แบบรอยต่อมาตรฐาน สำหรับงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก (Steel Structure Connection for Architectural)
ในปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการนำเหล็กรูปพรรณรีดร้อนไปใช้ในการก่อสร้างอาคารในรูปแบบต่างๆแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น ด้วยคุณสมบัติเด่นของเหล็กรูปพรรณที่ให้ความสวยงามทันสมัย มีความแข็งแรงทนทาน มีหน้าตัดโครงสร้างที่เพรียวบางกว่าคอนกรีต ขึ้นโครงสร้างได้เร็ว และแม่นยำ หรือเมื่อไม่ใช้งานแล้วก็สามารถรื้อถอนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อได้ โดยไม่ต้องทำลายทิ้งเหมือนคอนกรีต
ด้วยจุดเด่นนี้เองจึงทำให้เราพบเห็นสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็กเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมานอกเหนือจากความสวยงาม และอรรถประโยชน์ในการใช้งาน ก็คือความปลอดภัย และคุณภาพมาตรฐานของโครงสร้างเหล็ก ซึ่งก็เกี่ยวข้องทั้งในแง่ของตัววัสดุ การออกแบบโครงสร้าง รวมไปถึงกระบวนการก่อสร้างว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
ในงานโครงสร้างเหล็ก จุดที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆก็คือรอยต่อเหล็กแบบต่างๆ (Steel Structure Connection) ซึ่งรอยต่อในงานโครงสร้างเหล็ก คือจุดที่จะทำให้ตัวอาคารมีความแข็งแรง ให้ความคุ้มค่าในการใช้งาน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ถ้าหากมีการออกแบบ มีการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม และมีการประกอบติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรมอย่างถูกต้อง
แต่ในมุมกลับกันถ้าการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ และการประกอบติดตั้งทำผิดวิธี ใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสมกับประเภทอาคาร และไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรม รอยต่อในงานโครงสร้างเหล็กจะกลายเป็นจุดที่มีโอกาสทำให้โครงสร้างทั้งหมดวิบัติ และจะมีผลร้ายตามมาทันที ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานภายใน และภายนอกอาคารโดยตรง
องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก ประเภทต่างๆ
ด้วยเหตุนี้เององค์ความรู้ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ รอยต่อในงานโครงสร้างเหล็ก ที่ถูกต้อง และเป็นไปตามมาตรฐานทางวิศวกรรม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการออกแบบ และก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมประเภทโครงสร้างเหล็ก
ดังนั้น Wazzadu Encyclopedia x Siam Yamato Steel (SYS) จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ รอยต่อสำหรับงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก (Steel Structure Connection for Architectural) มาเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย เพื่อให้สถาปนิก วิศวกร ช่าง ผู้รับเหมา หรือผู้ที่สนใจ สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าว ไปใช้ต่อยอดในการทำงานของตนเองได้อย่างเป็นประโยชน์ ซึ่งเนื้อหาจะมีอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น ตามมาชมกันเลยครับ
ตำแหน่งรอยต่อโครงสร้างที่สำคัญในจุดต่างๆของอาคาร
- รอยต่อระหว่างตอม่อคอนกรีต และเสาเหล็ก
- รอยต่อระหว่างเสา และเสา
- รอยต่อระหว่างเสา และคาน
- รอยต่อระหว่างคาน และคาน
- รอยต่อระหว่างเสา และโครงหลังคา
- รอยต่อระหว่างคานหลังคา (จันทัน)
