมิทัศน์ภายนอกอาคาร

  • ไฟสวน NL06

    โคมไฟ, หลอดไฟ โคมไฟ หลอดไฟ อื่นๆ

    990 บาท/ชิ้น

    Online
  • โคมไฟ 10W LED Wall Light รุ่น WL16

    โคมไฟ, หลอดไฟ โคมไฟผนัง

    Online
  • ไฟสวน NL08

    โคมไฟ, หลอดไฟ โคมไฟ หลอดไฟ อื่นๆ

    Online
  • โคมไฟ 18W LED Wall Light รุ่น WL16

    โคมไฟ, หลอดไฟ โคมไฟผนัง

    Online

ข้อมูลวัสดุศาสตร์ และหลักการออกแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เขียน และเรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia

ข้อมูลอ้างอิงจาก

https://www.ligman. com/

https://www.ledlighting. in.th/

https://www.floodlightled. net/

www.omi.co. th

https://dreamaction. co/

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