ราวกันตกมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณลักษณะอย่างไร (Types of Railing for Architectural)

ราวกันตก ถือเป็นหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของอาคาร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับอาคาร การเลือกวัสดุราวกันตกให้เหมาะสมกับสไตล์อาคาร และความความต้องการของเจ้าของอาคารก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ

Wazzadu Encyclopedia จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของราวกันตก (Types of Railing for Architectural) ซึ่งราวกันตกแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะหรือมีรูปแบบที่น่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามชมกันได้เลยครับ

คุณลักษณะของราวกันตกแต่ละประเภท (Type of Railing and detail design)

1.ราวกันตกไม้ (Wood Railing)

ประเทศไทยสมัยก่อนนั้นนิยมใช้ไม้ในการก่อสร้างบ้าน จึงนิยมนำไม้มาทำราวกันตก ซึ่งไม้แต่ละชนิดจะมีสี และคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ปัจจุบันนิยมกลับมาใช้ไม้อีกครั้งทั้งไม้จริง และไม้เทียมเนื่องจากไม้ให้ความสวยงาม และเหมาะกับอาคารหลากหลายประเภท 

ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในการทำราวกันตกส่วนใหญ่มักเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื่องจากมีความเหนียว แข็งแรง ทนแดดทนฝนได้ดี เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ตะแบก ไม้แดง ซึ่งไม้แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติ ลวดลาย และสีที่แตกต่างกัน 

ข้อดี คือ มีความสวยงามเป็นธรรมชาติ อบอุ่น มีหลากหลายสี และเนื้อไม้ให้เลือก ตอบโจทย์อาคารหลากหลายสไตล์

ข้อเสีย คือ ดูแลรักษายาก อาจเกิดความชื้น เกิดการบิดหดของไม้ และปัญหามอด ปลวก

***การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ดีเทลราวกันตกไม้

2.ราวกันตกเหล็ก (Metal Railing)

เหล็กเป็นวัสดุที่ออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ และหลากหลายสไตล์ มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และสามารถซ่อมแซมได้ง่าย ต้องใช้ช่างที่มีฝีมือในการเชื่อมเหล็กเพื่อให้ได้ราวกันตกเหล็กที่มีคุณภาพ

โดยราวกันตกเหล็กมักนิยมใช้เหล็กชุบกัลวาไนซ์ หรือเหล็กชุบสี เนื่องจากทำความสะอาดง่าย และไม่เป็นสนิม

ข้อดี คือ ติดตั้งง่าย มีความนทาน ช่วยทำให้พื้นที่โปร่งขึ้น เหมาะกับสไตล์ลอฟท์

ข้อเสีย คือ หากเชื่อมไม่ดีอาจเกิดความเสียหายได้ง่าย และต้องเคลือบกันสนิมให้ดี

***การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ดีเทลราวกันตกเหล็ก

3.ราวกันตกตะแกรงเหล็กฉีก (Expanded Metal Railing)

ตะแกรงเหล็กฉีกเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เหมาะกับสไตล์อาคารประเภทต่าง ๆ เช่นลอฟท์ หรือโมเดิร์น นำมาใช้ในการทำราวกันตก และบันได

โดยตะแกรงเหล็กฉีกนั้นมีหลากหลายขนาด สี และรูปแบบให้เลือกมากมายตามความต้องการของเจ้าของอาคาร

ข้อดี คือ มีความแข็งแรง ไม่มีรอยเชื่อมหรือรอยต่อ สามารถนำไปชุบกัลวาไนซ์ เพิ่มความคงทนได้ และมีราคาถูก

ข้อเสีย คือ ต้องมีการเคลือบกันสนิมที่ดี อาจเกิดสนิม และทำให้เหล็กพุพังได้ง่าย

***การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ดีเทลราวกันตกตะแกรงเหล็กฉีก

4.ราวกันตกอลูมิเนียม (Aluminium Railing)

