ฉนวนใยแก้ว กับฉนวนใยหิน มีคุณสมบัติต่างกันอย่างไร
ฉนวนกันความร้อนมีตัวเลือกมากมายในตลาด และมีราคาแตกต่างกันไปตามคุณภาพเช่นเดียวกับฉนวนใยแก้ว และฉนวนใยหิน และข้อเท็จจริงก็เป็นสิ่งสำคัญในการเลือกวัสดุมาใช้ให้ตอบโจทย์ตัวโครงสร้างอาคาร บ้านเรือน หรือโรงงานอุตสหกรรม วันนี้แบรนด์ Microfiber จะมาอธิบายความแตกต่างของฉนวนกันความร้อน ระหว่างฉนวนใยแก้ว กับฉนวนใยหิน ว่ามีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร ผ่านการทดสอบที่เห็นผลได้ชัดเจน
1. การนำความร้อน
เมื่อทำการทดสอบค่าการนำความร้อน (k-value) ของฉนวนที่อุณหภูมิเท่ากัน แต่วัสดุต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเห็นได้ชัดเจน คือฉนวนใยแก้วมีประสิทธิภาพในการนำความร้อน (k-value) ที่ต่ำต่างกับฉนวนใยหิน โดยที่ฉนวนใยแก้วมีความหนาแน่นเพียง 16 กก./ลบ.ม. แต่กลับมีค่าการนำความร้อน (k-value) ที่ต่ำกว่าฉนวนใยหินที่มีความหนาแน่น 40 กก./ลบ.ม. ดังนั้นฉนวนใยแก้วจึงมีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนได้ดีกว่า ไม่ติดไฟ และติดตั้งง่าย
2. การดูดซับเสียง
ฉนวนกันความร้อนไม่เพียงแต่ติดตั้งบนเพดานเท่านั้น ยังสามารถติดตั้งที่ผนังได้อีกเช่นกัน และเมื่อนำวัสดุกันความร้อนทั้ง ฉนวนใยแก้วและฉนวนใยหินมาติดตั้งกับระบบผนังเบาเพื่อทดสอบเรื่องการป้องกันเสียงผล ปรากฏว่าฉนวนใยแก้วที่ความหนาแน่น 24 กก./ลบ.ม. สามารถกั้นเสียงรบกวนจากภายนอกอาคารได้ไม่แตกต่างกับฉนวนใยหินที่มีความหนาแน่น 40 กก./ลบ.ม.
ถือได้ว่าฉนวนใยแก้วมีความหนาแน่นน้อยกว่าและเบากว่า สามารถกั้นเสียงได้ไม่แตกต่างกับฉนวนใยหิน และสามารถดูดซับเสียงภายในอาคารและที่อยู่อาศัยได้ดี รวมไปถึงหากถูกบีบอัดด้วยแรงกด ฉนวนใยแก้วที่มีโครงสร้างของเส้นใยที่ค่อนข้างยาวและยืดหยุ่น จึงทนทานต่อการบีบอัดและสามารถคืนตัวได้ดีทำให้คงประสิทธิภาพได้ดีกว่าฉนวนใยหิน
3. การแอ่นตัว
ไม่ใช่แค่การทดสอบจากการบีบอัดเท่านั้น หากทดสอบโดยการวางวัตถุที่มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ลงบนฉนวนทั้งสองประเภท โดยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จะพบว่าฉนวนใยแก้วที่มีความหนาแน่น 24 กก./ลบ.ม. สามารถทนต่อการแอ่นตัว ยากต่อการเสียรูปทรง เมื่อเทียบกับฉนวนใยหินที่มีความหนาแน่น 40 กก./ลบ.ม. แต่กลับแอ่นตัวและเสียรูปทรงได้ง่ายกว่า ไม่สามารถคงรูปไว้ได้ตลอดอายุการใช้งานได้ สรุปได้ว่าฉนวนใยหิน มีการแอ่นตัวและเสียรูปทรงมากกว่าฉนวนใยแก้ว
4. การใช้งาน
หากโจทย์พื้นที่ที่นำไปติดตั้งนั้นคือความร้อนเป็นหลัก อย่างในโรงงานอุตสาหกรรมที่ติดตั้งถังเก็บน้ำร้อน ท่อไอน้ำ และระบบหม้อไอน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีอุณภูมิความร้อนสูง การจะเลือกใช้ฉนวน เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน และป้องกันพนักงานจากการสัมผัสกับความร้อน การเลือกใช้ฉนวนควรคำนึงถึงอุณหภูมิที่จะใช้งาน โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมของฉนวนใยแก้วจะอยู่ในช่วงอุณหภูมิต่ำถึงปานกลางหรือประมาณ 0-400 องศาเซลเซียส เช่น โรงงานกระดาษ โรงงานน้ำตาล โรงงานแปรรูปอาหาร
ในทางกลับกัน อุณหภูมิที่เหมาะสมของฉนวนใยหินจะอยู่ในช่วงอุณหภูมิสูงหรือประมาณ 400-800 องศาเซลเซียส จะเหมาะกับการใช้งานโรงงานเฉพาะทางเช่น โรงกลั่นน้ำมันและแก๊ซ โรงงานไฟฟ้า โรงงานผลิตเคมีภัณฑ์
5. วัตถุดิบ