วิธีการทำรอยต่อ
ในปัจจุบันรอยต่อในงานโครงสร้างเหล็ก จะใช้วิธีการทำหลักๆอยู่ 2 รูปแบบ คือ การใช้สลักเกลียว (Bolting) และการเชื่อม (Welding)
***ในอดีตวิธีการทำรอยต่อจะนิยม การใช้หมุดย้ำ (Reveting) แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้วิธีนี้แล้ว
การใช้สลักเกลียว (Bolting)
จุดเด่นของรอยต่อแบบสลักเกลียว
- เหมาะสำหรับงานที่ต้องการรื้อถอนไปประกอบใหม่ หรือ โครงสร้างสำเร็จรูป
- ติดตั้งง่าย ใช้เครื่องมือช่างมาตรฐานในการติดตั้ง
- มีสลักเกลียว และแหวนรองให้เลือกตามความเหมาะสม
- มีความแม่นยำถ้าหากใช้โปรแกรมทางวิศวกรรมในการคำนวณตำแหน่งการเจาะ
- ให้ความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง
จุดด้อยของรอยต่อแบบสลักเกลียว
- บางโครงสร้างควรใช้สลักเกลียวแบบพิเศษ เช่น โครงสร้างที่มีการสั่นสะเทือนมากๆ เพื่อป้องกันการคลายตัว
- ต้องใช้ความแม่นยำสูง หากเจาะตำแหน่งผิดจะแก้ไขได้ยาก
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการจับยึดมีส่วนยื่นออกมา ทำให้มีผลต่อการทำงาน อาจไม่เหมาะกับงานบางประเภท
การเชื่อม (Welding)
จุดเด่นของรอยต่อแบบการเชื่อม
- เป็นรอยต่อแบบยึดแน่น มีความแข็งแรงมาก
- ประกอบง่าย ประหยัดวัสดุ และค่าก่อสร้าง
- เป็นรอยต่อที่เรียบง่าย ไม่มีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการติดตั้งส่วนประกอบอื่นๆ
- เป็นรอยต่อที่ให้ความประณีตทางสถาปัตยกรรม
- สามารถทำการเชื่อมรอยต่อได้ แม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงยาก
จุดด้อยของรอยต่อแบบการเชื่อม
- เป็นรอยต่อถาวร ไม่สามารถถอดออก หรือนำไปประกอบใหม่ได้
- ต้องใช้ไฟฟ้าในการเชื่อม หากไม่มีแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจะไม่สามารถทำงานได้
- มีแสงรบกวนในระหว่างการเชื่อม
- รอยเชื่อมสามารถเป็นจุดที่เกิดสนิมได้
- ต้องใช้ช่างที่มีประสบการณ์ หรือมีความชำนาญในการเชื่อม
ตัวอย่างแบบรอยต่อมาตรฐาน สำหรับงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก (Steel Structure Connection for Architectural)
ตัวอย่าง : ลักษณะรอยต่อคานกับคาน
ตัวอย่าง : ลักษณะรอยต่อคานหลักกับคานย่อย
ตัวอย่าง : ลักษณะรอยต่อเสากับคาน
ตัวอย่าง : ลักษณะรอยต่อเสากับเสา
ตัวอย่าง : ลักษณะรอยต่อเสากับคานหลังคา
ตัวอย่าง : ลักษณะรอยต่อเสากับโครงถักหลังคา
ตัวอย่าง : ลักษณะรอยต่อเสากับตอม่อ
ตัวอย่าง : ลักษณะรอยต่อระหว่างคานหลังคา (จันทัน)
ข้อมูลผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณ สำหรับงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก
-
SHEET PILE (ชีทไพล์) สำหรับงานกำแพงกันดิน และแนวป้องกันน้ำ
โครงสร้าง เหล็ก
ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน
Online -
H-BEAM (เอช-บีม) สำหรับงานโครงสร้างเสา คาน และโครง ถัก ขนาดใหญ่
โครงสร้าง เหล็ก
ราคาเริ่มต้น 2x,xxx บาท/ตัน
Online
ข้อมูลด้านบริการ สำหรับงานสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก
-
Online
ข้อมูลอ้างอิง
- ชุดข้อมูล Steel Connection รอยต่อเหล็กในงานสถาปัตยกรรม จัดทำขึ้นโดย บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด หรือ SYS
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Line@ : @wazzadu.com
ผู้เขียนบทความ
โดยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ ตั้งแต่ สถาปนิก แบรนด์สินค้า ผู้จัดจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ... อ่านเพิ่มเติม