อลูมิเนียม ถือเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะใช้ในการก่อสร้าง หรือ ใช้ในงานตกแต่ง ซึ่งสามารถใช้ทดแทนวัสดุไม้ และเหล็กได้ในบางจุด

สำหรับการออกแบบราวกันตกอลูมิเนียมในงานสถาปัตยกรรมนั้น มีการใช้อลูมิเนียมโปรไฟล์ (อลูมิเนียมเส้น) ทั้งแบบเหลี่ยม แบบกลม และแบบสำเร็จรูปค่อนข้างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังสามารถสั่งทำลวดลาย และสีตามความต้องการของเจ้าของอาคารได้

ข้อดี คือ มีน้ำหนักเบา ทนต่อการหัก ทนความร้อน ทนการกัดกร่อน สะท้อนแสง และความร้อนได้ดีมาก นอกจากนี้ยังมีราคาไม่แพงอีกด้วย

ข้อเสีย คือ ป็นวัสดุที่ไม่แข็งแรงมาก หากมีการกระแทกเป็นเวลานานๆ ก็อาจจะบุบบี้ หรือเสียรูปทรงได้

***การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ดีเทลราวกันตกอลูมิเนียม

5.ราวกันตกสแตนเลส (Stainless Railing)

สแตนเลส หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม คือ โลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน ซึ่งส่วนประกอบจะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ มีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก คุณสมบัติของสแตนเลส คือ ไม่เกิดสนิม ทนความชื้น ทนต่อการกัดกร่อน และมีความมันวาว

โดยสามารถเลือกใช้สแตนเลสได้ทั้งแบบกลม และสแตนเลสแบบเหลี่ยมตามความต้องกาารของเจ้าของอาคาร ราคาของราวกันตกสแตนเลสนั้นขึ้นอยู่กับรายละเอียดของลวดลาย และปริมาณของงาน

ข้อดี คือ มีความสวยงามด้วยผิวที่เรียบมันวาวดูสะอาด ทำความสะอาดง่ายไม่ยุ่งยาก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อเสีย คือ ต้องมีความชำนาญในการติดตั้ง

***การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ดีเทลราวกันตกสแตนเลส

6.ราวกันตกกระจก (Glass frameless Railing)

ราวกันตกกระจกเป็นที่นิยมสำหรับอาคารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น บ้าน, ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารสำนักงาน เป็นต้น เนื่องจากช่วยทำให้อาคารดูโปร่ง โล่งขึ้น สบายตา

โดยการเลือกใช้กระจกนั้น กระจกเทมเปอร์จะเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ ที่ไม่สูงมากนัก หากเกิดอุบัติเหตุกระจกลามิเนตเทมเปอร์จะแตกออกเป็นลักษณะเม็ดข้าวโพดเล็กๆ ไม่เป็นอันตราย เมื่อเทียบกับกระจกธรรมดาที่จะแตกเป็นแฉกแหลมคม

แต่ถ้าหากเป็นการใช้งานในพื้นที่ ที่มีความสูงมากๆ แนะนำให้เลือกใช้กระจกลามิเนตเทมเปอร์จะปลอดภัยกว่า หากเกิดอุบัติเหตุกระจกลามิเนตเทมเปอร์จะแตกออกเป็นลักษณะเม็ดข้าวโพด แต่จะไม่ร่วงหล่นลงมา เพราะมีฟิล์ม PVB ยึดเกาะไว้อยู่นั่นเอง

ข้อดี คือ ช่วยทำให้อาคารดูโมเดิร์นขึ้น โปร่ง โล่งตา และทำให้อาคารดูกว้างขึ้นไม่ทึบตัน

ข้อเสีย คือ มีราคาสูง ต้องเลือกประเภทกระจกให้ดี และมีช่างติดตั้งที่ชำนาญ

***การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ดีเทลราวกันตกกระจก

7.ราวกันตกคอนกรีต (Concrete Railing)