ฉนวนใยแก้วในแต่ละแบรนด์อาจมีวัตถุดิบที่แตกต่างกัน สำหรับแบรนด์ Microfiber เลือกใช้เศษแก้วรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตฉนวนใยแก้ว เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยลดขยะบนโลก
ส่วนฉนวนใยหิน ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ผ่านการขุดเจาะเพื่อนำเอามาใช้งาน หากมองเป็นภาพกว้าง ยิ่งถ้ามีการใช้ฉนวนใยหินมากเท่าไหร่ หินธรรมชาติก็จะถูกทำลายมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลเสียและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง
นี่จึงเป็นบทสรุปการเปรียบเทียบทั้งหมด ที่สรุปได้ว่าฉนวนใยแก้ว มีความสามารถในการป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง ดูดซับเสียง และคงทนแข็งแรงกว่าฉนวนใยหินเป็นหลายเท่า
รายละเอียดผลิตภัณฑ์ฉนวนแต่ละรูปแบบ
-
Online
-
Online
-
กันความร้อนและดูดซับเสียง Microfiber Noizelezz ชนิดแผ่น 0.60x1.20ม.
วัสดุฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน ,ฉนวนกันเสียง
350 บาท/แผ่น
Online -
กันความร้อนและดูดซับเสียง Microfiber ชนิดม้วน 1.22x30.50ม.
วัสดุฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน ,ฉนวนกันเสียง
3,870 บาท/ม้วน
Online -
กันความร้อนและดูดซับเสียง Microfiber ชนิดม้วน 1.22x30.50ม
วัสดุฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน ,ฉนวนกันเสียง
4,520 บาท/ม้วน
Online -
Online
#Wazzadu #Microfiber #ฉนวนกันความร้อน #ฉนวนใยแก้ว #ฉนวนใยหิน
ถ้าหากท่านใดที่สนใจฉนวนกันความร้อนหลังคา
สามารถสอบถามข้อมูล และติดต่อแบรนด์ได้ที่
Tel : 095-494-9917 หรือ 02-315-5500
Website : www.microfiber.co.th
สามารถกรอกข้อมูลความต้องการ Spec สินค้าได้ที่ลิงค์นี้
Microfiber Contact
ผู้เขียนบทความ
บริษัท ไมโครไฟเบอร์อุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย บริหารงานโดยคนไทยทั้งสิ้นบริษัทเริ่มดำเนินกิจการโดยสร้างโรงงานขึ้นที่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างปี พ.ศ. 2519 – 2520 เริ่มทำการผลิตสินค้าได้ในปี พ.ศ. 2521
ฉนวนใยแก้ว “ไมโครไฟเบอร์” ได้รับการพัฒนาด้านกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศว่า สินค้าไมโครไฟเบอร์ รักษาคุณภาพที่ดีตลอดมา จนได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จากกระทรวงอุตสาหกรรมของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา และฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานและได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากลจากต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง “ไมโครไฟเบอร์” ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร โดยเป็นสมาชิก LEED (Leadership in Energy and Environment Design) จาก U.S. Green Building Council ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วกันความร้อนและดูดซับเสียง “ไมโครไฟเบอร์” ได้มีการพัฒนาด้านกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพ มีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ฉนวนใยแก้ว “ไมโครไฟเบอร์” จึงได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเครื่องหมาย ฉลากเขียว (Green Label) และฉลากลดคาร์บอน (Carbon Reduction Label) จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยอีกด้วย ... อ่านเพิ่มเติม