ราวกันตกคอนกรีต ถือเป็นวัสดุที่ก่อสร้างได้ง่าย และรวดเร็ว สามารถออกแบบให้มีแพทเทิร์นลวดลาย หรือช่องลมได้ เหมาะกับอาคารทุกประเภท

โดยราวกันตกคอนกรีตนั้นสามารถเลือกใช้ได้ทั้งคอนกรีตหล่อในที่ หรือเสริมเหล็กเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และแผ่นคอนกรีตราวกันตกสำเร็จรูปก็ได้เช่นกัน

ข้อดี คือ ก่อสร้างง่าย แข็งแรงทนทาน สามารถเพิ่มลูกเล่นให้ราวกันตกได้ด้วยการเจาะช่องลม

ข้อเสีย คือ ทำให้อาคารดูทึบตัน และแคบ 

 ***การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ดีเทลราวกันตกคอนกรีต

8.ราวกันตกลายกราฟิก (Graphic Railing)

ราวกันตกลายกราฟิก มีลวดลาย และเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารออกแบบได้หลายรูปแบบ สามารถใช้กับวัสดุได้หลากหลายชนิด ที่นิยมนำมาใช้จะมี เหล็ก สแตนเลส และอลูมิเนียมเป็นต้น ราวกันตกประเภทนี้เหมาะกับอาคารสไตล์คลาสิก หรือสไตล์ยุโรป เน้นลวดลาย และความหรูหรา

ข้อดี คือ ทำให้อาคารมีเอกลักษณ์ และมีความสวยงาม

ข้อเสีย คือ ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ และต้องเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ

***การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ดีเทลราวกันตกกราฟิก

9.ราวกันตกผสมหลากหลายวัสดุ (Mixed Material Railing)

ในปัจจุบันนี้นิยมใช้ราวกันตกประเภทนี้มาก เนื่องจากสามารถใช้ได้หลากหลายวัสดุ เช่น ไม้ อลูมิเนียม สแตนเลส เหล็ก และคอนกรีต เพื่อเพิ่มลูกเล่น และความสวยงามให้กับราวกันตก

โดยสามารถเลือกใช้ได้หลากหลายวัสดุผสมกัน เช่นวัสดุราวจับเป็นไม้ เพื่อให้อาคารดูสบายตา อบอุ่น ใช้โครงเสาเป็นอูมิเนียม และใช้กระจกลามิเนตเทมเปอร์เป็นแผงกันตกเพื่อให้อาคารดูโปร่ง และกว้างขึ้น เป็นต้น

ข้อดี คือ ราวกันตกมีความแข็งแรง เลือกใช้วัสดุได้ตามต้องการและงบประมาณ

ข้อเสีย คือ ต้องมีการดูแลรักษาตามความแตกต่างของวัสดุ และต้องใช้ที่ชำนาญในการติดตั้งวัสดุแต่ละประเภท

***การเลือกใช้วัสดุแต่ละขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งาน และความต้องการของเจ้าของอาคาร หรือผู้ออกแบบ

ดีเทลราวกันตกแบบผสมหลากหลายวัสดุ_1

ดีเทลราวกันตกแบบผสมหลากหลายวัสดุ_2

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักการออกแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

www.baanlaesuan.com/142248/

https://www.condonewb.com/lifestyle/

https://modulum.com/product/railing-aluminium/

 

เรียบเรียงโดย Wazzadu Encyclopedia 

แพลตฟอร์ม และเครื่องมือสำหรับการออกแบบตกแต่งบ้าน และงานสถาปัตยกรรม
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ...

บทความอื่นๆ จากผู้เขียน

โพสต์เมื่อ

การออกแบบ และเลือกใช้วัสดุ
หน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม (Window type in architecture)

ไอเดียมาใหม่

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

โพสต์เมื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

...

โพลสำรวจ

ถาม-ตอบ

Wazzadu.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานของคุณ